QR Code

แผนพัฒนาบุคลากร-ปี-2567-2569

แผนพัฒนาบุคลากร-ปี-2567-2569

2567

แผนพัฒนาบุคลากร-ปี-2567-2569

แผนพัฒนาบุคลากร 3 ปี

ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2569

******************************************************************************************************************

ส่วนที่ 1  หลักการและเหตุผล

 

               1.1 หลักการและเหตุผล

การพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรที่มีศักยภาพ สามารถแข่งขันได้ ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับ

สากล เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งการแข่งขันไร้พรมแดน (Globalization)
โดยต้องอาศัยความรู้ ความสามารถของบุคลากร องค์ความรู้ และการบริหารจัดการที่ดีตามหลัก
ธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและนโยบายแห่งรัฐที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ๓ ปี ขึ้นนั้น

  ๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๕๘ ข (๔) ได้กำหนดไว้ว่า “ให้มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานบุคคลภาครัฐเพื่อจูงใจให้ผู้มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงเข้ามาทำงาน
ในหน่วยงานของรัฐ และสามารถเจริญก้าวหน้าได้ตามความสามารถและผลสัมฤทธิ์ของงานของแต่ละบุคคล
มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยคิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว มีความคิดสร้างสรรค์และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อให้การปฏิบัติราชการและการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรการคุ้มครองป้องกันบุคลากรภาครัฐจากการใช้อำนาจ
โดยไม่เป็นธรรมของผู้บังคับบัญชา

๒) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่ง
การเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์ รวมทั้ง
ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ
ในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ
ของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์

๓) ตามประกาศหลักเกณฑ์การจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และประกาศคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่น เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหาร
งานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  หมวดที่ ๑๒  ส่วนที่ ๓  การพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการพัฒนาผู้ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นก่อนมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อให้รู้ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หลักและวิธีปฏิบัติราชการ บทบาท และหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และแนวทางปฏิบัติตนเพื่อเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ดี โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องดำเนินการพัฒนาให้ครบถ้วน ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด) กำหนด และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดทำแผนการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ต้องกำหนดตามกรอบของแผนพัฒนาที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.) กำหนด โดยให้กำหนดเป็นแผนการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีระยะเวลา  ๓  ปี ตามกรอบของแผนอัตรากำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นั้น

๔) สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ภายใต้กระแสแห่งการปฏิรูประบบราชการ และการเปลี่ยนแปลง
ด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการยุคใหม่ ผู้นำหรือผู้บริหารองค์การต่าง ๆ ต้องมีความตื่นตัวและเกิด
ความพยายามปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิธีการทำงาน เพื่อแสวงหารูปแบบใหม่ ๆ และนำระบบมาตรฐานในระดับต่าง ๆ มาพัฒนาองค์กร
ซึ่งนำไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์การ เพื่อให้องค์การสามารถใช้และพัฒนาความรู้
ที่มีอยู่ภายในองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับเปลี่ยนวิทยาการความรู้ใหม่มาใช้กับองค์การได้
อย่างเหมาะสม

                   เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้จัดทำแผนการพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓ ปี ประจำปีงบประมาณ 256๗ – 256๙ ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา  พนักงานส่วนตำบล  ข้าราชการหรือพนักงานครู  ลูกจ้างประจำ  และพนักงานจ้าง เป็นเครื่องมือในการบริหารงานบุคคล อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์
ในการปฏิบัติราชการและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

                   1.2 วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร

๑)  เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เป็นไปตามหลักสูตรมาตรฐานกำหนดตำแหน่งและตามที่ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. กำหนด

๒)  เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเครื่องมือในการส่งเสริมให้บุคลากรองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นมีกรอบความรู้ทักษะ และสมรรถนะ ที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานที่คณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.)

๓)  เพื่อให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มีการบริหารการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

โดยการประเมินและวางแผนการพัฒนาของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

๔)  เพื่อให้บุคลากรท้องถิ่นมีความรู้ทั้งในด้านพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ด้านการพัฒนา

เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ด้านความรู้ความสามารถและทักษะของงานแต่ละตำแหน่ง ด้านการบริหาร
และด้านคุณธรรมและจริยธรรม

๕) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เอื้อให้บุคลากรเกิดการ

เรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการ สร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งผลผลิตและการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายตามภารกิจหน้าที่

                   1.3 ขอบเขตและแนวทางในการจัดทำแผนการพัฒนาบุคลากร

          องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖7 – ๒๕๖9  ตามคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ที่ 108/2566          ลงวันที่ 10  พฤษภาคม  2566  ประกอบด้วย 

– นายกองค์การบริหารส่วนตำบล                      ประธานกรรมการ

– ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                       กรรมการ

– รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                   กรรมการ

– ผู้อำนวยการกองคลัง                                 กรรมการ

– ผู้อำนวยการกองช่าง                                 กรรมการ

– ผู้อำนวยการกองการศึกษา                           กรรมการ

– ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม        กรรมการ

– หัวหน้าสำนักปลัด                                     กรรมการและเลขานุการ

– นักทรัพยากรบุคคล                                   ผู้ช่วยเลขานุการ

โดยคณะกรรมการดังกล่าวข้างต้น  ร่วมพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรในสังกัด            ให้ครอบคลุม ดังนี้

๑) การกำหนดหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร วิธีการพัฒนา ระยะเวลาและงบประมาณ
ในการพัฒนาข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการ
หรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา และพนักงานจ้าง ให้มีความสอดคล้องกับตำแหน่งและระดับตำแหน่งในแต่ละสายงาน ที่ดำรงอยู่ตามกรอบแผนพัฒนาบุคลากร ๓ ปี

๒) ให้บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง หรือหลายหลักสูตรอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หรือตามที่ผู้บริหารท้องถิ่นเห็นสมควร ได้แก่ ๑) หลักสูตรความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ๒) หลักสูตรการพัฒนาเกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ ๓) หลักสูตรความรู้ และทักษะเฉพาะของงาน ในแต่ละตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ๔) หลักสูตรด้านการบริหาร และ ๕) หลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรม

๓) วิธีการพัฒนาบุคลากร ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา) เป็นหน่วยดำเนินการเอง หรือดำเนินการร่วมกับ ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. หรือ ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด หรือหน่วยงานอื่น โดยวิธีการพัฒนาวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้ ตามความจำเป็นและความเหมาะสม ได้แก่ ๑) การปฐมนิเทศ ๒) การฝึกอบรม ๓) การศึกษาหรือดูงาน ๔) การประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการสัมมนา ๕) การสอนงาน การให้คำปรึกษาหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม และ ๖) การเรียนรู้ผ่านระบบ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)

๔) งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา) ต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากรตามแผนการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจนแน่นอน โดยคำนึงถึงความประหยัดคุ้มค่า เพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล

๕) การติดตามประเมินผล ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. เทศบาล อบต. และเมืองพัทยา) กำหนดการติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับทักษะ ความรู้ และสมรรถนะของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามแผนพัฒนาบุคลากร และเพื่อให้เป็นประโยชน์
ในการวางแผนอัตรากำลัง การวางแผนบริหารบุคลากร การวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าของบุคลากร
ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการวางแผนพัฒนาบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓ ปีถัดไป

ส่วนที่ ๒ การวิเคราะห์สถานการณ์พัฒนาบุคลากร

๒.๑ ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้วิเคราะห์ภารกิจ อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ออกเป็นอย่างน้อย ๗ ด้าน โดยพิจารณาจากพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างหรือแผนอัตรากำลัง ๓ ปี ดังนี้

  ๑ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                          1.1  สภาพปัญหา

                             (๑) ปัญหาการคมนาคมไม่สะดวก ถนนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ ทำให้การเดินทางไม่สะดวก   โดยเฉพาะหน้าฝนการเดินทางสัญจรจะลำบากมากที่สุด

                             (๒) ปัญหาแหล่งน้ำในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลไม่เพียงพอ มีสภาพตื้นเขินและไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงพอในการไว้กักเก็บน้ำ

                             (๓) ปัญหาการประกอบธุรกิจในตำบลมีการประกอบธุรกิจภายในตำบลน้อย   เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจของตำบลไม่ดี การบริโภคของประชาชนต่ำ ธุรกิจเอกชนได้รับกำไรน้อย

                             (๔) ปัญหาเอกสารสิทธิ/สิทธิในที่ทำกิน ประชาชนไม่มีที่ทำกินหรือมีที่ทำกินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ ทำให้ต้องเช่าที่ทำกิน มีรายได้ไม่เพียงพอ

                              (๕) ปัญหาไฟฟ้าสาธารณะ  ไฟฟ้าสาธารณะที่มีอยู่ปัจจุบันเป็นดวงโคมขนาดเล็ก  กำลังวัตต์น้อย ไฟฟ้าส่องสว่างไม่ทั่วถึง ทำให้การสัญจรไปมาในช่วงกลางคืนไม่ปลอดภัยและเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตามซอยต่าง ๆ 

                          1.2  ความต้องการของประชาชน

  • ต้องการให้มีการก่อสร้างและปรับปรุงถนนสาธารณะที่ชำรุดทรุดโทรม ขยายผิว

จราจร

  • ต้องการให้มีการก่อสร้าง ขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อให้สามารถกับเก็บน้ำจากแหล่ง

น้ำธรรมชาติได้

                             (๓) ต้องการให้มีการก่อสร้างปรับปรุงท่อระบายน้ำ และขุดลอกท่อระบายน้ำให้สามารถรองรับปริมาณน้ำเสียและน้ำฝนได้

                             (๔) ต้องการให้มีการปรับปรุงสวนสาธารณะ สวนสุขภาพ สนามเด็กเล่น

                             (๕) ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาการจราจร โดยจัดให้มีสัญญาณไฟตามทางแยกและซ่อมแซมสัญญาณไฟฟ้าที่ชำรุด จัดระเบียบการวางสินค้าบริเวณหน้าบ้านและหน้าร้านค้าต่าง ๆ

                   ๒  ด้านเศรษฐกิจ

                          2.1 สภาพปัญหา

  • ปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิต

                                 เนื่องจากอาชีพหลักของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล คือการค้าขายและการเกษตรกรรม  ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ครั้นเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรแล้วแรงงานว่างงานตามฤดูกาล ซึ่งทำให้เกิดการอพยพแรงงานชั่วคราว เพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว โดยแรงงานส่วนใหญ่อพยพเข้ากรุงเทพ ฯ และจังหวัดทางภาคตะวันออกในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม และพบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ทั้งยังมีรายได้ไม่แน่นอน อาชีพไม่มั่นคง ซึ่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวม

                             (๒) ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ

                                  โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย อาชีพรับจ้าง ขายแรงงาน หรืออาชีพค้าขายเล็กๆ น้อยๆ  ซึ่งเป็นปัญหาที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำลังประสบอยู่ในขณะนี้  และอีกประการหนึ่ง คือปัญหาการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในชุมชนที่มีรายได้น้อย ซึ่งยังไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเพียงพอ ขาดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ขาดเงินทุนประกอบการและเทคนิควิธีความรู้ด้านการตลาด ทำให้การรวมกลุ่มอาชีพไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร                 

       2.๒ ความต้องการของประชาชน

                             (๑) ต้องการให้มีการส่งเสริมอาชีพ และการฝึกอาชีพระยะสั้นในชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เสริมสามารถเลี้ยงตนเองได้และลดปัญหาการว่างงาน

  • ต้องการเงินทุนเพื่อให้ชุมชนกู้ยืมไปประกอบอาชีพ

                    ๓ ด้านสังคม

                          3.๑ สภาพปัญหา

                             (๑) ปัญหาการจัดการศึกษา

                                 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดหลักการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น แต่ในการดำเนินการดังกล่าวจำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบล มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณและสถานที่

                             (๒) ปัญหาการสาธารณสุข

                                 เนื่องจากประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล มีรายได้เฉลี่ยต่ำ ประกอบกับประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันและรักษาสุขภาพอนามัยของตนเอง ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และมีการรักษาตนเองที่ไม่ถูกต้อง และเด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี จะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากได้รับอาหารเสริมไม่เพียงพอ

                          3.๒  ความต้องการ

                             (๑) ต้องการสนามกีฬาและจัดให้การแข่งขันกีฬา เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัย และเป็นการป้องกันยาเสพติด

                             (๒) ต้องการสวนสาธารณะเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ

(๓) ต้องการให้มีการพ่นยากำจัดยุงและกำจัดหนู

                             (๔) ต้องการให้มีการลดจำนวนสุนัขจรจัด โดยการกำจัดหรือทำหมันและมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

                             (๕) ต้องการให้มีสวัสดิการคนเจ็บป่วย สงเคราะห์คนชรา คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส

                             (๖) ต้องการให้มีการสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

                    ๔  ด้านการเมืองการบริหาร

                         4.๑  สภาพปัญหา

                             (๑)  ปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชน

                                          ประชาชนในท้องถิ่นยังมีความตื่นตัวทางการเมืองการบริหารน้อยเนื่องจากเกิดความเบื่อหน่ายระบบการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง และไม่เข้าใจบทบาทการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ตลอดจนไม่ให้ความร่วมมือร่วมคิดและร่วมแก้ปัญหา

(๒) ปัญหาเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน 

                       เนื่องจากองค์การบริหาร ส่วนตำบล มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ จึงทำให้ไม่สามารถที่จะจัดเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอกับความต้องการได้

(๓) ปัญหาความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                                      – ประชาชนไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัย

                                      – ประชาชนขาดจิตสำนึกในการรักษาความสะอาด

                                      – การติดตั้งป้ายโฆษณาต่าง ๆ ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย

       4.2 ความต้องการของประชาชน

                             (๑) ต้องการให้พนักงานและผู้บริหารออกเยี่ยมเยียนประชาชน เพื่อรับทราบปัญหา ความต้องการ ตลอดจนดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้มากขึ้น

                             (๒) ต้องการแสดงความคิดเห็นในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล

                             (๓) ต้องการให้มีการปรับปรุงระบบเสียงตามสายให้สามารถได้รับข่าวสารอย่างทั่วถึง

                    ๕  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                          5.1 สภาพปัญหา

                             (๑) ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย

                                 องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีปริมาณขยะประมาณวันละ ๑  ตัน ไม่มีสถานที่การกำจัดขยะ ซึ่งในองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ไม่มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน จึงทำให้มีปริมาณขยะตกค้างและไม่สามารถกำจัดได้หมด

                             (๒) ปัญหาการระบายน้ำ

                                 จากสภาพภายในหมู่บ้านที่ไม่มีทางระบายน้ำ ทำให้ในฤดูฝนเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี ซึ่งปัญหาเกิดจากการไม่มีท่อระบายน้ำ และรางระบายน้ำ มีการถมที่ขวางทางน้ำไหล ทำให้น้ำระบายไม่ทัน

                           5.๒ ความต้องการของประชาชน

                             (๑) ต้องการให้มีการปรับปรุงด้านการรักษาความสะอาดและปรับปรุงวิธีการจัดเก็บขยะมูลฝอย ต้องการถังขยะเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอ

                             (๒) ต้องการให้ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ ความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                             (๓) ต้องการให้มีการก่อสร้างท่อระบายน้ำให้ครบทุกสาย

                             (๔) ต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการขุดลอกคูคลองต่าง ๆ     

2.2  ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   ภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ได้กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  ๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. ๒๕๕๒  ดังนี้รายละเอียดดังต่อไปนี้

          ๑   ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

               1.1  หน้าที่ที่ต้องทำ ตามมาตรา ๖๗  แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบล  และองค์การ

บริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

                   (๑)  จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

                   (๒)  รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                   (๓)  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

(๔)  ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   (๕)  ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                   (๖)  ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

                   (๗)  คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                     (๘)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                   (๙)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร

               1.2  หน้าที่ที่อาจทำ ตามมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร

ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

(๑) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร

(๒)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

(๓)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

(๔)  ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ

(๕)  ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

(๖)  ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว

(๗) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร                              

(๘)  การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

(๙)  หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล

(๑๐)  ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

(๑๑)  กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

(๑๒)  การท่องเที่ยว

(๑๓)  การผังเมือง

          ๒.   ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  ๒๕๔๒

                   พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  ๒๕๔๒ หมวดที่ ๒ มาตรา ๑๖ ได้บัญญัติอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

                   (๑)  การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นตนเอง

                   (๒)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำและทางระบายน้ำ

                   (๓)  การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

                   (๔)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

                   (๕)  การสาธารณูปการ

                   (๖)  การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

                   (๗)  การพาณิชย์และการส่งเสริมการลงทุน

                   (๘)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว

                   (๙)  การจัดการศึกษา

                   (๑๐)  การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

                   (๑๑)  การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น             

(๑๒)  การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

                   (๑๓)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

(๑๔)  การส่งเสริมกีฬา

                   (๑๕)  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                   (๑๖)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

                   (๑๗) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                   (๑๘)  การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

                   (๑๙)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

                   (๒๐)  การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน

                   (๒๑)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

                   (๒๒)  การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

                   (๒๓)  การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่น ๆ

                   (๒๔)  การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   (๒๕)  การผังเมือง

                   (๒๖)  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

                   (๒๗)  การดูแลรักษาสถานที่สาธารณะ

                   (๒๘)  การควบคุมอาคาร

                   (๒๙) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   (๓๐)  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                   (๓๑)  กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

                   ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติกำหนดแผน  และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ดังกล่าวข้างต้น สามารถแบ่งภารกิจ อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ออกเป็น ๖ ด้าน ดังนี้

. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                             ๑)  การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก

                             ๒)  ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร

                             ๓)  ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

                             ๔)  ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ

                              ๕)  การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

                             ๖)  การสาธารณูปการ

                              ๗)  การผังเมือง

                             ๘)  การควบคุมอาคาร

                   ๒. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                             ๑)   รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                             ๒)   ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

                             ๓)   ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                             ๔)   ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

                             ๕)   ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์

                             ๖)   ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

                             ๗)   การจัดการศึกษา

                             ๘)   การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

                             ๙)   การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

                             ๑๐)  การส่งเสริมกีฬา

                             ๑๑)  การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

                             ๑๒)  การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

                   ๓ .  ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย  มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   ๑)  การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

                   ๒)  การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

                   ๓)  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

                   ๔)  การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสาธารณสถานอื่นๆ

                   ๕)  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                   ๖)  การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

                   ๗)  การดูแลรักษาที่สาธารณะ

                   ๘)  การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

. ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   ๑)  การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด

                   ๒)  บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

                   ๓)  กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์

                   ๔)  การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

                   ๕)  การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

                   ๖)  การส่งเสริมการท่องเที่ยว

          ๕  . ด้านการบริหารจัดการ  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   ๑)  การคุ้มครอง การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                   ๒)  การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย

                   ๓)  การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ

  1. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   1)  การจัดการศึกษา

                   2)  บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

                   3)  การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่น

                   4)  การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม

  1. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

                   ๑)  สนับสนุนสภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น

                   ๒)  ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบล และองค์กรปกครองส่วน      ท้องถิ่นอื่น

                   ๓) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

                   4)  การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น

การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาตามหลัก SWOT ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เป็น

รายด้านแยกตามยุทธศาสตร์ พบว่า

. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

จุดแข็ง (Strength=s) 

– การคมนาคม ถนนหนทาง ใช้งานได้ดี

– มีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นไว้ใช้ในการเกษตร

– มีบ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล ไว้ใช้เพื่อการอุปโภค  บริโภค

– มีไฟฟ้า  ในการอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิต พอสมควร

จุดอ่อน (Weakness=W) 

โครงสร้างพื้นฐานในหมู่บ้าน ยังไม่ดีพอ ถนนเป็นถนนดิน หินคลุก มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ การคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควรโดยเฉพาะในฤดูฝน

โอกาส (Opportunity=O) 

                    ๑.  หน่วยงานอื่น ๆ  เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด กรมทางหลวงชนบทให้ การสนับสนุนงบประมาณในเส้นทาง สายหลักที่ต้องใช้งบประมาณจำนวน มากอย่างต่อเนื่อง

                    ๒.  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

           -การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เป็นไปได้ช้ากว่าการขยายตัวของชุมชน

. การพัฒนาด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

จุดแข็ง (Streng=s) 

๑.  ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านสังคมและสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

๒.  บุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีบุคลากรและอัตรากำลัง จำนวนและคุณวุฒิ อยู่ในระดับที่พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายการบริหารงาน

๓.  องค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรร งบประมาณสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

                   ๔.  องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุน กิจกรรมกีฬาและนันทนาการของ นักเรียน หมู่บ้านและตำบลอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจัดหาสถานที่เพื่อให้ประชาชนใช้ออกกำลังกายในหมู่บ้าน

๕.  องค์การบริหารส่วนตำบลจัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เช่น รดน้ำผู้สูงอายุ แห่เทียนเข้าพรรษา   ฯลฯ

                   ๖.  มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในเขตพื้นที่

จุดอ่อน (Weakness=W) 

๑.  ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและสาธารณสุขไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ประชาชนให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

๒.  ประชาชนยังไม่สนใจ หรือตั้งใจจริงในโครงการที่รัฐจัดให้ความช่วยเหลือ

๓.  หน่วยงานระดับหมู่บ้านที่ทำหน้าที่คัดเลือกผู้รับสวัสดิการจากทางจังหวัดและจากองค์การบริหารส่วนตำบลยังไม่มีกระบวนการคัดเลือกที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนอย่างแท้จริง

๔.  ผู้นำระดับหมู่บ้านยังไม่เห็นความสำคัญเรื่องการส่งเสริมการออกกำลังกายอย่างจริงจัง

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

๑.  การแก้ไขปัญหาด้านสังคมและการสาธารณสุข เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

                   ๒.  ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการทำงาน ประชาชนจึงเกิดความเบื่อหน่าย

๓.  กระแสวัฒนธรรมตะวันตกและวัตถุนิยม เข้าแทนที่ประเพณีดั้งเดิมของท้องถิ่นและวิถีชีวิตของประชาชน ทำให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอ ผู้ด้อยโอกาสขาดการดูแลจากครอบครัว

-12-

๔.  การป้องกันโรคติดต่อบางชนิดไม่สามารถทำได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบลได้ เช่น โรคเอดส์      โรคไข้เลือดออก

โอกาส (Opportunity=O) 

๑.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมและการสาธารณสุขเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม

                   ๒.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคมเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ โอกาสที่จะได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณมีมาก

๓.  องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลผู้ด้อยโอกาสในตำบลได้โดยใช้กระบวนการคัดเลือกจากคณะกรรมการในหมู่บ้านและตำบล

๔.  ได้รับความร่วมมือในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี

. การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

จุดแข็ง (Streng=s) 

๑.  องค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนากลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชนอย่างต่อเนื่อง

๒.  มีคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลทำหน้าที่ประสานงานระดับหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ  ในด้านการส่งเสริมการเกษตรและการส่งเสริมกลุ่มอาชีพต่าง ๆ

                   ๓.  องค์การบริหารส่วนตำบลสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพของกลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน

จุดอ่อน (Weakness=W) 

๑.  ขาดบุคลากรด้านการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพและวิสาหกิจชุมชน

๒.  การรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพของประชาชนในตำบลอยู่ในเกณฑ์ต่ำ

๓.  การพัฒนาผลผลิตของสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นและลดต้นทุนในการผลิตยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม

โอกาส (Opportunity=O) 

                   ๑.  มีหน่วยงานภายนอกเข้ามาดูแลด้านการฝึกอบรมอาชีพ   พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานด้านต่าง ๆ

                   ๒.  หน่วยงานระดับจังหวัดจัดสรรเงินทุนสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการดำเนินการของกลุ่มต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

  • การแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและความยากจน เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

๒.ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ค่อนข้างมากทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว เกิดความล่าช้าในการทำงาน ประชาชนจึงเกิดความเบื่อหน่าย

                   ๓. การจัดกิจกรรมให้ความรู้ในการพัฒนากลุ่มอาชีพ  ต้องใช้เวลาและมีการติดตามประเมินผล  ทำให้เป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกกลุ่ม เนื่องจากต้องประกอบอาชีพหลักของครอบครัว

. การพัฒนาด้านผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จุดแข็ง (Streng=s) 

๑.  ด้านการบริหารจัดการและความต้องการ ประชาชนมีความต้องการ ผู้นำ ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างต่อเนื่อง

๒.  ผู้บริหารท้องถิ่นมีนโยบายสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น

๓.  มีที่สาธารณะที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จุดอ่อน (Weakness=W) 

  • ผู้นำชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง

แวดล้อมน้อย

๒.  การจัดตั้งเครือข่ายในระดับหมู่บ้านทำได้ไม่ทั่วถึง

โอกาส (Opportunity=O) 

                   ๑.  การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่จังหวัด ให้ความสำคัญ และได้กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัด

                   ๒. กระแสสังคม ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

การให้ความรู้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขาดความต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐบาลและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

. การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการกีฬา

จุดแข็ง (Streng=s) 

๑.  ด้านการบริหารจัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร สนับสนุนแนวคิดและกำหนดนโยบายการพัฒนาในด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

๒.  บุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีบุคลากรและอัตรากำลัง จำนวนและคุณวุฒิ อยู่ในระดับที่พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายการบริหารงาน

๓.  งบประมาณ ต้นทุนการดำเนินงาน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ไม่สูง

๔.  เทคนิคการทำงาน ส่วนมาก เป็นงานที่ไม่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการทำงานในระดับสูง 

จุดอ่อน (Weakness=W) 

๑.  ระบบฐานข้อมูลด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการกีฬาไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจน ประชาชนให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

๒.  ยังไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมารับผิดชอบงานด้านการกีฬา

โอกาส (Opportunity=O) 

                   ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม

๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเป็นยุทธศาสตร์ที่จังหวัดบุรีรัมย์ให้ความสำคัญ

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

                   -การแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการกีฬา เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

. ด้านการพัฒนาด้านบริหารจัดการและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน

จุดแข็ง (Streng=s) 

๑. องค์การบริหารส่วนตำบลมีนโยบายในารสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ

๒. องค์การบริหารส่วนตำบลพัฒนาระบบบริหารจัดการและจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีมาใช้ในการบริหาร

๓. องค์การบริหารส่วนตำบลส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน

จุดอ่อน (Weakness=W) 

๑. ประชาชนยังขาดความสนใจในเรื่องการเมืองการปกครอง

๒. ประชาชนยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองในการพัฒนาท้องถิ่น

๓. การจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีในการบริหารและบริการประชาชนยังมีไม่เพียงพอ

๔. ประชาชนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเกณฑ์ต่ำ

โอกาส (Oportunity=O) 

                   ๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมือง การบริหารราชการที่ดี เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่รัฐบาลส่งเสริม

                   ๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้าน การเมือง การบริหารราชการที่ดี เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ มีโอกาสได้รับการสนับสนุนมาก

๓. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีนโยบายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เทคโนโลยีในการทำงาน  เช่น อินเตอร์เน็ต ระบบฐานข้อมูล

๔. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์ให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสายงานที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทุกตำแหน่ง

อุปสรรคหรือข้อจำกัด (Threat=T) 

๑. การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร เป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆส่วนที่ต้องประสานงานกัน ถึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์

                   ๒. การพัฒนาด้านการเมือง การบริหาร เป็นงานที่ต้องอาศัยจิตสำนึก เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจส่วนบุคคล จึงเป็นงานที่ค่อนข้างจะคาดเดาผลงานได้ยาก

๓. ระเบียบต่าง ๆ  ในการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในหลายงาน เช่น การจัดทำแผนพัฒนาตำบล การจัดซื้อ จัดจ้าง  ฯลฯ

โครงสร้างการกำหนดส่วนราชการ

๑ โครงสร้าง

                    จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้กำหนดภารกิจหลักและภารกิจรอง ที่จะดำเนินการดังกล่าวแล้ว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่จะกำหนดตำแหน่งของพนักงานส่วนตำบล  ลูกจ้างประจำและพนักงานจ้างให้ตรงกับภารกิจ และในระยะแรกการกำหนดโครงสร้างส่วนราชการที่จะรองรับการดำเนินการตามภารกิจนั้น อาจกำหนดเป็นภารกิจอยู่ในงาน หรือกำหนดเป็นฝ่าย และในระยะต่อไป

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่พิจารณาแล้วเห็นว่า  ภารกิจนั้นมีปริมาณงานมากพอก็อาจจะพิจารณาตั้งเป็นส่วนราชการต่อไปนี้

โครงสร้างตามแผนอัตรากำลังปัจจุบัน

โครงสร้างตามแผนอัตรากำลังใหม่

หมายเหตุ

. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

    1.1  งานบริหารทั่วไป

    1.2  งานนิติการ

    1.3  งานยุทธศาสตร์และงบประมาณ

    1.4  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    1.5  งานส่งเสริมสวัสดิการสังคม

    1.6  งานส่งเสริมการเกษตร

    1.7  งานการเจ้าหน้าที่

2. กองคลัง

    2.1  งานการเงินและบัญชี

    2.2  งานเร่งรัดและจัดเก็บรายได้

    2.3  งานพัสดุและทรัพย์สิน

3. กองช่าง

    3.1  งานแบบแผนและก่อสร้าง

    3.2  งานควบคุมอาคาร

4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

    4.1  งานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

    4.2  งานส่งเสริมสุขภาพ

    4.3  งานป้องกันและควบคุมโรค

5. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.1     งานบริหารการศึกษา

5.2     งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.3     งานกิจการโรงเรียน

6.  หน่วยตรวจสอบภายใน

    – งานตรวจสอบภายใน

. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

    1.1  งานบริหารทั่วไป

    1.2  งานนิติการ

    1.3  งานยุทธศาสตร์และงบประมาณ

    1.4  งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    1.5  งานส่งเสริมสวัสดิการสังคม

    1.6  งานส่งเสริมการเกษตร

    1.7  งานการเจ้าหน้าที่

2. กองคลัง

    2.1  งานการเงินและบัญชี

    2.2  งานเร่งรัดและจัดเก็บรายได้

    2.3  งานพัสดุและทรัพย์สิน

3. กองช่าง

    3.1  งานแบบแผนและก่อสร้าง

    3.2  งานควบคุมอาคาร

4. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

    4.1  งานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

    4.2  งานส่งเสริมสุขภาพ

    4.3  งานป้องกันและควบคุมโรค

5. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.4     งานบริหารการศึกษา

5.5     งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

5.6     งานกิจการโรงเรียน

6.  หน่วยตรวจสอบภายใน

    – งานตรวจสอบภายใน

 

๒ การวิเคราะห์การกำหนดตำแหน่ง

          องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้วิเคราะห์การกำหนดตำแหน่งจากภารกิจที่จะดำเนินการในแต่ละส่วนรายการในระยาเวลา 3 ปีข้างหน้า  ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าปริมาณงานในแต่ละส่วนราชการมีเท่าใด เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าจะใช้ตำแหน่งใด  จำนวนเท่าใด ในส่วนราชการนั้น  จึงจะเหมาะสมกับภารกิจ  ปริมาณงาน  เพื่อให้คุ้มค่าต่อการใช้จ่ายงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ และเพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยนำผลการวิเคราะห์ตำแหน่งมาบันทึกข้อมูลลงในกรอบอัตรากำลัง 3 ปี ดังนี้

  1. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับกลาง) จำนวน  1  อัตรา
  2. รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล(นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น) จำนวน 1  อัตรา

สำนักปลัด อบต. (๐๑)

  1. หัวหน้าสำนักปลัด อบต.(นักบริหารงานทั่วไป ระดับต้น) จำนวน 1  อัตรา
  2. นักจัดการงานทั่วไป (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  3. นักทรัพยากรบุคคล (ปก./ชก.) จำนวน 2  อัตรา
  4. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ปก./ชก.)จำนวน 2  อัตรา
  5. นิติกร (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  6. นักพัฒนาชุมชน (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  7. เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน (ปง./ชง.) จำนวน 1  อัตรา
  8. เจ้าพนักงานธุรการ (ปง./ชง) จำนวน 1  อัตรา
  9. เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปง./ชง.) จำนวน 1  อัตรา        

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน จำนวน 1  อัตรา
  2. พนักงานขับรถยนต์จำนวน 1  อัตรา
  3. ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป จำนวน 1  อัตรา
  4. ผู้ช่วยนักวิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน  1  อัตรา
  5. ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน จำนวน  1  อัตรา

พนักงานจ้างทั่วไป

  1. พนักงานขับรถยนต์ จำนวน 1  อัตรา
  2. คนงาน จำนวน  2  อัตรา
  3. แม่ครัว จำนวน 1  อัตรา

กองคลัง­­(๐๔)

  1. ผู้อำนวยการกองคลัง (นักบริหารงานการคลัง ระดับต้น) จำนวน 1  อัตรา
  2. นักวิชาการเงินและบัญชี (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  3. นักวิชาการจัดเก็บรายได้ (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ปง./ชง.) จำนวน 1  อัตรา
  5. เจ้าพนักงานพัสดุ (ปง./ชง.) จำนวน 1  อัตรา

ลูกจ้างประจำ

  1. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี                              จำนวน  1  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ช่วยนักวิชาการจัดเก็บรายได้ จำนวน 1  อัตรา

 

 

กองช่าง (๐๕)

  1. ผู้อำนวยการกองช่าง (นักบริหารงานช่าง ระดับต้น) จำนวน 1  อัตรา
  2. วิศวกรโยธา (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  3. นักจัดการงานช่าง (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  4. นายช่างโยธา (ปง./ชง.) จำนวน 2  อัตรา

พนักงานจ้างทั่วไป

  1. คนงาน จำนวน  2  อัตรา

 

 

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (๐๖)

  1. ผู้อำนวยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1  อัตรา

      (นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น)

  1. นักวิชาการสาธารณสุข (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  2. พยาบาลวิชาชีพ (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  3. เจ้าพนักงานธุรการ (ปง./ชง.) จำนวน  1  อัตรา
  4. เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ปง./ชง.) จำนวน 1  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1  อัตรา

 

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(๐๘)

  1. ผู้อำนวยการกองการศึกษา (นักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น) จำนวน 1  อัตรา
  2. นักวิชาการศึกษา (ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา
  3. นักสันทนาการ (ปก./ชก.) จำนวน  1  อัตรา
  4. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ปง./ชง.) จำนวน  1  อัตรา
  5. เจ้าพนักงานการธุรการ (ปง./ชง.) จำนวน  1  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา จำนวน  1  อัตรา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตูมใหญ่

  1. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  อัตรา
  2. ครู จำนวน 5  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ) จำนวน 2  อัตรา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสว่างบูรพาราม

  1. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  อัตรา
  2. ครู จำนวน 1  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ) จำนวน 1  อัตรา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านโนนเจริญ

  1. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  อัตรา
  2. ครู จำนวน 2  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ) จำนวน 1  อัตรา

 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านปะคำสำโรง

  1. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  อัตรา
  2. ครู จำนวน 1  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ) จำนวน  1  อัตรา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดุม

  1. ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1  อัตรา
  2. ครู จำนวน 2  อัตรา

พนักงานจ้างตามภารกิจ

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ) จำนวน 1  อัตรา

พนักงานจ้างทั่วไป

  1. ผู้ดูแลเด็ก(ทั่วไป) จำนวน 1  อัตรา

หน่วยตรวจสอบภายใน

  1. นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปก./ชก.) จำนวน 1  อัตรา

กรอบอัตรากำลัง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2567-2569

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่

ส่วนราชการ/ตำแหน่ง

กรอบอัตรา

กำลังเดิม

อัตราตำแหน่งที่คาดว่าจะใช้

ในระยะเวลา ๓ ปีข้างหน้า

อัตรากำลังคน

เพิ่ม/ลด

หมายเหตุ

2567

2568

2569

2567

2568

2569

1

2

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

(นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น)

รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

(นักบริหารงานท้องถิ่น ระดับต้น)

 

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

สำนักปลัด อบต. (๐๑)

หัวหน้าสำนักปลัด อบต.

(นักบริหารงานทั่วไป ระดับต้น)

นักจัดการงานทั่วไป (ปก./ชก.)

นักทรัพยากรบุคคล (ปก./ชก.)

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (ปก./ชก.)

นิติกร (ปก./ชก.)

นักพัฒนาชุมชน (ปก./ชก.)

เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน (ปง./ชง.)

เจ้าพนักงานธุรการ (ปง./ชง)

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 

(ปง./ชง.)

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน

พนักงานขับรถยนต์

ผู้ช่วยนักจัดการงานทั่วไป

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

พนักงานจ้างทั่วไป

พนักงานขับรถยนต์

คนงาน

แม่ครัว

กองคลัง­­(๐๔)

ผู้อำนวยการกองคลัง

(นักบริหารงานการคลัง ระดับต้น)

นักวิชาการเงินและบัญชี (ปก./ชก.)

นักวิชาการจัดเก็บรายได้ (ปก./ชก.)

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (ปง./ชง.)

เจ้าพนักงานพัสดุ (ปง./ชง.)

1

2

2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

2

1

1

1

2

2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

2

1

1

1

2

2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

2

1

1

1

2

2

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

2

1

1

 

กรอบอัตรากำลัง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2567-2569

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่

ส่วนราชการ/ตำแหน่ง

กรอบอัตรา

กำลังเดิม

อัตราตำแหน่งที่คาดว่าจะใช้

ในระยะเวลา ๓ ปีข้างหน้า

อัตรากำลังคน

เพิ่ม/ลด

หมายเหตุ

2567

2568

2569

2567

2568

2569

25

26

ลูกจ้างประจำ

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ช่วยนักวิชาการจัดเก็บรายได้

1

1

1

1

 

27

28

29

30

31

กองช่าง (๐๕)

ผู้อำนวยการกองช่าง

(นักบริหารงานช่าง ระดับต้น)

วิศวกรโยธา(ปก./ชก.)

นักจัดการงานช่าง(ปก./ชก.)

นายช่างโยธา (ปง./ชง.)

พนักงานจ้างทั่วไป

คนงาน

1

1

1

2

2

1

1

1

2

2

1

1

1

2

2

1

1

1

2

2

 

32

33

34

35

36

37

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (๐๖)

ผู้อำนวยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

(นักบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระดับต้น)

นักวิชาการสาธารณสุข (ปก./ชก.)

พยาบาลวิชาชีพ(ปก./ชก.)

เจ้าพนักงานธุรการ(ปง./ชง.)

เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ปง./ชง.)

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

 

38

39

40

41

42

43

44

45

กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม(๐๘)

ผู้อำนวยการกองการศึกษา

(นักบริหารงานการศึกษา ระดับต้น)

นักวิชาการศึกษา (ปก./ชก.)

นักสันทนาการ(ปก./ชก.)

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี(ปง./ชง)

เจ้าพนักงานธุรการ(ปง./ชง.)

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ตูมใหญ่

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครู

1

1

1

1

1

1

1

5

1

1

1

1

1

1

1

5

1

1

1

1

1

1

1

5

1

1

1

1

1

1

1

5

 

 

กรอบอัตรากำลัง 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2567-2569

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ที่

ส่วนราชการ/ตำแหน่ง

กรอบอัตรา

กำลังเดิม

อัตราตำแหน่งที่คาดว่าจะใช้

ในระยะเวลา ๓ ปีข้างหน้า

อัตรากำลังคน

เพิ่ม/ลด

หมายเหตุ

2567

2568

2569

2567

2568

2569

46

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

58

59

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสว่างบูรพาราม

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครู                         

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านโนนเจริญ

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครู

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบ้านปะคำสำโรง

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครู

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองดุม

ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ครู

พนักงานจ้างตามภารกิจ

ผู้ดูแลเด็ก(ทักษะ)

พนักงานจ้างทั่วไป

ผู้ดูแลเด็ก(ทั่วไป)

2

1

1

1

1

2

1

1

1

1

1

2

1

1

2

1

1

1

1

2

1

1

1

1

1

2

1

1

2

1

1

1

1

2

1

1

1

1

1

2

1

1

2

1

1

1

1

2

1

1

1

1

1

2

1

1

 

60

หน่วยตรวจสอบภายใน

นักวิชาการตรวจสอบภายใน(ปก./ชก.)

1

1

1

1

    
 

รวม

72

72

72

72

 

แนวทางการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  กำหนดแนวทางการพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง ทุกตำแหน่งได้มีโอกาสได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะทัศนคติที่ดี  มีคุณธรรมและจริยธรรม อันจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ลูกจ้าง และพนักงานจ้างเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยจัดทำแผนพัฒนาข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  ลูกจ้าง และพนักงานจ้างตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีระยะเวลา ๓ ปี ตามกรอบของแผนอัตรากำลัง ๓ ปี การพัฒนานอกจากจะพัฒนาด้านความรู้ทั่วไปในการปฏิบัติงาน  ด้านความรู้และทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่ง  ด้านการบริหาร ด้านคุณสมบัติส่วนตัว  และด้านคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ต้องตระหนักถึงการพัฒนาตามนโยบายแห่งรัฐ คือ การพัฒนาไปสู่ยุค Thailand 4.๐  ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบราชการส่วนท้องถิ่นไปสู่ยุค ๔.๐ โดยกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก กล่าวคือ

  1. เป็นองค์กรที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงกัน ต้องมีความเปิดเผยโปร่งใส ในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานได้ตลอด จนเปิดกว้างให้กลไกหรือภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้เข้ามามีส่วนร่วมและโอนถ่ายภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่นๆ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทน โดยการจัดระเบียบความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานในแนวระนาบในลักษณะของเครือข่ายมากกว่าตามสายการบังคับบัญชาแนวดิ่ง ขณะเดียวกันก็ยังต้องเชื่อโยงการทำงานภายในภาครัฐด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง
  2. ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ต้องทำงานในเชิงรุกและมองไปข้างหน้า โดยตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า ประชาชนจะได้อะไร มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาความต้องการและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยไม่ต้องรอให้ประชาชนเข้ามาติดต่อขอรับบริการหรือร้องขอความช่วยเหลือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งใช้ประโยชน์จากข้อมูลของทางราชการและระบบดิจิทัลสมัยใหม่ในการจัดบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกโดยมีการเชื่อมโยงกันเองของทุกส่วนราชการเพื่อให้บริการต่างๆ สามารถเสร็จสิ้นในจุดเดียว ประชาชนสามารถเรียกใช้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตลอดเวลา  ตามความต้องการของตนและผ่านการติดต่อได้หลายช่องทางผสมผสานกัน  ไม่ว่าจะติดต่อมาด้วยตนเอง อินเตอร์เน็ด เว็ปไซค์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
  3. องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูงและทันสมัย ต้องทำงานอย่างเตรียมการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการวิเคราะห์ความเสี่ยง สร้างนวัตกรรมหรือความคิดริเริ่มและประยุกต์องค์ความรู้ ในแบบสหสาขาวิชาเข้ามาใช้ในการตอบโต้กับโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เพื่อสร้างคุณค่ามีความยืดหยุ่น และสามารถในการตอบสนองกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างทันเวลาตลอดจนเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง และปรับตัวเข้าสู่สภาพความเป็นสำนักงานใหม่ รวมทั้งทำให้บุคลากรมีความผูกพันต่อการปฏิบัติราชการ และปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทของตน

                    การพัฒนาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกระบวนการในการจัดดำเนินการให้พนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลมีประสบการณ์ในการเรียนรู้ โดยคาดหวังว่าบุคคลเหล่านี้ พร้อมที่จะนำเอาความรู้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ และการพัฒนาพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะเพิ่มความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และทัศนคติ

(Attitude) ในการปฏิบัติงาน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (Behavioral Change) ในการปฏิบัติงาน ให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานขององค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ จึงกำหนดแนวทางการพัฒนาพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล ดังนี้

๑. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนการพัฒนาพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล    ตูมใหญ่ ประกอบด้วย

   ๑.๑  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล                         ประธานกรรมการ

   1.2  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                         กรรมการ

             ๑.3  รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล                     กรรมการ        

             ๑.4  ผู้อำนวยการกองช่าง                                    กรรมการ        

   ๑.5  ผู้อำนวยการกองคลัง                                    กรรมการ

   1.6  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม          กรรมการ

   1.7  ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม    กรรมการ

   1.8  หัวหน้าสำนักปลัด                                      กรรมการและเลขานุการ

   ๑.9  นักทรัพยากรบุคคล                                     ผู้ช่วยเลขานุการ

๒. คณะกรรมการจัดทำแผนการพัฒนาพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนา ฯ ระยะ ๓ ปี โดยให้มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

             ๒.๑  หลักการและเหตุผล

             ๒.๒  เป้าหมายการพัฒนา

             ๒.๓  หลักสูตรการพัฒนา

             ๒.๔  วิธีการพัฒนาและระยะเวลาดำเนินการพัฒนา

             ๒.๕  งบประมาณในการดำเนินการพัฒนา

   ๒.๖  การติดตามและประเมินผล

๓. ดำเนินการเสนอร่างแผนการพัฒนาฯให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์ พิจารณาให้ความเห็นชอบ

๔. ดำเนินการตามแผนการพัฒนาที่ได้รับความเห็นชอบแล้ว และหลังจากดำเนินการเสร็จในแต่ละปี ให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์ ทราบต่อไป

ประกาศคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นและลูกจ้าง

          คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรม  สำหรับพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

คุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเอง

          ข้อ ๑ พนักงานและลูกจ้างพึงเป็นผู้มีศีลธรรมอันดีและประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นพนักงานและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล

-24-

          ข้อ ๒  พนักงานและลูกจ้าง  พึงใช้วิชาชีพในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์    และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ

          ข้อ ๓ พนักงานและลูกจ้างพึงมีทัศนคติที่ดี และพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และทักษะในการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

           ข้อ ๔ พนักงานและลูกจ้างพึงมีการครองตนที่ดี  ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว  ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขและสิ่งเสพติด

คุณธรรมและจริยธรรมต่อหน่วยงาน

          ข้อ ๕ พนักงานและลูกจ้างพึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเสมอภาค และปราศจากอคติ

          ข้อ ๖ พนักงานและลูกจ้างพึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ รอบคอบรวดเร็ว ขยันหมั่นเพียร ถูกต้องสมเหตุสมผล โดยคำนึงประโยชน์ของทางราชการและประชาชนเป็นสำคัญ

          ข้อ ๗ พนักงานและลูกจ้างพึงประพฤติตนเป็นผู้ตรงต่อเวลา   และใช้เวลาราชการให้เป็นประโยชน์ต่อทางราชการอย่างเต็มที่

          ข้อ ๘ พนักงาน และลูกจ้าง พึงดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่าโดยระมัดระวังมิให้เสียหาย หรือสิ้นเปลืองเยี่ยงวิญญูชนจะพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเอง

คุณธรรมและจริยธรรมต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน

          ข้อ  ๙  พนักงานและลูกจ้างพึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน การให้ความร่วมมือช่วยเหลือกลุ่มงานของตนทั้งในด้านการให้ความคิดเห็น การช่วยทำงาน และการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเสนอแนะในสิ่งที่เห็นว่าจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางานในความรับผิดชอบด้วย

          ข้อ ๑๐ พนักงานและลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา    พึงดูแลเอาใจใส่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทั้งในด้านการปฏิบัติงาน ขวัญ กำลังใจ สวัสดิการ และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการ และเหตุผลที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

          ข้อ ๑๑ พนักงานและลูกจ้างพึงช่วยเหลือเกื้อกูลในทางที่ชอบ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงรวมใจในบรรดาผู้ร่วมงาน ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม

          ข้อ ๑๒  พนักงานและลูกจ้างพึงปฏิบัติ ต่อผู้ร่วมงาน   ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ และมนุษยสัมพันธ์อันดี

          ข้อ ๑๓ พนักงานและลูกจ้างพึงละเว้นจากการนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

คุณธรรมและจริยธรรมต่อประชาชนและสังคม

          ข้อ ๑๔ พนักงานและลูกจ้างพึงให้บริการประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ด้วยความเป็นธรรม เอื้อเฟื้อ มีน้ำใจ และใช้กิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน เมื่อเห็นว่าเรื่องใดไม่สามารถปฏิบัติได้หรือไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตนจะต้องปฏิบัติ ควรชี้แจงเหตุผล หรือแนะนำให้ติดต่อยังหน่วยงานหรือบุคคลซึ่งตนทราบว่ามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ต่อไป

          ข้อ ๑๕ พนักงานและลูกจ้างพึงประพฤติตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคลทั่วไป

          ข้อ ๑๖ พนักงานและลูกจ้างพึงละเว้นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งมีมูลค่าเกินปกติวิสัยที่วิญญูชนจะให้กันโดยเสน่หาจากผู้มาติดต่อราชการ หรือผู้ซึ่งอาจได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น หากได้รับไว้แล้ว และทราบภายหลังว่าทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่รับไว้มีมูลค่าเกินปกติวิสัยก็ให้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว เพื่อดำเนินการตามสมควรแก่กรณี

ส่วนที่  3 

หลักสูตรการพัฒนาบุคลากร

 การกำหนดแนวทางในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้พิจารณาและให้ความสำคัญกับบุคลากรในทุกระดับ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา  พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป เพื่อให้ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพทั้งทางด้านการปฏิบัติงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ความรู้และทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่ง การบริหาร และคุณธรรมและจริยธรรม  ดังนี้

๓.๑ เป้าหมายของการพัฒนา

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเป้าหมายเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้

๑) เป้าหมายเชิงปริมาณ

จำนวนบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 72 ราย ประกอบด้วย พนักงานส่วนตำบล พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษา  พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป หลักสูตรการพัฒนาสำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรและส่งเสริมให้ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

๒. เป้าหมายเชิงคุณภาพ

ระดับความสำเร็จของบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้เข้ารับการพัฒนา การเพิ่มพูนความรู้ ทักษะคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน สามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเพื่อบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๓.๒ หลักสูตรการพัฒนาสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้กำหนดหลักสูตรการพัฒนาสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

หลักสูตรการพัฒนาสำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น แต่ละตำแหน่งต้องได้รับ
การพัฒนาอย่างน้อยในหลักสูตรหนึ่งหรือหลายหลักสูตร ระยะเวลาดำเนินการพัฒนาบุคลากร ต้องกำหนดให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการพัฒนา วิธีการพัฒนา และหลักสูตรการพัฒนาแต่ละหลักสูตร สำหรับหลักสูตรการพัฒนาสำหรับข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ดังนี้

(1) หลักสูตรความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ สำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
ทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการปฏิบัติราชการ ระเบียบและแบบแผนทางราชการ
และกฎหมายระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นพนักงานจ้างและลูกจ้างประจำ และหน้าที่ของข้าราชการในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขและการเป็นข้าราชการที่ดี 

(2) หลักสูตรการพัฒนาเกี่ยวกับงานในหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาข้าราชการหรือพนักงาน
ส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้าใจในการปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และพัฒนาทักษะ
ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทักษะด้านดิจิทัล เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(3) หลักสูตรความรู้และทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งสำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จำเป็น
สำหรับการปฏิบัติงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทแต่ละสายงาน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพและงานที่ปฏิบัติ โดยสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะ มาใช้ในการปฏิบัติงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ

(4) หลักสูตรด้านการบริหาร สำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นพัฒนาทักษะ
และองค์ความรู้ในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเป็นผู้นำองค์กร ทักษะเฉพาะด้าน การคิดเชิงกลยุทธ์ ทักษะ
การสื่อสารและการตัดสินใจ การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อสามารถเป็นผู้บริหารพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง

(5) หลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และส่งเสริมให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นรักษาจริยธรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรม
มีการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรม และยึดถือแนวทางปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม วินัยของข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และหลักธรรมาภิบาล

 

๓.๓ วิธีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้กำหนดวิธีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

(๑) การปฐมนิเทศ

สำหรับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นแรกบรรจุหรืออยู่ระหว่างการทดลองปฏิบัติ
หน้าที่ราชการ ให้มีความรู้ความเข้าใจสภาพแวดล้อมของหน่วยงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้างส่วนราชการ ผู้บริหาร วัฒนธรรมขององค์กร หน้าที่ความรับผิดชอบ ความสำคัญของภารกิจที่มีต่อประชาชน สังคม ประเทศชาติ การพัฒนาตนเองของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ความก้าวหน้าในอาชีพราชการ เพื่อให้มีทัศนคติที่ดีและมีแรงจูงใจในการรับราชการ 

(๒) การฝึกอบรม

การฝึกอบรม เป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยพัฒนาหรือฝึกฝนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะหรือ ความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ให้เหมาะสม
กับการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดความรู้สึก เช่น ทัศนคติหรือเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้บุคลากร
แต่ละคนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถเฉพาะตัวสูงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

(๓) การศึกษา หรือดูงาน

การพัฒนาบุคลากรโดยการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการเพิ่มพูนความรู้ ด้วยการเรียนหรือการวิจัยตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษาในและต่างประเทศโดยใช้เวลา
ในการปฏิบัติราชการ เพื่อให้ได้มาซึ่งปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งสาขาวิชาและระดับการศึกษา
โดยปกติจะต้องสอดคล้องหรือเป็นประโยชน์กับมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ดำรงอยู่ตามที่ ก.จ. ก.ท.
และ ก.อบต. กำหนด

สำหรับการดูงาน คือ การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้และแสวงหาประสบการณ์
ด้วยการสังเกตการณ์และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินการใหม่ ๆ โดยคาดหวังว่าจะสามารถนำ
มาประยุกต์ใช้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือปรับปรุงกระบวนการทำงานในบทบาทหน้าที่สำคัญ
ของแต่ละบุคคลทั้งปัจจัยความสำเร็จและปัญหาอุปสรรค ข้อควรระวังจากการเรียนรู้ขององค์กรที่ไปศึกษาดูงาน
ทั้งยังเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศโดยการไปพบเห็นสิ่งใหม่ซึ่งสามารถเสริมสร้างแนวคิดใหม่ และนำไปสู่
การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้กับบุคลากรอีกทั้งเป็นการเปิดมุมมองที่จะรับการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ สร้างความพร้อมให้แก่ทั้งตัวบุคลากร และสร้างผลสัมฤทธิ์
ให้แก่ทีมงาน ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี ผู้ไปศึกษาดูงานต้องใช้ทักษะการสอบถาม การสังเกต และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
จากหน่วยงานหรือองค์กรที่ไปศึกษาดูงาน

(๔) การประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการสัมมนา

การประชุม (Meeting) การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หรือการสัมมนา (Seminar) เป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรอีกรูปแบบหนึ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการคิดเชิงนวัตกรรม
การแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์และทักษะในการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจสามารถนำแนวคิดที่ได้รับจากการประชุมสัมมนามาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเป็นการพัฒนาบุคลากรที่ร่วมกันเป็นกลุ่มเน้นการฝึกปฏิบัติ โดยมีโครงการ/หลักสูตร และกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งอาจจะเป็นการศึกษาร่วมกัน ศึกษาค้นคว้า ตลอดจนทำความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ เพื่อทักษะปฏิบัติงาน ตามวัตถุประสงค์
ของการประชุม การประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือการสัมมนา นั้นๆ

(๕) การสอนงาน การให้คำปรึกษาหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม

๑) การสอนงาน (Coaching) การสอนงานถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นวิธีการให้ความรู้ (knowledge) สร้างเสริมทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) ที่ช่วยในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ในระยะยาว
โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนงานและบุคลากรผู้ถูกสอนงาน การสอนงานสามารถดำเนินการรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

๒) การฝึกขณะปฏิบัติงาน (On the Job Training) การฝึกขณะปฏิบัติงานถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในหน่วยงานเป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกปฏิบัติจริง ณ สถานที่จริงเป็นการให้คำแนะนำ เชิงปฏิบัติในลักษะตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มเล็กในสถานที่ทำงานและในช่วงการทำงานปกติ วิธีการนี้เน้นประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะการพัฒนาทักษะเป็นพื้นฐานให้แก่บุคลากรเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง การฝึกขณะปฏิบัติงานสามารถดำเนินการ
โดยผู้บังคับบัญชาหรือมอบหมายผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นมักใช้สำหรับบุคลากรใหม่ที่เพิ่งเข้าทำงานสับเปลี่ยนโอนย้ายเลื่อนตำแหน่งมีการปรับปรุงงานหรือต้องอธิบายงานใหม่ ๆ ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ฝึกบุคลากร
ขณะปฏิบัติงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบเพื่อให้บุคลากรทราบและเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิธีปฏิบัติงานพร้อมคู่มือและระเบียบการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการรักษาองค์ความรู้และคงไว้ซึ่งมาตรฐานการทำงาน
แม้ว่าจะเปลี่ยนบุคลากรที่รับผิดชอบงานแต่ยังคงรักษาความมีประสิทธิภาพในการทำงานต่อไปได้

๓) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) การเป็นพี่เลี้ยงเป็นอีกวิธีการพัฒนาบุคลากรรายบุคคลวิธีการนี้ต้องใช้ความคิดในการวิเคราะห์รับฟังและนำเสนอทิศทางที่ถูกต้องให้อีกฝ่ายโดยเน้นการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ระหว่างพี่เลี้ยง (Mentor) และผู้รับคำแนะนำ (Mentee) จากผู้มีความรู้ความชำนาญให้กับผู้ไม่มีประสบการณ์หรือมีประสบการณ์ไม่มากนัก ลักษณะสำคัญของการเป็นพี่เลี้ยงคือผู้เป็นพี่เลี้ยงอาจเป็นบุคคลอื่นได้
ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าโดยตรง ทำหน้าที่สนับสนุนให้กำลังใจช่วยเหลือสอนงาน
และให้คำปรึกษา แนะนำ ดูแลทั้งการทำงาน การวางแผนเป้าหมายในอาชีพให้กับบุคลากรเพื่อให้ผู้รับคำแนะนำมีความสามารถในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นรวมถึงการใช้ชีวิตส่วนตัวที่เหมาะสม

๔) การให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting) การให้คำปรึกษาแนะนำเป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรอีกรูปแบบหนึ่งที่มักใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรด้วยการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการทำงานซึ่งผู้บังคับบัญชากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้บุคลากร
มีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองได้ ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำมักเป็นผู้บังคับบัญชาภายในหน่วยงาน
หรืออาจเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นพิเศษในเรื่องนั้นๆที่มีคุณสมบัติ
เป็นที่ปรึกษาได้จากทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร

๕) การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) การหมุนเวียนงานเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการพัฒนา
ขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรถือเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดทักษะการทำงานที่หลากหลาย (Multi-Skill) ที่เน้นการสลับเปลี่ยนงานในแนวนอนจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่งมากกว่าการเลื่อนตำแหน่งงาน
ที่สูงขึ้น การหมุนเวียนงานเกิดได้ทั้งการเปลี่ยนตำแหน่งงานและการเปลี่ยนหน่วยงานโดยการให้ปฏิบัติงาน
ในหน่วยงานอื่นภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

๖) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นให้บุคลากรมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
โดยไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงเวลาในการปฏิบัติงานเท่านั้น บุคลากรสามารถแสวงหาโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
ผ่านช่องทางการเรียนรู้และสื่อต่าง ๆ ที่ต้องการได้ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสมกับบุคลากรที่ชอบเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยเฉพาะกับบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดีและมีศักยภาพในการทำงานสูง

๗) การเรียนรู้ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นวิธีการพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นให้บุคลากรมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
และพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมออนไลน์ที่เป็นความต้องการร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อเพิ่มศักยภาพของข้าราชการให้สามารถปฏิบัติงานภายใต้ระบบบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาสำหรับบุคลากรท้องถิ่นอาจจะกระทำได้โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต. สำนักงาน ก.จ.จ. ก.ท.จ. และ ก.อบต.จังหวัด หน่วยงานของรัฐ
หรือส่วนราชการอื่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการอื่นก็ได้

๓.๔ การพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้กำหนดการพัฒนาความรู้ให้กับบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนี้

(1) ด้านความรู้ทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ได้แก่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการโดยทั่วไป เช่น ระเบียบแบบแผนทางราชการ กฎหมายระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ บทบาทหน้าที่
ของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น แนวทางปฏิบัติเพื่อเป็นพนักงานจ้าง และหน้าที่ของบุคลากรท้องถิ่น  ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และการเป็นข้าราชการที่ดี

(2) ด้านคุณสมบัติส่วนตัว ได้แก่ การช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดี ส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพ พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทักษะด้านดิจิทัล มนุษยสัมพันธ์การทำงาน การสื่อความหมายการเสริมสร้างสุขภาพอนามัย เป็นต้น

(3) ด้านความรู้และทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่ง ได้แก่ ความรู้ความสามารถ
ในการปฏิบัติงานของตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะ เช่น งานฝึกอบรม งานพิมพ์หนังสือราชการ
งานด้านช่าง

(4) ด้านการบริหาร ได้แก่ รายละเอียดที่เกี่ยวกับการบริหารงานและการบริหารคน เช่น ในเรื่องการวางแผน การมอบหมายงาน การจูงใจ การประสานงาน ความเป็นผู้นำองค์กร ทักษะเฉพาะด้าน การคิดเชิงกลยุทธ์ ทักษะการสื่อสาร และการตัดสินใจ

(5) ด้านคุณธรรม และจริยธรรม ได้แก่ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน เช่น จริยธรรมในการปฏิบัติงาน มาตรฐานทางจริยธรรม การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

 

๓.๕ ประกาศคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ประกาศคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  และพนักงานจ้าง เพื่อให้ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานจ้าง ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมและประเทศชาติ อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม ดังนี้

๑. การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม

๒. การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ

๓. การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

๔. การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย

๕. การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

๗. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพโปร่งใส และตรวจสอบได้

๘. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๙. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

ทั้งนี้ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย

ตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนตำบล  ลงวันที่  24  ตุลาคม  2545  กำหนดให้ต้องพัฒนา  5 ด้าน ได้แก่

  1. ด้านความรู้ทั่วไปในการปฏิบัติงานได้แก่ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานโดยทั่วไป เช่น ระเบียบกฎหมาย นโยบายสำคัญของรัฐบาล สถานที่ โครงสร้างของงาน นโยบายต่าง ๆ เป็นต้น
  2. ด้านความรู้และทักษะเฉพาะของงานในแต่ละตำแหน่ง ได้แก่ ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานของตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดโดยเฉพาะ เช่น งานฝึกอบรม งานพิมพ์ดีด งานด้านช่าง
  3. ด้านการบริหาร ได้แก่ รายละเอียดที่เกี่ยวกับการบริหารงานและการบริการประชาชน เช่น ในเรื่องการวางแผน การมอบหมายงาน การจูงใจ การประสานงาน เป็นต้น
  4. ด้านคุณสมบัติส่วนตัวได้แก่ การช่วยเสริมบุคลิกภาพที่ดี ส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ เช่น มนุษย์สัมพันธ์การทำงาน การสื่อสารและสื่อความหมาย การเสริมสร้างสุขภาพอนามัย เป็นต้น
  5. ด้านศีลธรรมคุณธรรม และจริยธรรม ได้แก่ การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน เช่น จริยธรรมในการปฏิบัติงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานอย่างมีความสุข

ดังนั้น จึงให้ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล            และพนักงานจ้าง  ได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถ การฝึกอบรมตามหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ราชการอย่างน้อย 1 หลักสูตร หรือหลายหลักสูตร ตามความเหมาะสมกับตำแหน่ง ดังนี้

หลักสูตรและวิธีการพัฒนาบุคลากร ประจำปีงบประมาณ  2567 – 2569

 

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

 

ผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภา อบต.

  

นายก อบต.

1. หลักสูตรนายก อบต.

2. ภาวะผู้นำกับการบริหารท้องถิ่น

3. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตาม

   หลักธรรมภิบาล

4. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

   ปฏิบัติการ/ 

   สัมมนา

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

รองนายก อบต.

1. หลักสูตรรองนายก อบต.

2. ภาวะผู้นำกับการบริหารท้องถิ่น

3. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตาม

    หลักธรรมภิบาล

4. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

เลขานุการนายก อบต.

1. หลักสูตรเลขานุการนายก อบต.

2. ภาวะผู้นำกับการบริหารท้องถิ่น

3. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตาม

    หลักธรรมภิบาล

4. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ประธานสภา อบต.

1. หลักสูตรประธานสภา อบต.

รองประธานสภา อบต.

1. หลักสูตรรองประธานสภา อบต.

เลขานุการสภา อบต.

1. หลักสูตรเลขานุการนายก อบต.

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

1. ภาวะผู้นำกับการบริหารท้องถิ่น

2. การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตาม

    หลักธรรมภิบาล

3. การบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

 

พนักงานส่วนตำบล พนักงานครู อบต.  และพนักงานจ้าง

ปลัด อบต.

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น การบริหารจัดการ แผนงาน 

    งบประมาณ  การคลัง งานช่าง งาน 

    อำนวยการ  งานสาธารณสุข งาน

    สิ่งแวดล้อม งานสภา ฯลฯ

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

   ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ให้คำปรึกษา และอื่น ๆ

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

รอง ปลัด อบต.

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

  เช่น การบริหารจัดการ แผนงานงบประมาณ   

  การคลัง งานช่าง งานอำนวยการ  งานสาธารณสุข งานสิ่งแวดล้อม งานสภา ฯลฯ

 

สำนักปลัด

หัวหน้าสำนักปลัด

1.  สมรรถนะหลัก

2.  สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3.  งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น งานอำนวยการ  งานบริหารงานทั่วไป งานประสานงานทั่วไป  งานสภา งานรัฐพิธี  งานที่ไม่อยู่ในส่วนราชการอื่น

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

นักจัดการงานทั่วไป

1.     สมรรถนะหลัก

2.  สมรรถนะประจำสายงาน

3.  งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง   

 เช่น งานอำนวยการ  งานบริหารงานทั่วไป 

 งานประสานงานทั่วไป  งานธุรการ  งาน

 สารบรรณ งานสภา งานรัฐพิธี  งานที่ไม่อยู่

 ในส่วนราชการอื่น

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

1.    สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

  ตำแหน่ง เช่น งานแผน งบประมาณ

  ข้อบัญญัติฯลฯ

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

นักทรัพยากรบุคคล

1.     สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

  ตำแหน่ง เช่น งานสรรหา งานเลื่อนขั้น

  เลื่อนระดับ งานพัฒนา งานเงินเดือน ค่าจ้าง 

  ค่าตอบแทน งานเครื่องราช งานฝึกอบรม    

  งานบริการ ฯลฯ

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

นิติกร

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

เช่น งานด้านกฎหมายและนิติกรรม

นักพัฒนาชุมชน

เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน

 1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานสวัสดิการชุมชน  งานเบี้ยยังชีพ

    ผู้สูงอายุ ด้อยโอกาส งานสตรี งานพัฒนา

    ชุมชน ฯลฯ

เจ้าพนักงานธุรการ

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานอำนวยการ  งานบริหารงานทั่วไป

    งานประสานงานทั่วไป งานธุรการ

  

เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทา

สาธารณภัย

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานป้องกันระวังและบรรเทาสาธารณ

   ภัย ติดตาม ตรวจตรา และฝึกซ้อมรับมือกับ

   เหตุร้ายในรูปแบบต่าง ๆ งานกู้ชีพ อปพร. ฯลฯ

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

กองคลัง

   

ผู้อำนวยการกองคลัง

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น งาน

    ควบคุม ดูแล และตรวจสอบ การบริหาร

    การเงินการคลัง  งานบัญชีงานพัฒนาและ

    จัดเก็บรายได้  งานทะเบียนทรัพย์สิน

    และพัสดุ งานควบคมงบประมาณ

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

นักวิชาการเงินและบัญชี

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง   

 เช่น งานการเงินและบัญชี การงบประมาณการติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณ การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและบัญชี ฯลฯ

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

1.     สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3.  งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

     ตำแหน่ง เช่น งานตรวจสอบเงินอุดหนุน เงินรายได้ งานงบการเงิน งานงบทดรอง 

  ฯลฯ 

นักวิชาการจัดเก็บรายได้  

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3.  งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

     ตำแหน่ง เช่น งานพัฒนาและจัดเก็บ 

  รายได้ งานเขียนใบเสร็จ งานภาษีอากร   

  งานแผนที่ภาษี งานจัดหาผลประโยชน์

  จากทรัพย์สิน ฯลฯ 

เจ้าพนักงานพัสดุ

1.  สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

  ตำแหน่ง เช่น งานจัดซื้อ จัดจ้าง งาน

  ทะเบียนทรัพย์สิน งานพัสดุ ฯลฯ

กองช่าง

 

ผู้อำนวยการกองช่าง

 

 

 

 

 

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

  ตำแหน่ง เช่น งานก่อสร้างและบูรณะถนน

งานวิศวกรรม งานควบคุมก่อสร้างอาคาร

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

วิศวกรโยธา

1. สมรรถนะหลัก

2. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

เช่น งานออกแบบและควบคุมอาคาร ฯลฯ

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละ

     โอกาส

นักจัดการงานช่าง

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

  ตำแหน่ง เช่น งานก่อสร้างและบูรณะถนน

งานควบคุมก่อสร้างอาคาร

นายช่างโยธา

1.       สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

 ตำแหน่ง เช่น งานเขียนแบบ งานก่อสร้าง

 งานประมาณการ งานบูรณะ ซ่อมแซม ฯลฯ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่นงานควบคุม ส่งเสริมด้านสาธารณสุข

นักวิชาการสาธารณสุข

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

เช่น งานด้านการส่งเสริมสุขภาพ งานควบคุมโรค

พยาบาลวิชาชีพ

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

เช่น งานด้านการส่งเสริมสุขภาพ งานควบคุมโรค

เจ้าพนักงานธุรการ

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานอำนวยการ  งานบริหารงานทั่วไป

    งานประสานงานทั่วไป งานธุรการ

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

เช่น งานด้านการส่งเสริมสุขภาพ งานควบคุมโรค

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำผู้บริหาร

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่นงานควบคุมด้านการศึกษา 

    งานส่งเสริมการศึกษา

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

 

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

นักวิชาการศึกษา

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

งานพัฒนาการด้านการศึกษา งานส่งเสริมการศึกษา

นักสันทนาการ

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

งานพัฒนาด้านกิจกรรมต่างๆ งานส่งเสริมกิจกรรม ฯลฯ  

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

3.     สมรรถนะหลัก

4. สมรรถนะประจำสายงาน

3.  งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ใน

     ตำแหน่ง เช่น งานตรวจสอบเงินอุดหนุน เงินรายได้ งานงบการเงิน งานงบทดรอง 

  ฯลฯ 

เจ้าพนักงานธุรการ

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานอำนวยการ  งานบริหารงานทั่วไป

    งานประสานงานทั่วไป งานธุรการ

ครู

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงานการสอน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานการสอน  การดูแลเด็กปฐมวัย 

    การเขียนโครงการ  งานประเมินผล 

    การศึกษา งานพัฒนาเด็กปฐมวัย ฯลฯ

พนักงานจ้างตามภารกิจ

 

ผู้ดูแลเด็ก

 

ตำแหน่ง

ทักษะที่ต้องพัฒนา

วิธีการพัฒนา

ช่วงเวลาพัฒนา

หน่วยตรวจสอบภายใน

 

ดำเนินการเองหรือร่วมกับหน่วยงานอื่นโดยวิธีการ ดังนี้

–  ปฐมนิเทศ

–  ฝึกอบรม

–  ศึกษาดูงาน

–  ประชุมเชิง

  ปฏิบัติการ / 

   สัมมนา

– การสอนงาน/ 

 ให้คำปรึกษา   

 และอื่น ๆ ตามลักสูตร ตามสายงาน

ตามแผนและหนังสือให้เข้าร่วมอบรมในแต่ละโอกาส

นักวิชาการตรวจสอบภายใน

1. สมรรถนะหลัก

2. สมรรถนะประจำสายงาน

3. งานที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง

    เช่น งานตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ในด้านงบประมาณบัญชีและพัสดุ

  

ส่วนที่ 4 การบริหารและพัฒนาบุคลากร
โครงการ/กิจกรรม

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

 (ปีงบประมาณ  2567)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

1) การจัดทำแผนอัตรากำลัง    3 ปี และระบบบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

การจัดทำแผนอัตรากำลัง ที่สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

   

-จัดทำแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

-บริหารอัตรากำลัง เช่น การสรรหา บรรจุ  แต่งตั้ง และการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน การโอน(ย้าย)

-การพัฒนา ปรับปรุง กระบวนงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การรับส่งเอกสารผ่านทางออนไลน์ การประชุมหรืออบรมผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) กิจกรรมการเสริมสร้างสวัสดิการและการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

-การจัดกิจกรรมในวันต่างๆ

-กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

-กิจกรรมออกกำลังกาย

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

รวม

  

 การดำเนินงานสำหรับการบริหารและพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ปีงบประมาณ 2567

  1. แผนการดำเนินงานการพัฒนาแผนกำลังคนและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล
  • แผนการดำเนินงานการพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

(ปีงบประมาณ 2567)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ ของ อบต.แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น

1) โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 60 )

  

350,000

 

การฝึกอบรม

และการศึกษาดูงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) โครงการฝึกอบรมหลักสูตร
ตามสายงานของข้าราชการ

ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านฝึกอบรมหลักสูตรตามสายงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (ร้อยละ ๑๐๐)

60,000

60,000

60,000

60,000

การฝึกอบรม
 เชิงปฏิบัติการ

กรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น

3) โครงการฝึกอบรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 100)

   

25,000

การฝึกอบรม

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

4) โครงการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 80)

5,000

   

 

รวม

70,000

60,000

410,000

85,000

รวมทั้งหมด   625,000

          

การดำเนินงานสำหรับการบริหารและพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ปีงบประมาณ 2568

  1. แผนการดำเนินงานการพัฒนาแผนกำลังคนและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

 (ปีงบประมาณ  2568)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

1) การจัดทำแผนอัตรากำลัง    3 ปี และระบบบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

การจัดทำแผนอัตรากำลัง ที่สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

-จัดทำแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

-บริหารอัตรากำลัง เช่น การสรรหา บรรจุ  แต่งตั้ง และการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน การโอน(ย้าย)

-การพัฒนา ปรับปรุง กระบวนงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การรับส่งเอกสารผ่านทางออนไลน์ การประชุมหรืออบรมผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) กิจกรรมการเสริมสร้างสวัสดิการและการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

-การจัดกิจกรรมในวันต่างๆ

-กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

-กิจกรรมออกกำลังกาย

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

รวม

  
  1. แผนการดำเนินงานการพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

(ปีงบประมาณ 2568)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ ของ อบต.แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น

1) โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 60 )

  

350,000

 

การฝึกอบรม

และการศึกษาดูงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) โครงการฝึกอบรมหลักสูตร
ตามสายงานของข้าราชการ

ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านฝึกอบรมหลักสูตรตามสายงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (ร้อยละ ๑๐๐)

60,000

60,000

60,000

60,000

การฝึกอบรม
 เชิงปฏิบัติการ

กรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น

3) โครงการฝึกอบรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 100)

   

25,000

การฝึกอบรม

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

4) โครงการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 80)

5,000

   

 

รวม

70,000

60,000

410,000

85,000

รวมทั้งหมด   625,000

          

การดำเนินงานสำหรับการบริหารและพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ปีงบประมาณ 2569

  1. แผนการดำเนินงานการพัฒนาแผนกำลังคนและระบบบริหารทรัพยากรบุคคล

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

 (ปีงบประมาณ  2569)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

1) การจัดทำแผนอัตรากำลัง    3 ปี และระบบบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

การจัดทำแผนอัตรากำลัง ที่สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

-จัดทำแผนอัตรากำลังให้สอดคล้องกับบทบาทกับภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

-บริหารอัตรากำลัง เช่น การสรรหา บรรจุ  แต่งตั้ง และการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน การโอน(ย้าย)

-การพัฒนา ปรับปรุง กระบวนงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การรับส่งเอกสารผ่านทางออนไลน์ การประชุมหรืออบรมผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) กิจกรรมการเสริมสร้างสวัสดิการและการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล  ตูมใหญ่

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

ไม่ใช้งบประมาณ

-การจัดกิจกรรมในวันต่างๆ

-กิจกรรมเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ

-กิจกรรมออกกำลังกาย

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

รวม

  
  1. แผนการดำเนินงานการพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

โครงการ/กิจกรรม

ตัวชี้วัด

ระยะเวลาดำเนินงาน / งบประมาณ

(ปีงบประมาณ 2569)

วิธีการพัฒนา
บุคลากร

 

หน่วยงานดำเนินการ

ไตรมาสที่ 1

 

ไตรมาสที่ 2

 

ไตรมาสที่ 3

 

ไตรมาสที่ 4

 

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ ของ อบต.แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น

1) โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน

คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต. พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 60 )

  

350,000

 

การฝึกอบรม

และการศึกษาดูงาน

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

๒) โครงการฝึกอบรมหลักสูตร
ตามสายงานของข้าราชการ

ร้อยละของบุคลากรที่ผ่านฝึกอบรมหลักสูตรตามสายงานของข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น  (ร้อยละ ๑๐๐)

60,000

60,000

60,000

60,000

การฝึกอบรม
 เชิงปฏิบัติการ

กรมส่งเสริม

การปกครองท้องถิ่น

3) โครงการฝึกอบรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 100)

   

25,000

การฝึกอบรม

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

4) โครงการพัฒนาความรู้ด้านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้าง เข้าร่วมอบรม (ร้อยละ 80)

5,000

   

 

รวม

67,000

60,000

410,000

85,000

รวมทั้งหมด   625,000

          

ส่วนที่ 5 การติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

ให้มีคณะกรรมการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองฝ้าย  ประกอบด้วย

  1.   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่           ประธานกรรมการ
  2. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่            กรรมการ
  3. รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่                  กรรมการ
  4. ผู้อำนวยการกองคลัง กรรมการ
  5. ผู้อำนวยการกองช่าง                                        กรรมการ
  6. ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม         กรรมการ
  7. 7. ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม               กรรมการ
  8. หัวหน้าสำนักปลัด                                            กรรมการและเลขานุการ
  9. นักทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยเลขานุการ

                   มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ทราบถึงความสำเร็จของการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้เข้ารับการพัฒนา โดยใช้วิธีการประเมินผลการพัฒนา ดังนี้

1)  การใช้แบบสอบถาม/แบบทดสอบ ก่อน-หลังและแบบสอบถามติดตามการประเมินผลภายหลังจากการได้รับพัฒนาไปได้ระยะหนึ่ง

  • การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและ

ผู้ใต้บังคับบัญชา ของผู้เข้าร่วมการพัฒนา

3)  การขอรับทราบผลการประเมินจากหน่วยงานอื่นที่เป็นผู้ดำเนินการพัฒนา เช่น ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่หน่วยงานอื่นเป็นผู้จัด

บทสรุป

                การบริหารงานบุคคลตามแผนพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไข เพิ่มเติมให้เหมาะสมได้ตามระเบียบกฎหมาย และประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล  ตลอดจนแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ประกอบกับภารกิจตามกฎหมายและการถ่ายโอน  อาจเป็นเหตุให้การพัฒนาบุคลากรบางตำแหน่งที่จำเป็นได้รับการพัฒนามากกว่า และภารกิจบางประการที่ไม่มีความจำเป็น อาจต้องทำการยุบหรือปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ให้ครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาย ถ่ายโอนงานสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด บุคลากรที่มีอยู่จึงต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ