ประมวลจริยธรรมของผู้บริหารท้องถิ่น

ประมวลจริยธรรม

ความหมาย

คำว่า “จริยธรรม” แยกออกได้เป็น จริย + ธรรม ซึ่งคำว่า จริยะ หมายถึง ความประพฤติ หรือกิริยาที่ ควรประพฤติ ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมายหลายประการ เช่น คุณความดี, หลักคำสอนของศาสนาหลักปฏิบัติ เมื่อนำคำทั้งสอง มารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงมีความหมายตามตัวอักษรว่า “หลักแห่งความประพฤติ” หรือ “แนวทางของการประพฤติ” ที่กล่าวมานั้นเป็นความหมายตามตัวอักษรของคำว่า “จริยธรรม ” ซึ่งเป็น แนวทางให้นักวิชาการหลายท่าน ได้ให้ความหมายของคำว่า “จริยธรรม” ไว้คล้ายคลึงกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ, ศีลธรรม, กฎศีลธรรม – พจนานุกรมฉบับ

ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒

จริยธรรม หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์ – พุทธทาสภิกขุ

จริยธรรม หมายถึง การนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนิน ชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม – พระราชวรมุนี

ตามนิยามข้างต้น สามารถประมวลสรุปความได้ว่า จริยธรรม หมายถึง แนวทางของการ ประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นคนดี เป็นประโยชน์สุขแก่ตนเองและส่วนรวม นอกจากนี้ จริยธรรมไม่ใช่กฎหมาย เพราะ กฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตามและมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมาย เพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่ มีบทลงโทษ

ดังนั้น คนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรม ในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม และโดยทั่วไปจริยธรรมมักอิงอยู่กับศาสนา ทั้งนี้ เพราะคำสอนทางศาสนามีส่วนสร้างระบบจริยธรรมให้สังคม แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจริยธรรมอิงอยู่กับหลัก คำสอนทางศาสนาเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงนั้นจริยธรรมหยั่งรากอยู่บนขนบธรรมเนียมประเพณี โดยนัยนี้ บางคนเรียกหลักแห่งความประพฤติ อันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนาว่า “ศีลธรรม” และเรียกหลัก แห่ง ความประพฤติอันพัฒนามาจากแหล่งอื่น ๆ ว่า “จริยธรรม” ในทรรศนะของนักวิชาการหลายท่าน ศีลธรรม กับจริยธรรม จึงเป็นอันเดียวกันไม่อาจแยกเด็ดขาดจากกันได้ ความแตกต่างอยู่ตรงแหล่งที่มา ถ้าแหล่งแห่งความประพฤตินั้นมาจากศาสนาหรือข้อบัญญัติของศาสนา นั่นคือ ศีลธรรม แต่ถ้าเป็นหลัก ทั่วๆ ไป ไม่เกี่ยวกับ ศาสนา เช่น คำสอนของนักปรัชญา นั่นคือ จริยธรรม กล่าวคือ จริยธรรมจะมีความหมาย กว้างกว่าศีลธรรม เพราะศีลธรรมเป็นหลักคำสอนทางศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติปฏิบัติชอบส่วนจริยธรรม หมายถึงหลักแห่งความ ประพฤติปฏิบัติชอบอันวางรากฐานอยู่บนหลักคำสอนของศาสนา ปรัชญาและขนบธรรมเนียมประเพณี

กล่าวโดยสรุป จริยธรรม หมายถึง แนวทางของการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดี ซึ่งมีลักษณะเป็น ข้อบัญญัติให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามอันถือกันว่าเป็นการกระทำที่ดี ดังนั้น การดำเนินชีวิต ตามหลัก จริยธรรมเป็นสิ่งที่สังคมต้องการ สังคมจึงได้จัดให้มีการวางแนวทางของการประพฤติปฏิบัติตนและมี การสั่ง สอนอบรม เรื่องจริยธรรมแก่สมาชิกของสังคม ผลที่สังคมคาดหวังคือการที่สมาชิกน้อมนำเอาจริยธรรมไป ประพฤติในชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับ การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีประมวลจริยธรรม ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐประพฤติปฏิบัติตาม

โดยรายละเอียดของประมวลจริยธรรมของเทศบาลตำบลฉวางซึ่งวางแนวทางการประพฤติปฏิบัติตน หรือก็คือมาตรฐานทางจริยธรรมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของเทศบาลตำบลฉวาง ประพฤติปฏิบัติตาม สามารถศึกษาได้ในหัวข้อถัดไป

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยประสบกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นจนกลายเป็นวิกฤตในสังคมซึ่งส่งผลกระทบ ต่อการ ดำเนินนโยบายของรัฐ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายของรัฐและให้บริการแก่ประชาชนเพื่อนำไปสู่ความ เจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ วรรคสาม บัญญัติให้รัฐฟัง จัดให้มีมาตรฐานทางจริยธรรม เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นหลักในการกำหนดประมวลจริยธรรมสำหรับ เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าว และพระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๕ ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์การ ประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อใช้เป็นหลักสำคัญในการจัดทำประมวลจริยธรรมของ หน่วยงานของรัฐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.๒๕๖๓ ประกอบกับมติคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงกำหนดให้มีประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่นไว้ ซึ่งสอดคล้อง กับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ในการบริหารจัดการใน ภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและการสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย ให้ความสำคัญกับการ ส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านระบบการบริหารงานและบุคลากร มีการ บริหารจัดการภาครัฐที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้อย่างเป็นธรรม และประชาชนมีส่วนร่วม มี การกระจาย อำนาจ และแบ่งภารกิจรับผิดชอบที่เหมาะสมระหว่างส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งเพื่อให้การดำเนิน การเสริมสร้างจริยธรรมและคุณธรรมของอบต.ตูมใหญ่บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมจึงได้สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมของอบต.ตูมใหญ่โดยการจัดทำประมวลจริยธรรม อบต.ตูมใหญ่กำหนดเป็นประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น อบต.ตูมใหญ่พ.ศ.๒๕๖6 และประมวลจริยธรรมสมาชิกสภาท้องถิ่น อบต.ตูมใหญ่พ.ศ.๒๕๖6 ใช้เป็นหลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของอบต.ตูมใหญ่ปฏิบัติตามมาตรฐาน จริยธรรมที่ได้กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรม จึงได้จัดทำคู่มือจริยธรรม ฉบับนี้ขึ้น โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ ประมวลจริยธรรมของอบต.ตูมใหญ่ทั้งในส่วนความเป็นมา มาตรฐานทางจริยธรรม กลไก การบังคับใช้ และ ขั้นตอนลงโทษ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประมวลจริยธรรมให้กับ ผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง ของอบต.ตูมใหญ่ได้รับทราบและนำมายึดถือเป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงานได้ อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนดไว้ เสริมสร้าง จริยธรรมใน องค์กร และเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสังคม อันจะนำพาองค์กรไปสู่ ความสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ