เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง

1.ชื่อโครงการ        : โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่แผนงาน :  การเกษตร งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
: สำนักปลัด
3 หลักการและเหตุผล
 
                     ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เกิดขึ้นจากนโยบายที่ปรารถนาจะพัฒนาพื้นที่ให้มีความน่าอยู่อย่างยั่งยืนซึ่งความยั่งยืนจะเน้นการพัฒนาที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เน้นการพัฒนาโดยอาศัยและพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อกูลต่อกันและทำให้เกิดความสมดุลท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เกิดความขัดแย้งและสงครามระหว่างแนวคิดระบบระบบการปกครอง 2 ระบอบใหญ่ ระหว่างฝั่งประชาธิปไตย นำโดยสหรัฐอเมริกาและ อังกฤษ และสังคมนิยม นำโดยจีนและรัสเซีย การต่อสู้และแย่งการการเป็นผู้นำการจัดระเบียบ ส่งผลโดยตรงและต่ออ้อม ต่อความมั่นคงทางอาหาร ราคาสินค้า และปัจจัยการผลิต ประเทศไทยถึงแม้จะไม่ใช่คู่ขัดแย้ง แต่ก็ได้รับผลโดยตรงจากสถานการณ์การค้าโลก ส่งผลต่อระบบเศรฐกิจของไทยราคาสินค้านำเข้า หลายรายการ ที่จำเป็นสำหรับประเทศไทยโดยเฉพาะปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น ราคาพลังงานน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลตามความเป็นอยู่ของประชาชน
          ปัญหาจากปัจจัยภายนอกข้างต้น ส่งผลให้พลเมืองไทย ขาดความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม สุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่แย่ลง หรือใช้ชีวิตลำบากขึ้น เนื่องจากสังคมไทย ยังบอบช้ำยังไม่พื้นตัวเต็มที่จาก ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ถึงกลางปี 2565 หลายครอบครัวที่ต้องถูกเลิกจ้าง ไม่มีรายจุนเจือ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่เดินกลับจากเมืองใหญ่ รวมถึงฐานประชากรดำเนินชีวิตอยู่ในภูมิลำเนาเดิม จะสามารถดำเนินชีวิตอย่างมั่นคง และมีภูมิคุ้มกัน จากแรงกระทบทั้งจากภายนอกและภายใน บนพื้นฐานของคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความสุขท่ามกลางความเปลี่ยนนี้ได้อย่างไร
           องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ จึงได้จัดโครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขึ้น เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น
          หลักเศรษฐกิจพอเพียง
          หลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกบรรจุอยู่ในแผนงานของรัฐทุกหน่วยงานเป็นแกนกลางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นเข็มทิศนำทางในการร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นที่ทราบกันดีว่า หลักเศรษฐกิจพอเพียงนั้น คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขความรู้ และคุณธรรม แนวคิดการเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์           
          เศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์   โดยพื้นฐานคือ การพึ่งตนเอง เป็นหลักการทำอะไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รอบคอบ ระมัดระวังพิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความสมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ โดยศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่   มีเป้าหมายใช้ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ ในด้านต่างๆ ได้แก่
          ด้านเศรษฐกิจลดรายจ่าย/เพิ่มรายได้/ใช้ชีวิตอย่างพอควร/คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ/มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป/การเผื่อทางเลือกสำรอง 
          ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ /มีจิตสำนึกที่ดี /เอื้ออาทรประนีประนอม /นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักด้านสังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกัน /รู้รักสามัคคี /สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชนด้านทรัพยากร
          ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ /เลือกใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด /   ฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด 
          ด้านเทคโนโลยี   รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม (ภูมิสังคม) /พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านเองก่อน /ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก
โดยโครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
          ได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแกนกลางในดำเนินโครงการ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่แบบองค์รวมขึ้น โดยประยุกต์ใช้กับสภาพเศรฐกิจ สังคม และทรัพยกรที่มีอยู่กล่าวคือ การสร้างฐานการเรียนรู้ จากจุดเล็กๆสู่ศูนย์การเรียนรู้ของตำบล รวม 3 ด้าน ได้แก่
          – ด้านเศรษฐกิจลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
          – ด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          – ด้านเทคโนโลยี

2 วัตถุประสงค์
          ศูนย์การเรียนรู้การน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ดำเนินการเป็นศูนย์การเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์ของการดำเนินการ 3 ด้าน คือ

            1.๑)  เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนทางด้านพลังงานทดแทน
ลดรายจ่ายในกิจการที่ดำเนินการบนพื้นที่โครงการ เช่นกิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ พัฒนาต่อยอดเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์/ศูนย์อาหารปลอดภัยในอนาคต

            1.๒) เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ ยั่งยืน ภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการศูนย์การเรียนรู้ธนาคารน้ำ ระบบปิดและระบบเปิด การอนุรักษ์ ดิน น้ำ และป่าไม้
            1.๒) เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นประยุกต์ใช้งานกับเทคโนโลยี สมัยใหม่ เช่นการใช้อินเตอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things)j รวบรวมเก็บรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานและด้านสิ่งแวดล้อม ทดลอง วิจัย ประยุกต์ใช้ในศูนย์การเรียน ให้มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืนต่อไป

 

 

 

 

 

กรอบแนวคิดแบบองค์รวม
การบรูการโครงการสู่ศูนย์เรียนเศรฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

4 เป้าหมาย
          ด้านการเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย

          ปรุงปรุงภูมิทัศน์พัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลตูมใหญ่เดิม ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริการส่วนตำบลตูมใหญ่ ให้เป็นรูปแบบโคกหนองนา เพื่อผสมผสานการบริหารจัดการ น้ำดิน และป่าไม้ และต่อยอดการ โดย
          พัฒนาโคกหนองนา (ดำเนินการแล้วด้วยงบประมาณนอกโครงการ) ให้ศูนย์แสดง หรือจำหน่าย สินค้า ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน  (โครงการต่อเนื่องระยะที่สองบรูณาการร่วมกับหน่วยงาน โครงการอื่น ด้านการส่งเสริมอาชีพ) อันเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้น
          พัฒนาระบบการใช้พลังงานในศูนย์โดยการติดตั้งระบบโซล่า เพื่อสูบน้ำ จ่ายน้ำจากแหล่งน้ำบริเวณโครงการเข้าระบบประปาหมู่บ้านกรูด หมู่ที่ 12 (งบประมาณนอกโครงการ) เพื่อลดรายจ่ายด้านพลังงาน

          อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          สร้างฐานการเรียนรู้การจัดการน้ำ การบริหารจัดการ การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบและน้ำประปา โดย
          – ก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบบปิด  จำนวน 1 บ่อ  ดำเนินการแล้ว (งบประมาณนอกโครงการ)
          – ก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบบเปิด จำนวน 1 บ่อ ดำเนินการแล้ว (งบประมาณนอกโครงการ)
          – กังหันชัยพัฒนาโซล่าเซลล์ จำนวน 1 ชุด
          – ระหัดวิดน้ำเติมอากาศแบบหมุนได้ด้วยพลังงานน้ำ  จำนวน 1 จุด
          – บ่อสังเกตการณ์ น้ำใต้ดิน เพื่อเก็บข้อมูลและสถิติ ปริมาณน้ำใต้ดิน จำนวน 1 จุด
          – คันกันน้ำรักษาระดับน้ำแบบคอนกรีตปั้นประดิษฐ์ บริเวณคลองใส้ไก่ จำนวน 1 จุด
          – ป้ายบอกฐานการเรียนรู้จำนวน 5 จุด
          – สะพานทางเชื่อมทางข้ามคลองใส่ไก่ จำนวน 2 จุด

          เทคโนโลยีและนววัตกรรม

          – ระบบปิดเปิดและควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ อุปกรณ์ประยุกต์ตามความเหมาะสม

5. ขั้นตอน/ วิธีการดำเนินงาน
           ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  กำหนดกรอบการดำเนินการโครงการ เป็นลักษณะโครงการต่อเนื่อง และบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน โครงการอื่น อันเกี่ยวเนื่องกับการน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม จึงกำหนดห้วงการดำเนินเงินการไว้ 3 ระยะ ได้แก่
          ระยะที่ 1 การก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจดพอเพียง องคารบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ 2 ปี
 พ.ศ.2565 -2566

          4.1 ขั้นการก่อเกิดของนโยบายผู้บริหารและการขับเคลื่อนแนวนโยบายแห่งรัฐ

          -การเตรียมการ
          ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) เป็นยุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งจะต้องนาไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้ประเทศไทยบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ภายในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
          นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ให้นโยบายการพัฒนาบริเวณพื้นที่ บริเวณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ประจำองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ให้เป็นรูปแบบโคกหนองนาโมเดล ที่ประกอบด้วยชุดรูปแบบของการขุดลอกขุดคลองใส้ไก่ ในรูปแบบโคกหนองนา และพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ไหไหลากหลาย สวยงาม และคุ้มค่า จึงเป็นที่มาของกำหนดดำเนินการโครงการเพื่อสนองตอบต่อนโยบายผู้บริหาร ภายใต้ยุทธศาสตร์ ชาติ 20 อันมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนการดำเนินงาน นำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ ดังนี้
          4.2.1 การดำเนินงานใน ระยะที่ 1
          กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์
พัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลตูมใหญ่เดิม ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริการส่วนตำบลตูมใหญ่ ให้เป็นรูปแบบโคกหนองนา เพื่อผสมผสานการบริหารจัดการ น้ำดิน และป่าไม้ และต่อยอดการ ร่วมกับการพัฒนาระบบการใช้พลังงานในศูนย์โดยการติดตั้งระบบโซล่า เพื่อสูบน้ำ จ่ายน้ำจากแหล่งน้ำบริเวณโครงการเข้าระบบประปาหมู่บ้านกรูดหมู่ที่ 12 เพื่อลดรายจ่ายด้านพลังงาน
          กิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          สร้างฐานการเรียนรู้การจัดการน้ำ การบริหารจัดการ การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบและน้ำประปา โดย
          – ก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบบปิด  จำนวน 1 บ่อ 
          – ก่อสร้างธนาคารน้ำใต้ดินระบบบเปิด จำนวน 1 บ่อ
          – กังหันชัยพัฒนาโซล่าเซลล์ จำนวน 1 ชุด
          – ระหัดวิดน้ำเติมอากาศแลลหมุนได้ด้วยพลังงานน้ำ  จำนวน 1 จุด
          – บ่อสังเกตการณ์ น้ำใต้ดิน เพื่อเก็บข้อมูลและสถิติ ปริมาณน้ำใต้ดิน จำนวน 1 จุด
          – คันกันน้ำรักษาระดับน้ำแบบคอนกรีตปั้นประดิษฐ์ บริเวณคลองใส้ไก่ จำนวน 1 จุด
          – ป้ายบอกฐานการเรียนรู้จำนวน 5 จุด
          – สะพานทางเชื่อมทางข้าม คอลใส่ไก่ จำนวน 2 จุด

            4.2.2 การดำเนินงานในระยะที่ 2 2566-2567
          –
การสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ หรือกลุ่มผู้มีความสนใจ ด้านการเสริมสร้างรายได้ การพัฒนาเศรษฐกิจพิเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่  แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ธนาคารน้ำได้ติน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและองค์กร หรือหน่วยงาน
           – ขยายผลการทำธนาคารน้ำลงสู่พื้นที่ตำบลตูมใหญ่และใกล้เคียง
          –  ปรับปรุงภูมิทัศน์ สถานที่ศูนย์การเรียนรู้ให้สะอาดสวยงาม เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่ออกกำลังกาย สวนสุขภาพ
          – ส่งเสริมการผลิต การเสริมสร้างอาชีพใหม่และพัฒนาอาชีพหลัก การแปรรูปผลิตภัณฑ์ประจำตำบล (บรูณาการโครงการกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มอาชีพ ในพื้นที่ )  
         4.2.3 การดำเนินงานในระยะที่ 3  2567-2568
          –
ศูนย์จำหน่วยและแสดงสินค้าและศูนย์พัฒนานวัตกรรมพื้นฐาน
         4.3 ติดตามประเมินผล
          ระยะที่ 1 ติดตามประเมินผลรอบปี 2565/2566
          สร้างแบบตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่
          1 รายได้ที่เพิ่มขึ้น รายจ่ายที่ลดลง เทียบรายได้รายจ่ายการใช้พลังงานทดแทน
          2 ปริมาณใต้ดินที่เพิ่มขึ้น การเก็บข้อมูล ณ บ่อสังเกตุการณ์ระดับน้ำใต้ดิน
          3 คุณภาพของน้ำในบริเวณศูนย์การเรียนรู้ดีขึ้น ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ
          4 นับจำนวนตัวอย่างการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาประสานเทคโนโลยี  ณ บริเวณ ศูนย์การเรียนรู้  
          4.4 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน
          จัดทำเอกสารเผยเพร่ ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์และสื่อสิ่งพิมพ์

 

  1. แผนปฏิบัติงาน
    การดำเนินงานในระยะที่ 1 ตามข้อ 4.2.1 ปีงบประมาณ 2565

กิจกรรม / งาน

ส.ค. 65

ก.ย. 65

ตุลา 65

พ.ย. 65

ก่อสร้างระบบธนาคารน้ำระบบปิด (งบประมาณนอกโครงการ)

 

 

 

ก่อสร้างธนาคารน้ำระบบเปิด  (งบประมาณนอกโครงการ)

 

 

 

บ่อสังเกตการณ์ระดับน้ำ ดำเนินการเอง

 

 

 

กังหัยชัยพัฒนาโซล่าเซลล์ (จัดหา)
(ระยะที่ 2)

 

 

 

ระหัดวิดน้ำเดิมอากาศ (ดำเนินการเอง)
(ระยะที่ 2)

 

 

 

คันกันน้ำรักษาระดับน้ำแบบคอนกรีตปั้นประดิษฐ์ (จ้างทำของ)                  

 

 

 

ป้ายบอกฐานการเรียนรู้ (จ้างทำของ)

 

 

 

สะพานทางเชื่อมทางข้ามคลองใส่ไก่ (ดำเนินการเอง) (ระยะที่ 2)

 

 

 

         การดำเนินงานในระยะที่ 2 2566 /2567 ( กิจกรรม งาน แผนงานงานปรากฏในโครงการปี ถัดไป)
         การดำเนินงานในระยะที่ 3 2567 /2568 ( กิจกรรม งาน แผนงานงานปรากฏในโครงการปี ถัดไป)

6. ระยะเวลาการดำเนินการโครงการ      
        
ปี 2565-2568

2565-2566

2566-2567

2567-2568

การดำเนินงานในระยะที่ 1

การดำเนินงานในระยะที่ 2

การดำเนินงานในระยะที่ 3

  1. งบประมาณ
    งบประมาณการดำเนินการโครงการ ตามบัญชี รายการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำ 2565  
    หมวดค่าใช้สอย : รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติราชการที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่น
    แผนงาน
     : การเกษตร งานสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    โครงการ :  โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
    เพื่อจ่ายเป็น

 1  ค่าจัดวัสดุทำคันกันน้ำรักษาระดับน้ำแบบคอนกรีตปั้นประดิษฐ์ (ดำเนินการเอง) ตั้งไว้  10,000 บาท รายละเอียดรายการวัสดุ ตาม แบบ ปร. 4
 2. ชุดป้ายโครงเหล็กอินโฟร์กราฟิคแบบสติกเกอร์พร้อมติดตั้งขนาด 80 คูณ 120 เซนติเมตร จำนวน 5 ป้าย เป็นเงิน 10,000 บาท รายละเอียดรายการวัสดุ ตาม แบบ ปร. 4
 3. สะพานทางเชื่อมทางข้ามคลองใส่ไก่ (ดำเนินการเอง)  จำนวน 2 จุดละ 10,000 บาท รายละเอียดรายการวัสดุ ตาม แบบ ปร. 4
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน)

  1. การติดตามประเมินผล
    ระยะที่ 1 ติดตามประเมินผลรอบปี 2565/2566
       8.1 สร้างแบบตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ 3 ด้าน ได้แก่
    ตัวชี้วัดที่ 1 รายได้ที่เพิ่มขึ้น/รายจ่ายที่ลดลง
    ตัวชี้วัดที่ 2 ปริมาณน้ำใต้ดินที่เพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัดที่ 3 คุณภาพน้ำดีขึ้น
    ตัวชี้วัดที่ 4 จำนวนนวัตกรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

     8.1.1 ตัวชี้วัดที่ 1 รายได้ที่เพิ่มขึ้น/รายจ่ายที่ลดลง
     เทียบรายได้รายจ่ายการใช้พลังงานทดแทน
                     แบบการติดตามประเมินผลค่าพลังงานไฟฟ้าที่กับกิจการประปาบริเวณศูนย์การเรียนรู้

 

มค

ก.พ.

มี.ค.

เม .ษ

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ค่าไฟประปา

            

ค่าไฟฐานก่อนดำเนินงาน

            

8.1.2 ตัวชี้วัดที่ 2 ปริมาณน้ำใต้ดินที่เพิ่มขึ้น
 วัดปริมาณใต้ดินที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยการ การเก็บข้อมูล ณ บ่อสังเกตการณ์ระดับน้ำใต้ดิน
ใบแบบบันทึกระดับน้ำใต้ดินระบบฟอร์มออนไลน์และออกรายงานผล

บันทึกข้อมูลรายเดือน และเสนอผลการติดตามต่อผู้บริหารราย 6 เดือน

8.1.3 ตัวชี้วัดที่ 4 คุณภาพดีขึ้น
วัดคุณภาพของน้ำในบริเวณศูนย์การเรียนรู้ดีขึ้น ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพน้ำ รวมถึงการเก็บบันทึกข้อมูล

บันทึกข้อมูลรายเดือนระบบประมวลผล และเสนอผลการติดตามต่อผู้บริหารราย 6 เดือน

ตัวชี้วัดที่ 8.1.4 จำนวนนวัตกรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
จำนวนของกิจกรรมที่มีการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาประยุกต์เทคโนโลยี ณ บริเวณ ศูนย์การเรียนรู้  
8.2 จัดทำคู่มือการดำเนินงานและผลการดำเนินการเป็นเอกสารรูปเล่ม KM
8.3 จัดทำช่องทางเผยพร่การดำเนินงานของศูนย์ ผ่านเว็ปไซต์ รูปแบบ E-BOOk


                      

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    9.๑)  เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย ในกิจการที่ดำเนินการบนพื้นที่โครงการ กิจการประปาขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
               9.1.1 นโยบายทางเลือกการกำหนดเป้าหมายในอนาคต (กำหนดตัวชี้วัดเพิ่มเติมระยะที่ 2-3)
              – ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าเอกลักษณ์ท้องถิ่น ตัวชี้วัดรายได้
              – สวนสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย  ตัวชี้วัดสุขภาพ

            9.๒)  ศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ ยั่งยืน ภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการศูนย์การเรียนรู้ธนาคารน้ำ ระบบปิดและระบบเปิด การอนุรักษ์ ดิน น้ำ และป่าไม้  ในพื้นที่ตำบล มีปริมาณน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น

 

            9.3)  เป็นศูนย์เรียนรู้แบบการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ภายใต้หลักเศรษฐกิจเพียงพออย่างเหมาะสมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

 

ลงชื่อ                                ผู้เขียนโครงการ  ลงชื่อ                                 ผู้เขียนโครงการ

        (นายธรรม์ธวัช ยันระหา)                             (นางสาวภัชราภรณ์ วงศ์ยาฤทธิ์)

    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน                            นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ลงชื่อ                                ผู้เสนอโครงการ

(นางชัชฎาภรณ์ พัวนิรันดร์กูล)

         หัวหน้าสำนักปลัด อบต.

พ.จ.ต.                                ผู้เห็นชอบโครงการ

                                                         (รุ่งนาวี  ภูชุม )

                                           ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

ลงชื่อ                                ผู้อนุมัติโครงการ

(นายชาตรี  ศรีตะวัน)

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่