SWOTAnalysis

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ได้วิเคราะห์ศักยภาพและประเมินสถานภาพการพัฒนาใน
ปัจจุบันและอนาคตโดยใช้หลัก SWOTAnalysis โดยมีเป้าหมายวัตถุประสงค์ต้องการสู่  “สังคมเกษตรกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข”

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพ การพัฒนาในปัจจุบันและโอกาสการพัฒนาในอนาคตขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ โดยใช้หลัก   SWOT Analysis   ดังนี้

  1. พื้นที่ตำบลตูมใหญ่ เป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว,อ้อย,ยางพารา
  2. มีประเพณีท้องถิ่น งานบุญบั้งไฟปลอดเหล้า,การแข่งขันสรภัญญะ
  3. มีโรงงานน้ำตาลใกล้พื้นที่ตำบล
  4. ผู้นำท้องถิ่นมีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(ชมรมท้องที่ท้องถิ่น)
  5. มีลำห้วยไหลผ่าน ห้วยลึก ห้วยยาง ห้วยขมิ้น
  6. มีที่ทะเลสาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  7. เป็นตำบลขนาดใหญ่มีประชาชนและแรงงานจำนวนมาก
  8. มีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อไปยังตำบลและอำเภอใกล้เคียงได้สะดวก คูเมือง เมืองบุรีรัมย์บ้านด่านแคนดง
  9. มีห้างสรรพสินค้า,ลานค้าชุมชน,ตลาดนัด
  10. การพัฒนาพื้นที่สาธารณเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน/เกษตรกร/ประชาชนส่วนใหญ่มีหนี้สิน
  • มีปัญหาสังคม การทะเละวิวาทของกลุ่มเยาวชน
  • แห้งแล้งในฤดูร้อน ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์
  • ประชาชนว่างงานหลังฤดูการเก็บเกี่ยว
  • ขาดแคลนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
  • มีปัญหาการบุกรุกที่สาธารณะ
  • ขาดการส่งเสริมกลุ่ม/สินค้าพื้นบ้าน/สินค้า otop
  • ไม่มีตลาดรองรับสินค้าทางการเกษตร
  1. นโยบายรัฐบาล กองทุนหมู่บ้าน, โครงการ sml
  2. การขยายตัวทางสังคม,หมู่บ้าน/ชุมชน
  3. การลงทุนของภาครับและเอกชนในพื้นที่มีแนวโน้วสูงขึ้น
  4. ประคมอาเซียน การแลกเปลี่ยนสินค้าและการลงทุน
  1. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและนโยบาย
  2. ราคาน้ำมัน
  3. ราคาผลผลิตทางการเกษตร
  4. ปัญหาภัยแล้ง

จากการใช้เทคนิค SWOT Analysis เพื่อประเมินศักยภาพการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ทำให้สามารถกำหนดแนวทางในการพัฒนา โดยส่งเสริมจุดแข็งให้เด่นชัดและเน้นจุดเด่นของตำบล โดยใช้โอกาสที่จะนำพาการพัฒนาเป็นแนวขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย  ในขณะเดียวกันดำเนินการแห้ปัญหาและอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนภาพในของตำบล  ซึ่งสามารถเสริมปัจจัยได้ดังนี้

  1.   พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่โดยสภาพเป็นพื้นที่ที่มี 2 ลักษณะได้แก่ ที่เนินสูง และที่ราบ ที่เนินส่วนใหญ่ประชาชนใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น อ้อย และพารา ทำให้ตำบลตูมใหญ่โดยเฉพาะด้านทิศเหนือของของลำห้วยลึกขึ้นไป อันได้แก่ บ้านโนนเจริญ บ้านแคนเจริญ บ้านหนองดุม บ้านทุ่งสว่าง บ้านเมืองกับ บ้านหนองตาด บ้านปะคำดง และบ้านหนองไผ่ดง ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าที่ดิน จากการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญซึ่งได้แก่ยางพารา  และส่วนหนึ่งมีรายได้จากการรับจ้าง ประกอบกับ พื้นที่ทางด้านทิศเหนืออยู่ติดกับเขตของท้องถิ่นใกล้เคียงที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ประชาชนบางส่วนมีรายได้เสริมจาการทำงาน หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว อย่างไรก็ตามรายได้อาจจะไม่กระจายทั่วถึงนัก  ส่วนพื้นที่ด้านทิศไต้ของตำบล เป็นที่ราบประชาชนส่วนใหญ่ยัง การปลูกข้าว เป็นหลัก อาชีพเสริม คือการรับจ้างทั่วไป มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบการ เช่น กลุ่มดีดบ้าน ย้ายบ้าน ที่บ้านปะคำสำโรง บ้านใหม่เจริญสุข กลุ่มปลูกพืชปลอดสารพิษ ที่บ้านหนองบัว หนองบัวพัฒนา ต่อมาในช่วงปี 2553-2555 เริ่มมีการตื่นตัวและเพิ่มพื้นที่ในการปลูกยางพารามากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคต พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ กลายเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอคูเมือง

นอกจากนั้น ปัจจัยที่เป็นโอกาสที่สำคัญ เช่นการเปิดการค้าเสรีของกลุ่มประชาคมอาเซียน ก็จะส่งผลให้เกิดช่องการการขายและการส่งออกสินค้าทางการเกษตรได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในด้านความเสี่ยงจากการเปิดกลุ่มการค้าดังกล่าว อาจจะกระทบประชาชนในท้องถิ่นและเกิดปัญหาตามมาบ้างในอนาคต เช่น การนำเข้าแรงงาน การว่างงานของคนในชุมชนในท้องถิ่น เป็นต้น

ปัจจัยที่เสริมสร้างจุดแข็งให้แก่ อบต.ตูมใหญ่ แบ่งออกได้แบ่ง 3 กลุ่มหลักๆคือ

  1. ด้านเกษตรกรรมและการมีทรัพยากรในพื้นที่ เช่น ลำห้วยและสภาพพื้นที่ที่เหมาะแก่การเพราะปลูกพืชเศรษฐกิจ ยางพารา ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ทำให้พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอคูเมืองได้
  2. ประเพณีท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ จัดงานประเพณีท้องถิ่นขนาดใหญ่ได้ เช่นการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟปลอดเหล้า ซึ่งจะสามารถพัฒนาไปสู่การจัดงานเพื่อการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ในท้องถิ่น
  3. นโยบายผู้บริหาร, การดำเนินงานชมรมท้องที่ท้องถิ่น, และการรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆทางสังคม เช่น ชมรมผู้สูงอายุ เครือข่ายชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน (กทบ.) กลุ่ม อสม. อช. อปพร.เหล่านี้ จะเป็นแกนหลักในชุมชนการขับเคลื่อนการนโยบายการพัฒนาด้านต่างๆในพื้นที่อย่างรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม
  1. ด้านอุปสรรค  (Threats)  และจุดอ่อน  (Weaknesses)  ปัญหาที่ต้องแก้ไขในพื้นที่ อบต.ตูมใหญ่ ในประเด็นหลักที่เป็นจุดรวมโดยรวม คือ การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จาก ปัญหาการบุกรุกเพื่อหาที่ทำดินทำกิน การว่างงาน การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรนอกฤดูกาล การขาดแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และสินค้าพื้นบ้าน รวมถึงตลาดเพื่อรองรับสินค้าทางการเกษตรเป็นต้น นอกจากนี้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เช่นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ ปัญหาแหล่งน้ำ ก็เป็นประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขในอนาคต

[/fusion_text][/fusion_builder_column][/fusion_builder_row][/fusion_builder_container]