โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

๑.  หลักการและเหตุผล

               ด้วยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยการส่งเสริมสนับสนุนและสร้างกระบวนการความร่วมมือขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในการสมัครเข้าร่วมสนองพระราชดำริและดำเนินกิจกรรม  ซี่งองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ลำดับสมาชิก 8-6310204เพื่อดำเนินกิจกรรมทั้ง ๖ กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปกปักทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทอ้งถิ่น กิจกรรมศูนย์ทรัพยากรท้องถิ่น กิจกรรมสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น  ตามแผนแม่บท อพ.สธ.ตูมใหญ่ ระยะ 5 ปีที่หก (ตุลาคม พ.ศ.2559-กันยายน พ.ศ.2564) เป็นแผนแม่บทที่จัดทำขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๓  เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีกิจกรรม ๘ กิจกรรมที่อยู่ภายใต้ ๓ กรอบการดำเนินงาน และ ๓ ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่มีแผนปฏิบัติงานประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๔ ซึ่งปี พ.ศ.๒๕๖๓ จะเป็นการดำเนินการด้านบริหารจัดการ คือการประชุมประชาคม คัดเลือกคณะอนุกรรมการศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นตำบลตูมใหญ่ ในแต่ละงาน ทั้ง ๖ งาน (๑) คณะทำงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น (๒) คณะทำงานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น (๓) คณะทำงานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น (๔) คณะทำงานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น (๕) คณะทำงานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น (๖) คณะทำงานสนับสนุนในการอนุรักษ์จัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเรียนรู้ทรัพยากรท้องถิ่น ทั้ง ๔ คณะ (๑) คณะทำงานทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาพืช (๒) คณะทำงานทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาสัตว์ (๓) คณะทำงานทรัพยากรท้องถิ่น : ด้านศึกษาชีวภาพอื่นๆ (๔) คณะทำงานทรัพยากรท้องถิ่น : การศึกษาภูมิปัญญา ด้านการดำเนินงาน ในงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น จะมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ปกปักทรัพยากรในเขตพื้นที่สาธารณะประโยชน์บ้านตูมน้อย ประมาณจำนวน ๔๑  ไร่  ในส่วนของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จะเป็นการกำหนดขอบเขตพื้นที่และการสำรวจทรัพยากรท้องถิ่น 

                 องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จึงมีการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)  ตามกรอบการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นสามฐานทรัพยากร (ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา) โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ๓ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านบริหารและด้านจัดการ ๒. ด้านการดำเนินงาน ๓.ด้านผลการดำเนินงาน และคณะอนุกรรมการ (๑) อนุกรรมการศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่นประกอบด้วย คณะทำงาน จำนวน ๖ งาน (๒) คณะอนุกรรมการเรียนรู้ทรัพยากรท้องถิ่น เป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เพื่อเกิดการสร้างจิตสำนึกในการรักท้องถิ่นให้กับนักเรียนและประชาชนตำบลตูมใหญ่ เป็นการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และได้ขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่นนำไปสู่การยืนยันสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากรนำไปสู่การเป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)และการขึ้นทะเบียนอื่นๆ ต่อไป จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระ       กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๔ ขึ้น            

  1. วัตถุประสงค์

               ๒.๑ เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.)

     ๒.๒ เพื่อดำเนินงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น สำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น ปลูกรักษา

ทรัพยากรท้องถิ่น อนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น และสนับสนุนในการอนุรักษ์จัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น (นอกจากพันธุกรรมพืชแล้ว รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาในการดำเนินงานต่างๆ)

                2.๓  เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น

                ๒.๔ เพื่อจัดตั้ง “ศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น”

               ๒.๕ เพื่อได้ขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่นตามรูปแบบการทำทะเบียนทรัพยากรต่าง ๆ ของ อพ.สธ. ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อนำไปสู่การยืนยันสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากร นำไปสู่การเป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) และการขึ้นทะเบียนอื่น 

  1. เป้าหมาย

          เป้าหมายเชิงปริมาณ งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น

                 ๓.๑ จัดทำเขตแผนผังพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น จำนวน ๔๑ ไร่

                 ๓.๒ สำรวจทรัพยากรท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ปกปัก โซน A จำนวน ๒๖ ไร่

                      ๓.๒.๒ ทรัพยากรชีวภาพ

                              ๑) พืช ตามลักษณะวิสัย จำนวน ๑,0๐๐ ต้น

                              ๒) สัตว์ ตามข้อมูลพันธุ์สัตว์ จำนวน 10 ชนิด

                              ๓) ชีวภาพอื่นๆ จำนวน ๕ ชนิด

                        ๓.๒.๓ ทรัพยากรกายภาพ เก็บข้อมูลด้านสภาพภูมิประเทศ ลักษณะดิน แหล่งน้ำ อุณหภูมิ ปริมาณแสง ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของทรัพยากรกายภาพในท้องถิ่น

          เป้าหมายเชิงคุณภาพ

                 ๓.๓ การมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น ของ เด็ก นักเรียน เยาวชน ประชาชน โรงเรียน ส่วนราชการในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ในการจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับตำบล 

                 ๓.๔ มีศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น

                 ๓.๕ มีฐานข้อมูลทรัพยากรซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน/3.  เป้าหมาย

                 ๓.๖ ได้ขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่นตามรูปแบบการทำทะเบียนทรัพยากรต่าง ๆ ของ อพ.สธ. ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เพื่อนำไปสู่การยืนยันสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากร นำไปสู่การเป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) และการขึ้นทะเบียนอื่น 

  1. แผนการปฏิบัติงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น/ระยะเวลาดำเนินการ

          (รายละเอียดแนบ จำนวน ๑ ชุด)

      ด้านผลการดำเนินงาน

            รายงานผลการปฏิบัติงานหลังเสร็จการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม/โครงการ ไม่เกินระยะเวลา ๓๐ วัน นับแต่เสร็จสิ้นกิจกรรมดำเนินการ

๕.  สถานที่ดำเนินการ

     ๖.๑ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

                ๖.๒ เขตปกปักทรัพยากร ป่าสาธารณะประโยชน์บ้านตูมน้อย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง        จังหวัดบุรีรัมย์

๖.  งบประมาณ

           ๖.๑ ตามข้อบัญญัติงบประมาณ ๒๕๖๔ แผนงานการเกษตร งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ หมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะรายจ่ายหมวดอื่นๆ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งไว้ ๔๐,๐๐๐ บาท  สำหรับด้านการบริหารจัดการ  และงานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น มีรายละเอียด ดังนี้

  • ค่าป้ายโครงการและป้ายอื่นๆ เช่นป้ายผังแสดงพื้นที่ ป้ายกิจกรรม

ป้ายพันธ์พืชต่างๆ                                                  เป็นเงิน  ๑๕,๐๐๐  บาท

               ๒) ค่าวัสดุอุปกรณ์  เอกสารต่างๆ เช่น เชือกฟาง เหล็ก แผ่นพับฯ    เป็นเงิน    ๘,๐๐๐  บาท

               ๓) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม,ค่าเครื่องดื่ม                            เป็นเงิน    ๖,๐๐๐  บาท

               ๔) ค่าอาหารกลางวัน                                                   เป็นเงิน    ๖,๐๐๐  บาท

        ๕) ค่าตอบแทน วิทยากร ค่าจ้างเหมาปราชญ์ชาวบ้าน,ผู้เชี่ยวชาญพืชพรรณไม้ในการสำรวจ

จำแนกชนิด ฯ                                                                          เป็นเงิน   ๔,๐๐๐   บาท

     ๖) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น                                                 เป็นเงิน   ๑,๐๐๐  บาท         

                                                                    เป็นเงิน                        ๔๐,๐๐๐  บาท

            ๖.๒ หน่วยงานอื่นสนับสนุน (ถ้ามี)

๗.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

              องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ทุกสำนัก/กอง ร่วมกับ  โรงเรียนตูมใหญ่วิทยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ้านกรูด และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลบ้านโนนเจริญอาสาสมัครท้องถิ่นรักโลก ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

๘.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  ๘.๑ มีเขตปกปักทรัพยากรท้องถิ่น จำนวน ๔๑ ไร่          

             ๘.๒  มีการสำรวจฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับตำบล โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน นักเรียน เด็ก เยาวชน บุคคลทั่วไป ส่วนราชการ ในพื้นที่ในเขตปกปักทรัพยากรท้องถิ่น โซน A จำนวน ๒๖ ไร่

             ๘.๓  มีฐานข้อมูลทรัพยากรซึ่งมีทั้งทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

                ๘.๔ องค์การบริหารตูมใหญ่ ได้ขึ้นทะเบียนทรัพยากรท้องถิ่นตามรูปแบบการทำทะเบียนทรัพยากรต่าง ๆ ของ อพ.สธ. เพื่อนำไปสู่การยืนยันสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพยากร นำไปสู่การเป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) และการขึ้นทะเบียนอื่น ๆ

๙. การประเมินผล

           ประเมินผลตามตัวชี้วัด (KPI) ทั้ง ๓ ด้าน

            ๙.๑ ด้านการบริหารจัดการ

–  มีผู้เข้าร่วมประชุมเกินกึ่งหนึ่งของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

–  มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด้านการดำเนินงานและคณะศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรท้องถิ่น และคณะทำงานทุกชุด

 – มีการกำหนดเขตปกปักทรัพยากรที่ชัดเจน

                    – มีรายงานการประชุมทุกครั้ง

                    – มีแผนแม่บทและแผนปฏิบัติงานโครงการอนุรักพันธ์กรรมพืชฯประจำปี

                    – มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานโครงการ

๙.๒ ด้านการดำเนินงาน

                   กิจกรรมที่ ๑ งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น

–  มีการสำรวจและศึกษาทรัพยากรท้องถิ่น       

 – มีผังแสดงพื้นที่ปกปัก

 – มีการทำตัวอย่างทรัพยากรเกินร้อยละ ๕๐ ของทรัพยากรที่สำรวจ

 – มีการดูแลรักษาทรัพยากรให้คงอยู่เกินร้อยละ ๘๐ ของทรัพยากรที่สำรวจ

                   กิจกรรมที่ ๒ งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น

                    – มีการเก็บข้อมูล พื้นฐาน,การประกอบอาชีพ,กายภาพ,ประวัติหมู่บ้าน วิถีชุมชน,ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืช ทะเบียนพรรณไม้ในชุมชน,การใช้ประโยชน์ของสัตว์ ทะเบียนสัตว์,การใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ภูมิปัญญาท้องถิ่น,แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและมีการจัดทำรายงานผลการสำรวจและจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่นทั้งหมดที่กล่าวมา

                   กิจกรรมที่ ๓ งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น

                   – มีการจัดหา รวบรวมทรัพยากร ปลูก รักษาในเขตปกปักทรัพยากรท้องถิ่น

– มีการติดตามการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในเขตปกปักทรัพยากรท้องถิ่น

                   กิจกรรมที่ ๔ งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น

                   – มีการฟื้นฟู บำรุงรักษา ขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นและแจกจ่ายให้กับหมู่บ้าน ๑๙ หมู่บ้าน ในวันสำคัญต่างๆ

– มีการจัดงานท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพื่อขายสินค้าชุมชนเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

                   กิจกรรมที่ ๕ งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น

                   – มีการเก็บรวบรวม บันทึกข้อมูลทรัพยากรสามฐานมากกว่าร้อยละ ๘๐ ของข้อมูล

– มีระบบการจัดเก็บและสืบค้นได้มากกว่าร้อยละ ๘๐ ของข้อมูล      

              /กิจกรรมที่ ๖…

-5-

                   กิจกรรมที่ ๖ งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น

                   – สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

-สนับสนุนเรื่องงบประมาณวัสดุ อุปกรณ์

             ๙.๓ ด้านผลการดำเนินงาน ประเมินผลจากรายงานการติดตามประเมินผลแผนดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ)

                                             (ลงชื่อ)          ดารารัตน์ ละว้า                             ผู้เสนอโครงการ

                                                        (นางสาวดารารัตน์  ละว้า)

                                                    รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

                                       (ลงชื่อ) พันจ่าตรี       รุ่งนาวี ภูชุม                    ผู้ตรวจสอบและเห็นชอบ 

                                                              (รุ่งนาวี  ภูชุม)

                                                      ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

                                                (ลงชื่อ)  ชาตรี  ศรีตะวัน       ผู้อนุมัติโครงการ

                                                          (นายชาตรี  ศรีตะวัน)    

                                                  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

แผนที่แปลงปกปัก

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่
แปลงปกปัก