ศูนย์ข้อมูล 2020

แผนพัฒนาท้องถิ่น 4 ปี

ส่วนที่ 1

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

1.ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ตั้งอยู่ในที่ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านตูมน้อยถนนสายบ้านปะคำสำโรง – บ้านกระทุ่มนอก ตำบลตูมใหญ่  อำเภอคูเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีพื้นที่  74  ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 64,000 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ

ทิศเหนือ          จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแคนดง    อำเภอแคนดง  จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศใต้             จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกลันทา  อำเภอเมือง   จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันออก     จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนขวาง  อำเภอบ้านด่าน  จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศตะวันตก      จรดเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหินเหล็กไฟ  อำเภอคูเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

          จังหวัดบุรีรัมย์ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง พื้นที่ลาดจากทิศใต้ลงไปทิศเหนือ พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นน้อยเป็นที่ราบขั้นบันไดช่องเขาเกิดจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปีเศษ ทำให้จังหวัดบุรีรัมย์มีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญคือ 1)พื้นที่สูงและภูเขาทางตอนใต้ 2)พื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด 3)พื้นที่ราบลุ่มตอนเหนือริมฝั่งแม่น้ำมูล

          องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดอยู่ในพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นตอนกลางของจังหวัด มีความสูงประมาณ 150 -200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางพื้นที่ทอดขนานเป็นแนวยาวทางทิศตะวันออกและตะวันตกครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่จังหวัดได้แก่บริเวณ อำเภอประโคนชัย พลับพลาชัย เมืองบุรีรัมย์ กระสัง ลำปลายมาศ คูเมือง บางส่วนของอำเภอนางรอง หนองกี่หนองหงส์ สตึก พุทไธสง โดยบริเวณอำเภอบ้านกรวด นางรอง ลำปลายมาศ จะมีพื้นที่รายลุ่มบริเวณริมฝั่งลำน้ำและลำห้วย ได้แก่ ลำปลายมาศ ลำนางรอง ลำปะเทียบ ลำทะเมนชัยห้วยราช และห้วยตาดุง ส่วนพื้นที่ตอนใต้ของอำเภอพุทไธสง คูเมือง และ เมืองบุรีรัมย์ จะเป็นพื้นที่ภูเขาสูงและพื้นที่ป่าไม้ (ที่มา: www. th.wikipedia.org)

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

          ลักษณะภูมิอากาศขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จัดอยู่ภายในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Savanna Climate : Aw) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตภูมิอากาศแบบสวันนา(Savanna Climate) ซึ่งเป็นลักษณะอากาศที่มีฤดูแล้งสลับฤดูฝนอย่างเด่นชัด จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543) ของจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยทั้งปี วัดได้ 1,188.2 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์สูงที่สุดเฉลี่ย วัดได้ 96 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกันยายน ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำที่สุดเฉลี่ย วัดได้ 40 เปอร์เซ็นต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยรวมแล้วจังหวัดบุรีรัมย์มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี 75 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะอากาศเช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากจังหวัดบุรีรัมย์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จึงสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้

  1. ฤดูฝน (Rain Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม และมีอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุม (International Tropical Convergence Zone : ITCZ or Monsoon Trough) พาดผ่าน ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมฝนจะลดน้อยลงมากบางวันอาจไม่มีฝนตกเลย เรียกระยะนี้ว่า ระยะฝนทิ้งช่วง (Dry Spell) เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของประเทศลาว เวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ สำหรับในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนฝนจะกลับมาตกชุกอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวลงมาพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในฤดูนี้มักมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากทะเลจีนใต้เข้ามามีอิทธิพลต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยปีละ 1-3 ลูก จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543) ของจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ฝนตกชุกมากที่สุดคือเดือนกันยายน วัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ 241.4 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนสิงหาคม วัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ 183.9 มิลลิเมตร ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยทั้งปี วัดได้ 1,188.2 มิลลิเมตร
  2. ฤดูหนาว (Winter Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูนี้ จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมที่พัดออกจากความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน มีลักษณะอากาศเย็นและแห้ง ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจะแผ่ปกคลุมตลอดฤดู อุณหภูมิจะลดต่ำลงทำให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับกำลังและขนาดของมวลอากาศเย็นนั้น จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543) ของจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า อากาศหนาวเย็นที่สุดอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม วัดอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 17.4 องศาเซลเซียส และ 17.3 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่เคยวัดได้ เท่ากับ 7.8 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม ในฤดูนี้มักประสบปัญหาภัยแล้งเนื่องจากมีฝนลดน้อยลงอย่างมาก ส่วนใหญ่ไม่มีฝนตกเลย อนึ่ง ในฤดูนี้อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนตัวมาจากประเทศพม่าผ่านภาคเหนือของประเทศไทยเข้ามามีอิทธิพลต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ ซึ่งอาจทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ แต่ปริมาณฝนจะไม่มากนัก
  3. ฤดูร้อน (Summer Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ลมที่พัดปกคลุมในฤดูนี้ส่วนใหญ่เป็นลมใต้และลมตะวันตก และมักจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน (Heat Low) ปกคลุมตลอดฤดู ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป บางวันมีอากาศร้อนจัด สามารถวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส ขึ้นไป จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2514-2543) ของจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนมากที่สุด อุณหภูมิสูงที่สุดที่เคยวัดได้ 41.8 องศาเซลเซียส ในฤดูนี้จะมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมา จะเกิดการปะทะกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เกิดพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บตกเกิดขึ้นด้วย เราเรียกพายุชนิดนี้ว่า พายุฤดูร้อน (Summer Storm) ฝนที่ตกลงมาในฤดูนี้ยังมีปริมาณน้อยมักไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก (ที่มา: ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง)

1.4 ลักษณะของดิน

          ลักษณะของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีพื้นที่และสภาพภูมิประเทศที่มีความหลากหลายเหมาะแก่การปลูกพืช เนื่องจากชุดดินตูมใหญ่  โดยข้อมูลการกรมพัฒนาที่ดิน มีความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง

การแสดงชนิดของกลุ่มชุดดินและแสดงคำแนะนำในการปลูกพืช

กลุ่มชุดดิน

ลักษณะของดินและแนวทางการจัดการดิน

ชุดดินที่ 17

สามารถปลูกข้าว ในพื้นที่ที่เป็นกรดจัดมาก โดยการหว่านวัสดุปูน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

   การปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต มีการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ควรมีการใช้วัสดุปูน 200-300 กิโลกรัม/ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

ชุดดินที่ 22

 

  ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

   ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

 

กลุ่มชุดดิน

ลักษณะของดินและแนวทางการจัดการดิน

ชุดดินที่ 24

 

   ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสดร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำ หรือใช้ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

   ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 ซม. พร้อมปรับปรุงหลุมปลูกด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี 25-50 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

ชุดดินที่ 36

 

ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

   ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ทำขั้นบันได คันดิน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม วัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

ชุดดินที่ 40

ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

   ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ เช่น ทำขั้นบันได คันดิน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม วัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

กลุ่มชุดดิน

ลักษณะของดินและแนวทางการจัดการดิน

ชุดดินที่ 41

ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดินหรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ในพื้นที่ต่ำควรทำร่องหรือทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณรากพืช

   ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัม/หลุม ทำร่องระบายน้ำระหว่างแถวปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณรากพืช ปลูกพืชคลุมดิน วัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก

 

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

           พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ประสบปัญหาความแห้งแล้งอยู่เป็นประจำทุกปี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ก็ได้พยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อขุดลอกลำห้วยและสระเก็บน้ำทุกปีแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งให้หมดไปได้ ซึ่งคงจะต้องดำเนินการแก้ไขพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบต่อไป ส่วนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย

              ๑. ลำห้วย        จำนวน     ๕    สาย

              ๒. สระน้ำ        จำนวน   ๑๗    แห่ง

              ๓. บ่อบาดาล    จำนวน    ๔๕   บ่อ

 

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีป่าชุมชนหนึ่งแห่ง คือป่าชุมชนบ้านหนองตาด ลักษณะพันธุ์ไม้เป็นไม้เบญจพรรณ สภาพป่าไม้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ปัจจุบันถูกบุกรุกแผ้วถางเพื่อนำไม้มาเผาถ่านและนำพื้นที่ไปทำการเกษตร จึงทำให้พื้นที่ป่าไม้ลดลงทุกปี การคุ้มครองและรักษาพื้นที่ป่าไม้ในอนาคต องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่   มีนโยบายนำพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมมาทำเป็นป่าชุมชน โดยจัดกิจกรรมร่วมกับโครงการ  “ รักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน ”   เพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างเหมาะสมและเกิดความสมดุลต่อไป

 

 

 

  1. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้แบ่งเขตการปกครองเป็น 19 หมู่บ้าน มีจำนวนพื้นที่ 74 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 64,000 ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

หมู่ที่ 1  บ้านหนองบัว                 

หมู่ที่ 2  บ้านสวายสอ                 

หมู่ที่ 3  บ้านหนองกระทุ่ม            

หมู่ที่ 4  บ้านปะคำสำโรง              

หมู่ที่ 5  บ้านตูมน้อย                            

หมู่ที่ 6  บ้านตูมใหญ่                            

หมู่ที่ 7  บ้านทุ่งสว่าง                            

หมู่ที่ 8  บ้านหนองดุม                 

หมู่ที่ 9  บ้านหนองตาด                

หมู่ที่ 10 บ้านโนนเจริญ

หมู่ที่ 11 บ้านปะคำดง

หมู่ที่ 12 บ้านกรูด

หมู่ที่ 13 บ้านหนองไผ่ดง

หมู่ที่ 14 บ้านกระทุ่มนอก

หมู่ที่ 14 บ้านกระทุ่มนอก

หมู่ที่ 15 บ้านโคกสำราญ

หมู่ที่ 16 บ้านเมืองกับ

หมู่ที่ 17 บ้านแคนเจริญ

หมู่ที่ 18 บ้านหนองบัวพัฒนา

หมู่ที่ 19 บ้านใหม่เจริญสุข

แผนที่แสดงอาณาเขตการปกครอง

 

 

2.2 การเลือกตั้ง

การเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน มีจำนวน 19 หมู่บ้าน โดยการเลือกตั้งจะมีการเลือกตั้งตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) จำนวน 1 คน และเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน 19 หมู่บ้าน รวมเป็น 38 คน โดยมีรายละเอียดดังนี้

– ฝ่ายผู้บริหารหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล   ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้จำนวน 2 คน และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอีกจำนวน 1 คน มาช่วยบริหารงาน ซึ่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล  ในปัจจุบันนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ได้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน  2  ท่าน และแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1  ท่าน มาช่วยด้านงานบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

ตำแหน่ง

1.

นายชาตรี ศรีตะวัน

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

2.

นายประเสริฐ ศรีตะวัน

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

3.

นายนวพล ศรีบุญเรือง

รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

4

นายจำรัส นาราษฎร์

เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

– ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาองค์การบริหารส่วนตำบล   ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่ประชาชนเลือกตั้ง  จำนวน 38  คน จากหมู่บ้านละ 2  คน จำนวน  19  หมู่บ้าน   อยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี 

ลำดับ

หมู่ที่

ชื่อตัว – ชื่อสกุล

อายุ

ที่อยู่

ระดับ

1

1

นายบุญเรือง   ทองเรือง

50

 147 หมู่ 1 ต.ตูมใหญ่

มศ.5

2

 

นายพรมมา    ขนันไทย

44

 23/1 หมู่ 1 ต.ตูมใหญ่

 ป.6

3

2

นายศรชัย     ปุริตังสันโต

56

 131 หมู่ 2 ต.ตูมใหญ่

ป.4

4

 

นายสมร       กันนุลา

51

 111 หมู่ 2 ต.ตูมใหญ่

 ป.7

5

3

             ว่าง

 

 

 

6

 

นายสมพาน   เบ็ญจมาศ

40

 125 หมู่ 3 ต.ตูมใหญ่

 ป.6

7

4

นายธรรมปพน  เยรัมย์

36

 21 หมู่ 4 ต.ตูมใหญ่

 ม.3

8

 

นายอนันท์      สว่างไสว

35

 98 หมู่ 4 ต.ตูมใหญ่

 ป.6

9

5

นางบุญหลาย   หนูไธสง

45

 124 หมู่ 5 ต.ตูมใหญ่

 ป.6

10

 

นางสำเนียง     ปะวะภูทะ

50

 114 หมู่ 5 ต.ตูมใหญ่

ม.3

11

6

นายฉลอง      ปะสีละเตสัง

50

 13 หมู่ 6 ต.ตูมใหญ่

 ป.7

12

 

นางสาวหงษ์ทอง  ปรีชานนท์

42

 8/1 หมู่ 6 ต.ตูมใหญ่

ป.6

13

7

นายอนุรักษ์     แป่มจำนัก

48

 129 หมู่ 7 ต.ตูมใหญ่

ม.3

14

 

นางดวงใจ      เกมะหายุง

41

 3 หมู่ 7 ต.ตูมใหญ่

ม.3

15

8

นายสราวุฒิ    เกมะหายุง

41

35 หมู่ 8 ต.ตูมใหญ่

ป.6

16

 

นายสมโพธิ์     ศาลาแดง

49

 22 หมู่ 8 ต.ตูมใหญ่

ป.4

17

9

นายจำรัส     พันธราช

61

 24/1 หมู่ 9 ต.ตูมใหญ่

ป.4

18

 

นายสุทัศน์    ไชยลาด

52

 178 หมู่ 9 ต.ตูมใหญ่

ม.6

19

10

นายสมศักดิ์    ภูทอง

50

 13 หมู่ 10 ต.ตูมใหญ่

ป.4

20

 

นายแสง     ฤทธิสาร

44

 114 หมู่ 10 ต.ตูมใหญ่

ป.6

21

11

นายสำเร็จ  ภูมิกอง

55

 72  หมู่ที่ 11  ตำตูมใหญ่

ม.3

22

 

นายเหรียญชัย   แซมเลา

55

 41 หมู่ 11 ต.ตูมใหญ่

ป.4

23

12

นายวิเชียร   เดือนแร่รัมย์

48

 58 หมู่ 12 ต.ตูมใหญ่

ม.3

24

 

นายสุพจน์   เดชพรมรัมย์

44

 100 หมู่ 12 ต.ตูมใหญ่

ป.6

25

13

นายเกียรติศักดิ์  จำจิตร

42

 34 หมู่ 13 ต.ตูมใหญ่

ป.4

26

 

นายสังคม     จันทร์ทวี

35

 101 หมู่ 13 ต.ตูมใหญ่

ปวช.

27

14

นายเชิดชัย    เบ็ญจมาศ

47

 49 หมู่ 14 ต.ตูมใหญ่

 ป.ตรี

28

 

นายรุ่งฤทธิ์    ดัดตนรัมย์

47

 87 หมู่ 14 ต.ตูมใหญ่

ม.3

29

15

นายประจง    บุพโต

63

 35 หมู่ 25 ต.ตูมใหญ่

ป.4

30

 

นายพรชัย     กั้นกลาง

42

 7 หมู่ 15 ต.ตูมใหญ่

ปวช.

31

16

นายสมใจ      โคตรชัยยา

50

 111/2 หมู่ 16 ต.ตูมใหญ่

ป.4

32

 

            ว่าง

 

 

 

33

17

นางสาวกรรณิกา  ปะโปตินัง

33

 120 หมู่ 17 ต.ตูมใหญ่

ม.6

34

 

นายสมพร     มีพิษ

53

 29 หมู่ 17 ต.ตูมใหญ่

ป.4

35

18

นายประสิทธิ์   แหวนมุกข์

47

 44/1 หมู่ 18 ต.ตูมใหญ่

ป.4

36

 

นายเกลี้ยง    ทองเรือง

63

 3/1 หมู่ 18 ต.ตูมใหญ่

ป.4

37

19

นายบุญมี     ดีรื่นรัมย์

46

 175 หมู่ 19 ต.ตูมใหญ่

ม.6

38

 

นายวิชิต      ดารินรัมย์

47

 185 หมู่ 19 ต.ตูมใหญ่

ป.4

 

  1. ประชากร

3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีจำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ.2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 12,196 คน เป็นชาย 6,122 คน เป็นหญิง 6,074 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 3,166 หลังคาเรือน เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่รวมทั้งหมดคิดเป็น 163 คน/ตารางกิโลเมตร

 

 

 

 

ตารางแสดงจำนวนประชากรตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 – 2559

ปี พ.ศ.

จำนวนครอบครัว

จำนวนประชากร

ความหนาแน่น

ชาย

หญิง

รวม

2548

2,690

5,953

5,974

11,927

161 คน/ตร.กม.

2549

2,443

6,233

6,456

12,689

171 คน/ตร.กม.

2550

2,515

6,320

6,578

12,898

174  คน/ตร.กม.

2551

2,777

5,915

5,926

11,841

160  คน/ตร.กม.

2552

2,832

5,942

5,960

11,902

160  คน/ตร.กม.

2553

2,852

5,934

5,948

11,882

160  คน/ตร.กม.

2554

2,862

5,945

5,951

11,896

160  คน/ตร.กม.

2555

2,867

5,992

5,981

11,973

160  คน/ตร.กม.

2556

2,872

6,057

6,019

12,076

163 คน/ตร.กม.

2557

2,875

6,070

6,017

12,087

163 คน/ตร.กม.

2558

3,104

6,106

6,004

12,110

163 คน/ตร.กม.

2559

3,166

6,109

5,960

12,196

163 คน/ตร.กม.

     

      ที่มา: ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียนอำเภอคูเมือง ตุลาคม 2559

 

 
  

 

 

 

กราฟเส้นที่ 1 แสดงจำนวนประชากรย้อนหลัง 12 ปี ระหว่างปี พ.ศ.2548 -2559
ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

 

 

 

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

จำนวนประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ แบ่งตามช่วงอายุ ที่อาศัยอยู่จริง ณ เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานระดับตำบล ปี 2559

สรุปประชากรที่อาศัยอยู่จริง ณ วันสำรวจ

   มีครัวเรือน ทั้งหมด     2,687 ครัวเรือน

จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง ทั้งหมด     9,123 คน

      เพศชาย    4,539 คน

     เพศหญิง     4,584 คน

 

ช่วงอายุ

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

คน

%

คน

%

คน

%

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม

7

0.15

2

0.04

9

0.10

1 ปีเต็ม-2 ปี

36

0.79

31

0.68

67

0.73

3 ปีเต็ม-5 ปี

118

2.60

95

2.07

213

2.33

6 ปีเต็ม-11 ปี

284

6.26

275

6.00

559

6.13

12 ปีเต็ม-14 ปี

187

4.12

161

3.51

348

3.81

15 ปีเต็ม-17 ปี

207

4.56

180

3.93

387

4.24

18 ปีเต็ม-25 ปี

567

12.49

527

11.50

1,094

11.99

26 ปีเต็ม-49 ปี

1,726

38.03

1,788

39.01

3,514

38.52

50 ปีเต็ม-60 ปี

692

15.25

712

15.53

1,404

15.39

มากกว่า 60 ปีเต็ม ขึ้นไป

715

15.75

813

17.74

1,528

16.75

รวม

4,539

100.00

4,584

100.00

9,123

100.00

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
  

 

 

 

 

   กราฟแท่งที่ 3  แสดงจำนวนประชากรแยกชายหญิง รายหมู่บ้าน ปี 2559

                                               ที่มา : ข้อมูล จากการสำรวจ จปฐ. ประจำปี 2559

4.สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีสถานศึกษาที่ให้การศึกษาและความรู้กับประชาชนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน  10  แห่ง
  2. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา                    จำนวน    1  แห่ง
  3. ศูนย์การเรียนชุมชน          จำนวน    2  แห่ง
  4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                       จำนวน    7  แห่ง

4.2 สาธารณสุข

ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลจำนวน 2 แห่ง คอยให้บริการรักษาพยาบาลและป้องกันโรคต่าง ๆ แต่หากผู้ป่วยที่มีอาการหนัก เกินความสามารถของโรงพยาบาลส่งเสริม ก็จะถูกส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลอำเภอคูเมืองหรือโรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีหน่วยรถกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยให้บริการผู้ป่วยโดยโทรแจ้งเหตุ ได้ที่สายด่วน 1669

4.3 อาชญากรรม

พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เป็นสภาพพื้นที่ที่ไม่เกิดปัญหาอาชญากรรมร้ายแรง ด้วยสภาพสังคม ชุมชน เป็นสังคมแบบเอื้ออารี เป็นสังคมที่มีความใกล้ชิดกัน

 

 

 

4.4 ยาเสพติด

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง คือ หมู่ที่   ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้แก่เยาวชนตำบลตูมใหญ่

4.5 การสังคมสงเคราะห์

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้จ่ายเงินสร้างหลักประกันรายได้ตามระเบียกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าสนับสนุนการสร้างหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 1,620 ราย

   (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ)

  1. ค่าสนับสนุนสวัสดิการทางสังคมให้แก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ จำนวน    450 ราย
  2. เบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์ จำนวน      25 คน

5.ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

การคมนาคมขนส่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ในปัจจุบันนับว่าสะดวกขึ้นมากเพราะได้มีการพัฒนาถนนหนทางภายในเขตตำบล ทำให้การติดต่อระหว่างชุมชนสะดวกขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  มีทางหลวงชนบทตัดผ่าน และส่วนที่เป็นถนนสายหลักภายในตำบลตูมใหญ่ทางหลวงชนบทได้ถ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำตูมใหญ่  เมื่อปี พ.ศ. 2551 ทำให้สามารถบำรุงรักษา ซ่อมแซมถนนโดยใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล  เพื่อให้เกิดความสะดวกในติดต่อกับจังหวัดและอำเภอใกล้เคียงได้สะดวกยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2558  องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ จำนวน 15,660,000 บาท เพื่อก่อสร้าง ปรับปรุง ถนนลาดยางถนนตามภารกิจถ่ายโอน ทำให้เส้นทางคมนาคมในพื้นที่มีความสะดวก ปลอดภัยมากขึ้น

5.2 การไฟฟ้า

ปัจจุบันการดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่     อยู่ในความรับผิดชอบและดำเนินงานโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคูเมือง โดยมีครัวเรือนที่ได้ใช้ไฟฟ้าแล้วประมาณร้อยละ 99 ของครัวเรือนทั้งหมด  แต่ก็ยังมีบางครัวเรือนที่ออกไปตั้งบ้านห่างชุมชนทำให้มีปัญหาเรื่องไม่มีไฟฟ้าใช้ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ก็ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อดำเนินการให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคูเมืองมาทำการขยายเขตไฟฟ้าแรงดันต่ำ เพื่อแก้ไขปัญหาในจุดนี้  แต่ก็ยังไม่ครบทุกครัวเรือน  ซึ่งในส่วนนี้จะได้พิจารณาดูแลแก้ไขต่อไป

 

 

5.3 การประปา

ระบบประปาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาจากระบบประปาหมู่บ้านแล้ว จำนวน 19 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหนองบัว บ้านสวายสอ บ้านหนองกระทุ่ม บ้านปะคำสำโรง บ้านตูมน้อย  บ้านตูมใหญ่  บ้านทุ่งสว่าง  บ้านหนองดุม  บ้านหนองตาด  บ้านโนนเจริญ  บ้านปะคำดง  บ้านกรูด บ้านหนองไผ่ดง  บ้านกระทุ่มนอก  บ้านโคกสำราญ  บ้านเมืองกับ  บ้านแคนเจริญ  บ้านหนองบัวพัฒนาและบ้านใหม่เจริญสุข  ประมาณ  2,674  หลังคาเรือน แต่ก็ยังคงมีปัญหาในส่วนที่คุณภาพของน้ำประปายังคงไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควรซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่จะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการปรับปรุงในเรื่องระบบกรองน้ำให้ประชาชนได้ใช้น้ำประปาที่สะอาดและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตามเนื่องจากบางหมู่บ้านประสบปัญหาการบริหารจัดการกิจการประปาหมู่บ้าน อันเนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณในการบริหารจัดการ องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้เข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยที่ประชุมมีมติ ยกกิจการประปาให้กลับมาอยู่ในการดูแล

 

5.4 โทรศัพท์

ปัจจุบัน ได้มีการขยายเขตพื้นที่การให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐาน และ INTERNET ความเร็วสูงในเขตพื้นที่ ทั้งจาก TOT CAT  และระบบสื่อสารไร้สายจากภาคเอกชน TRUE DTAC AIS  อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ทำการติดตั้ง อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (ลีดส์ไลน์ อินเตอร์เน็ต) เพื่อการบริการผ่านระบบสนเทศภาครัฐ การบริการขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุออนไลน์ การจดทะเบียนพาณิชย์ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  GIS เวปไซต์องค์การบริการส่วนตำบล ศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนร้องทุกข์ และการเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นแนะนำผ่านทาง SOCIAL MEDIA หน่วยงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน การบริการอินเตอร์เน็ตตำบล ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย (WIFI INTERNET)

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ มีที่ทำการไปรษณีย์ย่อยอยู่ที่บ้านโนนเจริญหมู่ที่ 10  รับและฝาก จดหมายและพัสดุ แต่หากต้องการรับบริการโทรเลขต้องเดินทางไปใช้บริการที่ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขอำเภอคูเมือง ตั้งอยู่ ถนนบุรีรัมย์–พุทไธสง ให้บริการไปรษณีย์โทรเลข จำหน่ายไปรษณีย์อากร บริการธนาณัติ  พัสดุและตั๋วแลกเงินไปรษณีย์แก่ประชาชนทั่วไป

  1. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและรับจ้าง พื้นที่ส่วนใหญ่จึงเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่อ้อย และเริ่มมีพื้นที่ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นทุกปี มีการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ เช่นการเลี้ยงโค กระบือ การเลี้ยงเป็ดไก่ โดยการทำเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 85 ของประชากรทั้งหมดและมีอาชีพรับจ้างประมาณร้อยละ 10 ที่เหลือเป็นอาชีพอื่น ๆ และว่างงานประมาณร้อยละ 5

6.2 การปศุสัตว์

การปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงโค กระบือและสุกร ส่วนการเลี้ยงเป็ด ไก่ ส่วนมากจะเลี้ยงไว้บริโภคภายในครอบครัว

6.3 การบริการ

สถานประกอบการด้านบริการ

  1. สถานที่จำหน่ายอาหาร จำนวน      3    แห่ง
  2. ร้านเสริมสวย ตกแต่งผม จำนวน 4     แห่ง
  3. 3. ร้านอินเตอร์เน็ต จำนวน      5     แห่ง

6.4 การอุตสาหกรรม

การประกอบการอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือเกิดจากการรวมกลุ่มของประชาชนผลิตสินค้าพื้นเมือง ซึ่งสามารถแยกประเภทได้ดังนี้

  1. โรงสีข้าว            จำนวน   38    แห่ง
  2. โรงทำขนมจีน              จำนวน     4    แห่ง
  3. โรงทำเตาคอนกรีต                 จำนวน     1    แห่ง
  4. โรงผลิตเสาปูนซีเมนต์               จำนวน     1    แห่ง

6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

  1. 1. สถานีบริการน้ำมัน จำนวน      3    แห่ง
  2. 2. ร้านค้าทั่วไป                               จำนวน    85    แห่ง
  3. 3. โรงเลี้ยงไก่ เป็ด จำนวน      1    แห่ง
  4. 4. ปั๊มหลอด           จำนวน     10   แห่ง
  5. ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์และรถยนต์ จำนวน      7    แห่ง
  6. 6. โรงรีดยาง จำนวน    47    แห่ง
  7. ร้านซ่อมรถ จำนวน     4     แห่ง
  8. ร้านรับเชื่อมเหล็ก จำนวน     1     แห่ง
  9. ตลาดเอกชนประเภท ๒ (ตลาดนัดคลองถม) จำนวน     1     แห่ง

10.ร้านขายวัสดุก่อสร้าง                          จำนวน    2     แห่ง

 

 

6.6 แรงงาน

จำนวนประชากรแยกตามประเภทอาชีพ ปี 2559 ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ระดับตำบล พ.ศ. 2559 ณ เดือน พฤษภาคม 2559

ประเภทอาชีพ

เพศ

รวม

%

ชาย

%

หญิง

%

ทำนา

2,016

44.42

2,098

45.77

4,114

45.09

ทำไร่

59

1.30

45

0.98

104

1.14

ทำสวน

71

1.56

69

1.51

140

1.53

ประมง

ปศุสัตว์

1

0.02

1

0.01

รับราชการเจ้าหน้าที่ของรัฐ

114

2.51

131

2.86

245

2.69

พนักงานรัฐวิสาหกิจ

13

0.29

8

0.17

21

0.23

พนักงานบริษัท

19

0.42

19

0.41

38

0.42

รับจ้างทั่วไป

1,145

25.23

1,019

22.23

2,164

23.72

ค้าขาย

119

2.62

140

3.05

259

2.84

ธุรกิจส่วนตัว

42

0.93

46

1.00

88

0.96

อาชีพ (นอกเหนือที่กล่าวแล้ว)

68

1.50

128

2.79

196

2.15

กำลังศึกษา

824

18.15

837

18.26

1,661

18.21

ไม่มีอาชีพ

49

1.08

43

0.94

92

1.01

รวม

4,539

100.00

4,584

100.00

9,123

100.00

 

 

 

กราฟแท่งที่ 4  แสดงจำนวนอาชีพต่อจำนวนประชากรในเขต อบต.ตูมใหญ่

                                               ที่มา : ข้อมูล จากการสำรวจ จปฐ. ประจำปี 2559

  1. เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

ตารางแสดงจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือนแยกตามหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2559

 

บ้านหนองบัว

1

293

308

601

151

บ้านสวายสอ

2

244

239

483

141

บ้านหนองกระทุ่ม

3

304

321

625

147

บ้านปะคำสำโรง

4

400

385

785

178

บ้านตูมน้อย

5

386

385

771

199

บ้านตูมใหญ่

6

330

373

703

231

บ้านทุ่งสว่าง

7

445

435

880

212

บ้านหนองดุม

8

535

541

1,076

305

บ้านหนองตาด

9

333

297

630

202

บ้านโนนเจริญ

10

386

358

744

184

บ้านปะคำดง

11

429

427

856

211

บ้านกรูด

12

222

233

455

119

บ้านหนองไผ่ดง

13

249

236

485

146

บ้านกระทุ่มนอก

14

321

304

625

141

บ้านโคกสำราญ

15

239

205

444

136

บ้านเมืองกับ

16

131

121

252

49

บ้านแคนเจริญ

17

303

305

608

153

บ้านหนองบัวพัฒนา

18

271

273

544

126

บ้านใหม่เจริญสุข

19

301

328

629

135

รวม

 

6,122

6,074

12,196

3,166

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กราฟแท่งที่ 2 แสดงจำนวนประชากรแยกชายหญิง รายหมู่บ้าน ปี 2559

 

7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

ข้อมูลด้านการเกษตรของตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จากระบบจัดเก็บและนำเสนอข้อมูล ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดยมีพื้นที่ในการทำการเกษตรทั้งหมด 37,950 ไร่  แบ่งพื้นที่ทำการเกษตร 37,950 ไร่ ดังนี้         

  1. พื้นที่นา 24,422 ไร่
  2. พื้นที่ไร่ 3,135 ไร่
  3. พื้นที่สวน 9,719 ไร่
  4. พื้นที่เลี้ยงสัตว์ 674 ไร่

7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ประสบปัญหาความแห้งแล้งอยู่เป็นประจำทุกปี ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ก็ได้พยายามจัดสรรงบประมาณเพื่อขุดลอกลำห้วยและสระเก็บน้ำทุกปีแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งให้หมดไปได้ ซึ่งคงจะต้องดำเนินการแก้ไขพัฒนาแหล่งน้ำทั้งระบบต่อไป ส่วนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันประกอบด้วย

  1. ลำห้วย        จำนวน     5    สาย
  2. 2. สระน้ำ        จำนวน   17    แห่ง
  3. 3. บ่อบาดาล        จำนวน   45   บ่อ

 

7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

ในพื้นที่ตำบลตูมใหญ่ มีพื้นที่กักเก็บน้ำผิวดินสำหรับการผลิตประปาหมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่รวม 215.951 ไร่ มีพื้นที่เก็บกักน้ำและปริมาณน้ำ รวมประมาณ 983,740 ลูกบาศก์เมตร (ที่ระดับความลึก เฉลี่ย ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2-3 เมตร ตามปริมาณน้ำไหลเข้าสระ) เมื่อลบด้วยอัตราการระเหยและซึมลงสู้ใต้ดิน ที่อัตราเฉลี่ยประมาณ  1 เมตรใน 1 ปี จะมีปริมาณน้ำเหลือในสระ เก็บกับน้ำ ประมาณ   709,018  ลูกบาศก์เมตร ในขณะที่หมู่บ้านให้น้ำประปา เฉลี่ยประมาณวันละ 60-80 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน เมื่อครบ 12 เดือนจะมีปริมาณน้ำเหลือเก็บกัก   334,618 ลูกบาศก์เมตร โดยเมื่อลบด้วยประมาณน้ำที่ไม่สามารถนำมาผลิตประปาได้เนื่องจากน้ำมีความขุ่นข้นแต่มีขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณ 154400 ลูกบาศก์เมตร  จะมีน้ำที่เหลือไว้ใช้จริงในพื้นที่ตำเพียงประมาณ   180,218 ลูกบาศก์เมตร ภาพรวมทั้งตำบลจึงมีความเสี่ยงสูงที่จะประสบปัญหาภัยแล้ง และคาดการณ์ได้ว่า หมู่บ้านที่อาจประสบปัญหาภัยแล้วรุนแรงในปี 2559 มี 3 หมู่บ้านคือ

  1. หมู่บ้านที่ปีปริมาณน้ำติดลบและมีความเสี่ยงสูง
  2. บ้านกรูดหมู่ 12
  3. บ้านหนองบัวหมู่ที่ 1
  4. บ้านหนองบัวพัฒนา
  5. รองลงมาคือหมู่บ้านที่มีน้ำเหลือเก็บกัก 5,000 ลูกบาศก์เมตร มีความเสี่ยง
  6. บ้านสวายสอ หมู่ที่ 2
  7. บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5
  8. บ้านหนองตาดหมู่ที่ 9
  9. บ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
  10. และบ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17

 

แผนภูมิแท่งแสดงปริมาณทั้งปี น้ำละเหย น้ำผลิตประปา และน้ำคงเหลือเมื่อสิ้นปี

 

 

 

 

  1. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

8.1 การนับถือศาสนา

ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 99.50๐ ของประชากรทั้งหมด นอกนั้นนับถือศาสนาคริสต์และอื่น ๆ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่มีวัดและสำนักสงฆ์ทั้งสิ้น 18  แห่ง

8.2 ประเพณีและงานประจำปี

              ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ที่มีการส่งเสริมและจัดงานเป็นประจำทุกปี เช่น ประเพณีทำบุญบั้งไฟ ประเพณีทอดกฐิน  ประเพณีเข้าพรรษา ประเพณีออกพรรษา และประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมในปี พ.ศ. 2548 เป็นปีแรก

8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น คือ ทอผ้าไหม ผ้าไหมตีนแดง

ภาษาถิ่นที่ใช้มี ภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วย

8.4 สินค้าพื้นมือและของที่ระลึก

ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ เสื่อกก ข้าวหอมมะลิ

  1. ทรัพยากรธรรมชาติ

9.1 น้ำ

บ้าน

ขนาดสระ/หนองน้ำ/ไร่

คิดเป็นลูกบาศก์เมตรที่ความลึกเฉลี่ย 2หรือ3 เมตร ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2558

คิดปริมาณน้ำละเหย+ซึมที่ 1 เมตร ช่วงเดือนธันวา-เมษา

เงื่อนไขถ้าหมู่บ้านใช้น้ำวันละ 60-80    ลูกบาศก์เมตร

ความเสี่ยง

ปริมาณน้ำเหลือเมื่อครบ 12 เดือน

หนองบัว

6.2287

         19,932

           9,966

      21,600

–        11,634

สวายสอ

19.5625

         62,600

          31,300

      28,800

          2,500

หนองกระทุ่ม

8.875

         42,600

          28,400

      21,600

          6,800

ประคำสำโรง

9.5625

         45,900

          30,600

      21,600

          9,000

ตูมน้อย

5.4875

         26,340

          17,560

      21,600

–         4,040

ตูมใหญ่

26.125

       125,400

          83,600

      21,600

ยังไม่ได้นำมาใช้ ขุ่น

ทุ่งสว่าง

12.1875

         58,500

          39,000

      21,600

         17,400

ทุ่งสว่าง

35.625

       171,000

        114,000

      21,600

ยังไม่ได้นำมาใช้ ขุ่น

หนองดุม

12.3125

         59,100

          39,400

      21,600

         17,800

หนองตาด

7.33

         35,184

          23,456

      21,600

          1,856

โนนเจริญ

10.5625

         50,700

          33,800

      21,600

         12,200

ปะคำดง

7.4375

         35,700

          23,800

      21,600

          2,200

กรูด

2.1875

         10,500

           7,000

      21,600

–        14,600

หนองไผ่ดง

8.83

         42,384

          28,256

      21,600

          6,656

กระทุ่มนอก

25.125

       120,600

          80,400

      21,600

         58,800

โศกสำราญ

แหล่งน้ำเดียวกับ หมู่ที่ 2

แคนเจริญ

3.7625

         30,100

          24,080

      21,600

          2,480

หนองบัวพัฒนา

14.75

             23,600

    11,800

         21,600

–     9,800.00

ใหม่เจริญสุข

แหล่งน้ำเดียวกับ หมู่ที่ 4

รวม

215.951

   983,740

    709,018

 396,000

   334,618

 

9.2 ป่าไม้

ตำบลตูมใหญ่มีพื้นที่ป่าในตำบลตูมใหญ่ ที่ได้ประกาศเป็นป่าชุมชน คือ ป่าชุมชนบ้านหนองตาด และยังมีพื้นที่ป่าที่องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ได้ดำเนินโครงการ รักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน ในพื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์บ้านตูมน้อย ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ตำบลตูมใหญ่

9.3 ภูเขา

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ เป็นพื้นที่ราบสูงแต่ไม่ได้ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่เป็นภูเขา

9.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ในเขตพื้นที่ของตำบลตูมใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือป่าชุมชน ซึ่งมีชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญ อาธิ ไม้พยุง  ทรัพยากรน้ำมีปัญหาในด้านน้ำหลากในฤดูฝน และคุณภาพน้ำขุ่น

 

 

ส่วนที่ 2

สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นตามแผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2557-2560)

  1. สรุปผลการดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับ และการเบิกจ่ายงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560

1.1 สรุปสถานการณ์การพัฒนา การตั้งงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ

ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ประกาศใช้ข้อบัญญัติงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2557  เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2556 โดยมีโครงการที่บรรจุอยู่ในข้อบัญญัติงบประมาณ จำนวน 72 โครงการ งบประมาณ 26,640,400 บาทสามารถจำแนกตามยุทธศาสตร์ ได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์

โครงการ

งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติ

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

3

150,000.00

การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

29

11,356,700.00

ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

21

12,486,200.00

การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

6

420,000.00

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5

530,000.00

การบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

8

1,697,500.00

รวม

72

26,640,400.00

 

 

แผนภูมิแสดงสัดส่วนการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี แยกตามยุทธศาสตร์

ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ประกาศใช้ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2558  เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2557 โดยมีโครงการที่บรรจุอยู่ในข้อบัญญัติงบประมาณ จำนวน 93 โครงการ งบประมาณ 52,909,500 บาท สามารถจำแนกตามยุทธศาสตร์ ได้ดังนี้

ยุทธศาสตร์

โครงการ

งบประมาณ
ตามข้อบัญญัติ

ด้านบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

10

1,405,000.00

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

6

822,500.00

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

43

23,863,300.00

การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

25

24,981,500.00

การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1

90,000.00

การพัฒนาด้านความการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

8

1,747,200.00

รวม

93

52,909,500.00

 

 

 

แผนภูมิแสดงสัดส่วนการจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี แยกตามยุทธศาสตร์

 

 

 

1.2 การประเมินผลการนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ปี 2557 องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

ยุทธศาสตร์

แผนการดำเนินการ
ทั้งหมด

อนุมัติงบประมาณ

ลงนามสัญญา

เบิกจ่าย

100%

จำนวน
โครง

การ

งบ ประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบ ประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบ ประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบ      ประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบ ประมาณ

1.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

22.0

8.20

3.0

0.15

1.0

0.01

1.0

0.01

1.0

0.01

2.การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

37.0

20.95

29.0

11.36

29.0

7.76

29.0

7.76

29.0

7.76

3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต

28.0

11.88

21.0

12.49

17.0

11.76

17.0

11.76

17.0

11.76

4.การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

13.0

4.06

6.0

0.42

5.0

0.18

5.0

0.18

5.0

0.18

5.ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.0

0.48

5.0

0.53

5.0

0.36

5.0

0.36

5.0

0.36

6.การบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

14.0

2.38

8.0

1.70

8.0

0.34

8.0

0.34

8.0

0.34

 

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2557

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการโครงการตามข้อบัญญัติงบประมาณ ปี 2557 ในเขตพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ตลอดจนโครงการต่างๆ ประสบผลสำเร็จด้วยดี ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  1. โครงการตูมใหญ่ข้าวหอมและบรรจุภัณฑ์
  2. โครงการซ่อมสร้างถนนลาดยาง ผิวทาง Asphaltic Concretc โดยวิธี Inplace Recycing
  3. โครงการซ่อมสร้างถนนลาดยาง ผิวทาง Asphaltic Concretc โดยวิธี Overlay
  4. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 1
  5. โครงการก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 3
  6. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 3
  7. โครงการก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 6
                8. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 7
  8. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 9
  9. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 6
  10. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 11
  11. โครงการซ่อมแซมถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 12
  12. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 13
  13. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 15
  14. โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนดินลงหินคลุก หมู่ที่ 4
  15. โครงการก่อสร้างถนน คสล. หมู่ที่ 17
  16. โครงการปรับปรุงถนนลงหินคลุก หมู่ที่18
  17. โครงการซ่อมถนนลงหินคลุก หมู่ที่ 19
  18. โครงการปรับปรุงถนนดินลงหินคลุกภายในตำบลตูมใหญ่
  19. โครงการปรับปรุงถนนดิน หมู่ที่ 16
  20. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนลาดยางในพื้นที่ตำบล
  21. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนน คสล.ในพื้นที่ตำบล
  22. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนดินในพื้นที่ตำบล
  23. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำในหมู่บ้าน หมู่ที่ 2
  24. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำในหมู่บ้าน หมู่ที่ 9
  25. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำในหมู่บ้าน หมู่ที่ 12
  26. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำในหมู่บ้าน หมู่ที่ 14
  27. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำในหมู่บ้าน หมู่ที่ 6
  28. โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน
  29. โครงการขุดเจาะบ่อน้ำดาลทุกหมู่บ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 1-19
  30. โครงการสนับสนุนอาหารเสริมนมให้แก่โรงเรียนในเขตตำบล
  31. โครงการสนับสนุนอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนในเขตตำบล
  32. โครงการหน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุขสร้างรอยยิ้มให้ประชาชนชาวตำบลตูมใหญ่
  33. โครงการอนุรักษ์ประเพณี 12 เดือนตำบลตูมใหญ่
  34. โครงการกีฬาประชาชนตำบลตูมใหญ่
  35. โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  36. โครงการเบี้ยยังชีพผู้พิการ
  37. โครงการเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
  38. โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสทางสังคม
  39. โครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.
  40. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์สาธารณสุขชุมชน
  41. โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  42. โครงการแข่งขันกีฬา”เยาวชนตำบลตูมใหญ่ ห่างไกลยาเสพย์ติด”
  43. โครงการเดินทางไกลเข้าค่ายพักแรมของเด็กและเยาวชนในตำบล
  44. โครงการวันเด็กแห่งชาติ
  45. โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในพื้นที่ตำบล หมู่ที่ 1-19
  46. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการบริหารสถานศึกษา
  47. โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ตำบล หมู่ที่ 1-19
  48. โครงการป่าชุมชนตำบลตูมใหญ่ ในพื้นที่ตำบล หมู่ที่ 1-19
  49. โครงการถมที่สาธารณะในเขตตำบล
  50. โครงการจ้างเหมาก่อสร้างถนนดินล้อมที่สาธารณะ หมู่ที่ 4
  51. โครงการปรับปรุงบริเวณศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  52. โครงการอบรมเยาวชนตูมใหญ่ห่างไกลยาเสพย์ติด
  53. โครงการต่อเติมโรงจอดรถศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและที่ทำการ อบต.
  54. โครงการจัดซื้ออุปกรณ์ดับเพลิง
  55. โครงการจุดบริการประชาชนช่วงเทศกาล
  56. โครงการฝึกอบรมซ้อมแผนป้องกันภัย
  57. โครงการประชุม/อบรม/จัดเวทีประชาคม
  58. โครงการฝึกอบรมบุคลากร
  59. โครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาและพนักงาน
  60. โครงการอินเตอร์เน็ตตำบล
  61. โครงการจัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน
  62. โครงการประชุมประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล
  63. โครงการรณรงค์การใช้สิทธิเลือกตั้งทุกระดับ
  64. สนับสนุนหน่วยงานของรัฐ จังหวัด/อำเภอ/รัฐวิสาหกิจ/องค์กรภาคประชาชน การเสริมสร้างพลานามัย การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพย์ติด และส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน การบำบัดทุกข์บำรุงสุข และอื่นๆตามอำนาจหน้าที่

 

 

รายงานสรุปผลการดำเนินงาน ปี 2558 องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์

ยุทธศาสตร์

แผนการดำเนินการ
ทั้งหมด

อนุมัติงบประมาณ

ลงนามสัญญา

เบิกจ่าย

100%

จำนวน
โครงการ

งบประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบประมาณ

จำนวน
โครงการ

งบประมาณ

1.ด้านบริหารจัดการตามหลักธรรมภิบาลและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

21.0

9.49

10.0

1.40

7.0

0.37

7.0

0.37

7.0

0.37

2.การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

18.0

3.21

6.0

0.82

3.0

0.68

3.0

0.68

3.0

0.68

3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

69.0

24.14

43.0

23.86

43.0

22.09

39.0

21.43

37.0

17.74

4.การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

33.0

22.60

25.0

24.98

17.0

23.97

17.0

23.97

17.0

23.97

5.การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

9.0

0.78

1.0

0.09

0.0

0.00

0.0

0.00

0.0

0.00

6.การพัฒนาด้านความการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย

16.0

3.16

8.0

1.75

8.0

1.12

8.0

1.12

8.0

1.12

ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2558

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการโครงการตามข้อบัญญัติงบประมาณ ปี 2558 ในเขตพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนจากภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่ตลอดจนโครงการต่างๆ ประสบผลสำเร็จด้วยดี ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

1.โครงการขยายเขตไฟฟ้า หมู่ที่ 1-19
2. โครงการฝึกอบรมบุคคลากร
3. โครงการอินเตอร์เน็ตตำบล
4. โครงการจัดหาครุภัณฑ์สำนักงาน
5. โครงการประชุมประชาคมหมู่บ้าน ประชาคมตำบล
6. โครงการปรับปรุงศูนย์ข้อมูลข่าวรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์
7. โครงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

  1. สนับสนุนหน่วยงานของรัฐ จังหวัด/อำเภอ/รัฐวิสาหกิจ/องค์กรภาคประชาชน การเสริมสร้างพลานามัย การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และส่งเสริมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชน การบำบัดทุกข์บำรุงสุข และอื่นๆตามอำนาจหน้าที่
  2. โครงการซ่อมแซมฝายเก็บกักน้ำบ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17
    10. โครงการขุดลอกลำห้วยบ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
    11. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองบัวหมู่ที่ 1
    12. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองกระทุ่ม หมู่ที่ 3
    13. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ปะคำสำโรง หมู่ที่ 4
    14. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านทุ่งสว่าง หมู่ที่ 7
    15. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบ้านหนองตาด หมู่ที่ 9 (นางพุฒ-คลองส่งน้ำ)
    16. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านปะคำดง หมู่ที่ 11
    17. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านกรูด หมู่ที่ 12
    18. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองไผ่ดง หมู่ที่ 13
    19. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านหนองกระทุ่มนอก หมู่ที่ 14
    20. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านเมืองกับ หมู่ที่ 16
  3. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19 (หน้าศาลาประชาคม)
  4. โครงการถนนหินคลุกสายนอก บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8
    23. โครงการก่อสร้างถนนลาดยาง บ้านตูมใหญ่ หมู่ที่ 6
    24. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนดินในพื้นที่ตำบล
    25. โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำ บ้านหนองบัวพัฒนา หมู่ที่ 18
    26. โครงการไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะทุกหมู่บ้านในเขต หมู่ที่ 1-19
    27. โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านตูมใหญ่ หมู่ที่ 6
    28. โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านบ้านทุ่งสว่าง หมู่ที่ 7
    29. โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านหนองตาด หมู่ที่ 9
    30. โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านกรูด หมู่ที่ 12
    31. โครงการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลทุกหมู่บ้านในพื้นที่ หมู่ที่ 1-19
    32. โครงการวางท่อระบายน้ำเข้าสระน้ำเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคในเขต
    33. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านตูมน้อย หมู่ที่ 5
    34. โครงการเสริมผิว Asphaltic Concrete แยกทล.219 – บ้านหนองตาด
    35. โครงการเสริมผิว Asphaltic Concrete สายบ้านโนนเจริญ – บ้านทุ่งสว่าง (2 ช่วง)
  5. โครงการซ่อมสร้างเสริมผิว Asphaltic Concrete สายบ้านหนองบัว-บ้านตูมใหญ่ กว้าง 6 เมตร ยาว 230 เมตร หนา 0.04 เมตร ไหล่ทางข้างละ 0.5 เมตร
  6. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในหมู่บ้าน บ้านหนองดุม หมู่ที่ 8 กว้าง 5 เมตร ยาว 507 เมตร หนา 0.15 เมตร ไหล่ทางข้างละ 0.50 เมตร
    38. โครงการรื้อถอนเคลื่อนย้ายประปาชำรุดในเขต
    39. โครงการปรับปรุงถนนดินลงหินคลุก บ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17
  7. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านแคนเจริญ หมู่ที่ 17 นางปิ-นางวรรณภา,

นายนที-นางสาชิยา

  1. โครงการปรับปรุงถนนดินลงหินคลุก บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 15
    42. โครงการก่อสร้างถนนดิน บ้านหนองบัว หมู่ที่ 1
    43. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก บ้านตูมใหญ่ หมู่ที่ 6
    44. โครงการปรับปรุงถนนดินลงหินคลุก บ้านหนองไผ่ดง หมู่ที่ 13
    45. โครงการปรับปรุงถนนดินลงหินคลุก บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 19
    46. โครงการซ่อมสร้างเสริมผิว Asphaltic Concerte สายบ้านสวายสอ-บ้านโกรกขี้หนู
  2. โครงการซ่อมสร้างผิวทางแอสฟัสติกคอนกรีต สาย บร.2039 สามแยกนาฝาย-บ้านตูมใหญ่ บ้านสวายสอหมู่ที่ 2 – หน้าโรงเรียนตูมใหญ่วิทยา
  3. โครงการสนับสนุนอาหารเสริมนมให้แก่โรงเรียนในเขตตำบล
    49. โครงการสนับสนุนอาหารกลางวันให้แก่โรงเรียนในเขตตำบล
    50. โครงการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระดับตำบล
    51. โครงการอนุรักษ์ประเพณี 12 เดือนตำบลตูมใหญ่
    52. โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรม
    53. โครงการกีฬาประชาชนตำบลตูมใหญ่
    54. โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
    55. โครงการเบี้ยยังชีพผู้พิการ
    56. โครงการเบี้ยยังชีพผู้ป่วยเอดส์
    57. โครงการวันผู้สูงอายุตำบลตูมใหญ่
    58. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์สาธารณสุขชุมชน
    59. โครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
    60. โครงการแข่งขันกีฬา”เยาวชนตำบลตูมใหญ่ ห่างไกลยาเสพติด”
    61. โครงการคนไทยใจอาสา
    62. โครงการ อย.น้อย
    63. โครงการวันเด็กแห่งชาติ
    64. โครงการฝึกอบรมเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน
    65. โครงการก่อสร้างสนามกีฬาต้านยาเสพติดระดับตำบล
    66. โครงการอบรมเยาวชนตูมใหญ่ห่างไกลยาเสพติด
    67. โครงการค่ายบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด
    68. โครงการฝึกอบรมสร้างอาชีพหลังการบำบัดพื้นฟู
    69. โครงการจัดซื้ออุปกรณ์ตัดถ่างและอุปกรณ์กู้ชีพ
    70. โครงการตั้งจุดบริการประชาชนชั่วเทศกาล
    71. โครงการฝึกอบรมซ้อมแผนป้องกันภัย
    72. โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านกฎจราจร

 

 

  1. ผลที่ได้รับจากการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2560

2.1 ผลที่ได้รับหรือผลที่สำคัญ

ยุทธศาสตร์

จำนวนโครงการที่ปรากฏอยู่ในแผน

จำนวนโครงการ    ที่ได้ปฏิบัติ

1.ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรการค้าและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สมดุล

22

3

2. การพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีคุณธรรมนำความรู้และเกิดความผาสุก

37

29

3. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

28

21

4. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

13

6

5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

5

5

6.ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

14

8

รวม

119

72

 

2.2 ผลกระทบ

ความพึงพอใจ

พอใจมาก

พอใจ

ไม่พอใจ

1.  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในโครงการ / กิจกรรม

37.98

59.49

2.53

2.  มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลของโครงการ / กิจกรรม

36.71

59.49

3.80

3.  มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในโครงการ / กิจกรรม

32.91

63.29

3.80

4.  มีการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ / กิจกรรมต่อสาธารณะ

32.91

63.29

3.80

5.  การเปิดโอกาสให้ประชาชนตรวจสอบการดำเนินโครงการ / กิจกรรม

27.85

63.29

8.86

6.  การดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด

35.44

60.76

3.80

7.  ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของประชาชนในท้องถิ่น

27.85

62.02

10.13

8.  การแก้ไขปัญหา และการตอบสนองความต้องการของประชาชน

25.32

69.62

5.06

9.  ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินโครงการ / กิจกรรม

31.65

65.82

2.53

ภาพรวม

32.07

63.01

4.92

 

องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ได้ปฏิบัติทุกขั้นตอนตามประเด็นการประเมินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558  องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา  จำนวน  6  ยุทธศาสตร์  มีโครงการ/กิจกรรม จำนวน  166  โครงการ  เงินงบประมาณ 63,386,000.00 บาท และได้นำมาจัดทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จำนวน 93 โครงการคิดเป็นร้อยละ 56.02 ของจำนวนโครงการทั้งสิ้น

           องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ ได้ดำเนินการโครงการ/กิจกรรมต่างๆ  แล้วเสร็จ จำนวน 78 โครงการ คิดเป็นร้อยละ  46.98   โครงการ/กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 88 โครงการ คิดเป็นร้อยละ  53.01  โครงการ/กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการร้อยละ 0  และโครงการ/กิจกรรมที่มีการยกเลิกร้อยละ  0  จากการติดตามปรากฏว่ายุทธศาสตร์ที่  4  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต มีสัดส่วนการดำเนินการแล้วสำเร็จมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ  75.76  ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีสัดส่วนการดำเนินการแล้วเสร็จรองลงมา  คิดเป็นร้อยละ 62.32 แต่ยุทธศาสตร์ที่ 1  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสัดส่วนการดำเนินการแล้วเสร็จน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยล่ะ 11.11  (รายละเอียดดังแผนภาพที่ 1)      

          แผนภาพที่ 1  ร้อยละของผลการดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์

 

           องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  มีการก่อหนี้ผูกพัน/ลงนามในสัญญา  จำนวน 78 โครงการ  มีการเบิกจ่ายงบประมาณไปทั้งสิ้น จำนวน 74 โครงการ  คิดเป็นร้อยละ  94.87  ของโครงการที่ก่อหนี้ผูกพันทั้งหมด  (รายละเอียดดังแผนภาพที่ 2)

          แผนภาพที่ 2  ร้อยละของการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2558

           จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  จำนวน  19  หมู่บ้าน  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างตามแบบสอบถาม ที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด  จำนวน  79  ชุด  โดยส่งแบบสอบถามไปยังประชาชนในตำบลตูมใหญ่  ซึ่งแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 7 แบบ  ดังนี้

  • แบบที่ 3/2  แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม

ตามยุทธศาสตร์การดำเนินการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่

  • แบบที่ 3/3  แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
  • แบบที่ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม   ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
  • แบบที่ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • แบบที่ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อยชุมชนร่มเย็นปลอดภัยห่างไกลยาเสพติด
  • แบบที่ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม  ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สาธารณะป้องกันแนวป่ารักต้นไม้เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  • แบบที่ 3/3 แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของ อปท.ในภาพรวม  ตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

           จากผลการประเมินโดยรวม  ประชาชนมีความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานในระดับปานกลาง  โดยประชาชนมีความพึงพอใจมากคิดเป็นร้อยละ  32.07  และมีความพึงพอใจร้อยละ  63.01  ไม่พึงพอใจร้อยละ 4.92 (รายละเอียดดังแผนภาพที่ 3)

          แผนภาพที่ 3  ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ในภาพรวม

  

                                                                                              

  1. สรุปปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการแก้ไข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2560
  2. การดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน

           ปัญหา

           จากการพิจารณาการดำเนินงานตามแผนดำเนินงาน  พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  มีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันมาก  เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดูแลที่สาธารณะป้องกันแนวป่ารักษาต้นไม้เพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกัน  มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาน้อยที่สุด

           ข้อเสนอแนะ

           องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ควรจัดสรรงบประมาณโดยให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ทุกด้าน  และให้มีความแตกต่างกัน

  1. การปฏิบัติงาน

           ปัญหา

           จำนวนโครงการที่ไม่ได้ดำเนินการ  มีมากถึงร้อยละ  53.01 ซึ่งส่งผลกระทบต่อร้อยละของโครงการที่ได้ปฏิบัติ  ปัญหานี้อาจเกิดจากการจัดทำแผนพัฒนาที่ไม่ชัดเจนตรงตามความต้องการของหมู่บ้านอย่างแท้จริง ด้วยประชาชนอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่เห็นความสำคัญของการจัดทำแผน

           ข้อเสนอแนะ

  1. ควรมีการคัดกรอง คัดเลือกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม  ที่จะนำเข้าบรรจุในแผนพัฒนาให้ชัดเจน  หากโครงการที่มีความเป็นไปได้น้อยในการดำเนินการก็ควรตัดทอน  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด
  2. ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนให้ประชาชนทราบมากขึ้น
  3. การประเมินความพึงพอใจของประชาชน

           ปัญหา

           ประชาชนไม่ให้ความสำคัญในการให้ข้อมูล

           ข้อเสนอแนะ

           องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่  ควรมีการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของตนเองให้ประชาชนทราบมากกว่าที่ดำเนินการอยู่  และสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ประชาชนและผู้นำชุมชนทราบ  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการองค์กร

 

 

 

 

 

 

ส่วนที่ 3

ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

  1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหาภาค

1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)

  1. ความเปนมา

คณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 เห็นชอบใหมีการจัดตั้งคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติ มีอํานาจหนาที่ในการจัดทํารางยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปเพื่อใชในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสูความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนและใหเสนอรางยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปใหคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหความเห็นชอบเพื่อใชเปนกรอบในการดําเนินงานในระยะที่ 2 ของรัฐบาล (ป 2558-2559) และกรอบการปฏิรูปในระยะที่ 3 (ป 2560 เปนตนไป) คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติไดแตงตั้งคณะอนุกรรมการ       2 คณะ ไดแก (1) คณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตรและกรอบการปฏิรูป เพื่อจัดทํารางกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปและ (2) คณะอนุกรรมการจัดทําแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ เพื่อจัดทํารางแผนปฏิบัติการตามแนวทางการปฏิรูปประเทศ (Roadmap) ภายใตยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปคณะอนุกรรมการจัดทํายุทธศาสตรและกรอบการปฏิรูป ไดดําเนินการยกรางกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ปตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกําหนด โดยไดมีการนําความคิดเห็นและขอเสนอแนะจากกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติที่มาจากหลายภาคสวน ไดแก ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคการเมือง และ นักวิชาการรวมถึงไดพิจารณานําขอคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแหงชาติ และความคิดเห็นจากภาคประชาชนมาเปนขอมูลในการยก   รางยุทธศาสตรชาติดวย และไดนําเสนอรางกรอบยุทธศาสตรชาติระยะ 20 ป ตอที่ประชุมคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติซึ่งขณะนี้อยูระหวางการดําเนินการปรับปรุงรางกรอบยุทธศาสตรชาติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติ

ในการดําเนินการขั้นตอไป คณะกรรมการจัดทํายุทธศาสตรชาติจะนําเสนอรางกรอบยุทธศาสตรชาติเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและจะไดมีการรับฟงความคิดเห็นจากประชาชน กอนที่จะนําเสนอ    ตอสภานิติบัญญัติแหงชาติใหความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตรชาติมาใชเปนกรอบในการกําหนดทิศทางในการบริหารประเทศภายในเดือนตุลาคม ๒๕๕๙ ซึ่งเปนชวงเวลาของการประกาศใชแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2559 – กันยายน 2564) นอกจากนี้หนวยงานตางๆ จะไดนําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติซึ่งเปนแผนระยะ 5 ปมาถายทอดลงสูแผนปฏิบัติการระดับกระทรวงและแผนพัฒนารายสาขา ในระหวางที่กลไกการจัดทํายุทธศาสตรชาติตามรางรัฐธรรมนูญฉบับใหมอยูระหวางการดําเนินการซึ่งคาดวาจะดําเนินการแลวเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2560

  1. สาระสำคัญ

การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมุ่งเน้นเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศไทยกำลังอยู่ระหว่างการเสนอร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการปรับปรุงร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติตามมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำร่างยุทธศาสตร์ชาติ โดยร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) สรุปย่อได้ ดังนี้

 

  1. วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เปนประเทศพัฒนาแลวดวยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

หรือเปนคติพจนประจําชาติวา “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ทั้งนี้วิสัยทัศนดังกลาวจะตองสนองตอบ       ตอผลประโยชนแหงชาติ อันไดแก การมีเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแหงเขตอํานาจรัฐ การดํารงอยูอยางมั่นคง ยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ การดํารงอยูอยางมั่นคงของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยูรวมกันในชาติอยางสันติสุขเปนปกแผนมีความมั่นคงทางสังคมทามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเปนมนุษย ความเจริญเติบโตของชาติ ความเปนธรรมและความอยูดีมีสุขของประชาชนควายั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอม ความมั่นคงทางพลังงานและอาหารความสามารถในการรักษาผลประโยชนของชาติภายใตการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดลอมระหวางประเทศและการอยูรวมกันอยางสันติประสานสอดคลองกัน ดานความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอยางมีเกียรติและศักดิ์ศรีไม่   เปนภาระของโลกและสามารถเกื้อกูลประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ดอยกวา

 

  1. ยุทธศาสตรชาติ

ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศนและทําใหประเทศไทยพัฒนาไปสูอนาคตที่พึงประสงคนั้น จําเปนจะตองมีการวางแผนและกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนาในระยะยาวและกําหนดแนวทางการพัฒนาของทุกภาคสวนใหขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นจึงจําเปนจะตองกําหนดยุทธศาสตรชาติในระยะยาว เพื่อถายทอดแนวทางการพัฒนาสูการปฏิบัติในแตละชวงเวลาอยางตอเนื่องและมีการบูรณาการ และสรางความเขาใจถึงอนาคตของประเทศไทยรวมกัน และเกิดการรวมพลังของทุกภาคสวนในสังคมทั้งประชาชน เอกชน ประชาสังคม ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเพื่อการสรางและรักษาไวซึ่งผลประโยชนแหงชาติและบรรลุวิสัยทัศน“ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เปนประเทศพัฒนาแลว ดวยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”   หรือคติพจนประจําชาติ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อใหประเทศมีขีดความสามารถในการแขงขัน มีรายไดสูงอยูใน  กลุมประเทศพัฒนาแลว คนไทยมีความสุข อยูดีกินดีสังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเปนธรรม ซึ่งยุทธศาสตรชาติที่จะใชเปนกรอบแนวทางการพัฒนาในระยะ 20 ปตอจากนี้ไป จะประกอบดวย 6 ยุทธศาสตร ไดแก

(1) ยุทธศาสตรดานความมั่นคง

(2) ยุทธศาสตรดานการสรางความสามารถในการแขงขัน

(3) ยุทธศาสตรการพัฒนาและเสริมสรางศักยภาพคน

(4) ยุทธศาสตรดานการสรางโอกาสความเสมอภาคและเทาเทียมกันทางสังคม

(5) ยุทธศาสตรดานการสรางการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอม และ

(6) ยุทธศาสตรดานการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

 

1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12

  1. หลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปีที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยมีหลักการสำคัญของแผนฯ ดังนี้

  1. ยึด “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อให้เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาคนมีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ มีที่ยืนและเปิดโอกาสให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิตที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เป็นการเติบโตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวีถีชีวิต ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรม
  2. ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทยพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
  3. ยึด “วิสัยทัศน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” มาเป็นกรอบของวิสัยทัศน์ประเทศไทยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยที่วิสัยทัศน์ดังกล่าวต้องสนองตอบต่อผลประโยชน์แห่งชาติ อันได้แก่ การมีเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ การดำรงอยู่อย่างมั่นคง ยั่งยืนของสถาบันหลักของชาติ การดำรงอยู่อย่างมั่นคงของชาติและประชาชนจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ การอยู่ร่วมกันในชาติอย่างสันติสุขเป็นปึกแผ่นมีความมั่นคงทางสังคมท่ามกลางพหุสังคมและการมีเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ความเจริญเติบโตของชาติ ความเป็นธรรมและความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางพลังงาน อาหารและน้ำความสามารถในการรักษาผลประโยชน์ของชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติประสานสอดคล้องกันด้านความมั่นคงในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีประเทศไทยไม่เป็นภาระของโลกและสามารถเกื้อกูลประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า
  4. ยึด “เป้าหมายอนาคตประเทศไทยปี 2579” ที่เป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมาเป็นกรอบในการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุใน 5 ปีแรกและเป้าหมายในระดับย่อยลงมา ควบคู่กับกรอบเป้าหมายที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งนี้ เป้าหมายประเทศไทยในปี 2579 ซึ่งเป็นยอมรับร่วมกันนั้นพิจารณาจากมิติต่างๆ ทั้งประเด็นและลักษณะของการพัฒนา ลักษณะฐานการผลิตและบริการสำคัญของประเทศ ลักษณะของคนไทยและสังคมไทยที่พึงปรารถนา และกลุ่มเป้าหมายในสังคมไทย โดยกำหนดไว้ดังนี้ “เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรมมีความเหลื่อมล้ำน้อย คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่มีวินัย ตื่นรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ มีความเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ มีจิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลก ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีนานาชาติ ระบบเศรษฐกิจตั้งอยู่บนฐานของการใช้นวัตกรรมนำดิจิตัล สามารถแข่งขันในการผลิตได้และค้าขายเป็น มีความเป็นสังคมประกอบการ มีฐานการผลิตและบริการที่มีคุณภาพและรูปแบบที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการในตลาดโลก เป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญ เช่น การให้บริการคุณภาพทั้งด้านการเงิน ระบบโลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพ และท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นครัวโลกของอาหารคุณภาพและปลอดภัย เป็นฐานอุตสาหกรรมและบริการอัจฉริยะที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรม ทุนมนุษย์ทักษะสูงและเทคโนโลยีอัจฉริยะ มาต่อยอดฐานการผลิตและบริการที่มีศักยภาพในปัจจุบันและพัฒนาฐานการผลิตและบริการใหม่ๆ เพื่อน าประเทศไทยไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนที่มีความเป็นอัจฉริยะ”
  5. ยึด “หลักการนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างจริงจังใน 5 ปีที่ต่อยอดไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเป้าหมายระยะยาว” จากการที่แผนพัฒนาฯ เป็นกลไกเชื่อมต่อในลำดับแรกที่จะกำกับและส่งต่อแนวทางการพัฒนาและเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีให้เกิดการปฏิบัติในทุกระดับและในแต่ละด้านอย่างสอดคล้องกัน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงให้ความสำคัญกับการใช้กลไกประชารัฐที่เป็นการรวมพลังขับเคลื่อนจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยมีการกำหนดประเด็นบูรณาการของการพัฒนาที่มีลำดับความสำคัญสูง และการกำหนดในระดับแผนงาน/โครงการสำคัญที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาได้อย่างแท้จริง รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่มีความครอบคลุมหลากหลายมิติมากกว่าในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ผ่านๆ มา ในการกำหนดเป้าหมายได้คำนึงถึงความสอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของยุทธศาสตร์ชาติและการเป็นกรอบกำกับเป้าหมายและตัวชี้วัดในระดับย่อยลงมาที่จะต้องถูกส่งต่อและกำกับให้สามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นอย่างมีผลสัมฤทธิ์ภายใต้กรอบการจัดสรรงบประมาณ การติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและการติดตามประเมินผลการปฏิบัติราชการรวมทั้งการพัฒนาระบบราชการที่สอดคล้องเป็นสาระเดียวกันหรือเสริมหนุนซึ่งกันและกัน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงกำหนดประเด็นบูรณาการเพื่อการพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางสำคัญประกอบการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน รวบรวมและกำหนดแผนงาน/โครงการสำคัญในระดับปฏิบัติและกำหนดจุดเน้นในการพัฒนาเชิงพื้นที่ในระดับสาขาการผลิตและบริการและจังหวัดที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ
  6. เป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 กำหนดเป้าหมายในด้านต่างๆ ในช่วงเวลา 5 ปี โดยคำนึงถึงการดำเนินการต่อยอดต่อไปแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 14 และ 15 เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และในขณะเดียวกันแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดในรายละเอียดมากกว่าในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ผ่านมาเพื่อให้กำกับและเชื่อมโยงกับการกำหนดเป้าหมายในแผนระดับรองและแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น โดยการจัดสรรงบประมาณและแผนปฏิบัติการต่างๆ ต้องแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงจากเป้าหมายที่เป็นผลสัมฤทธิ์ ผลลัพธ์หลักๆ กับผลผลิตในระดับแผนงานและโครงการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแต่ละกลุ่มบูรณาการของการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงความเชื่อมโยงถึงตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของภาครัฐ ทั้งนี้ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้ตั้งเป้าหมายในมิติหลักๆ ประกอบด้วย (1) คนไทยที่มีคุณลักษณะเป็นคนไทยที่สมบูรณ์ มีวินัย มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ มีความสามารถในการปรับตัวได้อย่างรู้เท่าทันสถานการณ์ มีความรับผิดชอบและทำประโยชน์ต่อส่วนร่วม มีสุขภาพกายและใจที่ดีมีความเจริญงอกงามทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีความเป็นไทย   (2) การลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้และความยากจน การเข้าถึงบริการทางสังคมที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 (3) ระบบเศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ โครงสร้างเศรษฐกิจปรับสู่เศรษฐกิจฐานบริการและดิจิทัล มีผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นสังคมผู้ประกอบการ และมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กที่เข้มแข็งสามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์คุณค่าสินค้าและบริการ รวมทั้งมีระบบการผลิตและให้บริการจากฐานรายได้เดิมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปีเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2579 (4) ทุนทางธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมสามารถสนับสนุนการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงอาหาร พลังงาน และน้ำ โดยเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศเพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและขนส่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 7 ภายในปี 2563 เทียบกับการปล่อยในกรณีปกติ มีปริมาณ หรือสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่ได้รับการจัดการอย่างถูกหลักสุขาภิบาลเพิ่มขึ้น และรักษาคุณภาพน้ำและคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤตอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (5) มีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย สังคมปลอดภัยสามัคคี สร้างภาพลักษณ์ดี และเพิ่มความเชื่อมั่นของนานาชาติต่อประเทศไทย ความขัดแย้งทางอุดมการณ์และความคิดในสังคมลดลง ปัญหาอาชญากรรมลดลง ประเทศไทยมีส่วนร่วมในการกำหนดบรรทัดฐานระหว่างประเทศ เป็นต้น และ (6) มีระบบบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย โปร่งใสตรวจสอบได้ กระจายอำนาจและมีส่วนร่วมจากประชาชน บทบาทภาครัฐในการให้บริการซึ่งภาคเอกชนดำเนินการแทนได้ดีกว่าลดลง เพิ่มการใช้ระบบดิจิตัลในการให้บริการ ปัญหาคอร์รัปชั่นลดลง และการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระขึ้นเป้าหมายทั้ง 6 กลุ่มหลักภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 สะท้อนถึงเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และเป้าหมายในระยะยาวภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่ต้องบรรลุภายในระยะเวลา 20 ปี คือ “เศรษฐกิจและสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืนบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมไทยเป็นสังคมที่เป็นธรรมมีความเหลื่อมล้ำน้อย คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่มีวินัย ตื่นรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดชีวิต มีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ มีความเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณ มีจิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความเป็นพลเมืองไทย พลเมืองอาเซียน และพลเมืองโลก ประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญในเวทีนานาชาติ ระบบเศรษฐกิจตั้งอยู่บนฐานของการใช้นวัตกรรมนำดิจิทัล สามารถแข่งขันในการผลิตได้และค้าขายเป็น มีความเป็นสังคมประกอบการ มีฐานการผลิตและบริการที่มีคุณภาพและรูปแบบที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการในตลาดโลก เป็นฐานการผลิตและบริการที่สำคัญ เช่น การให้บริการคุณภาพทั้งด้านการเงิน ระบบโลจิสติกส์ บริการด้านสุขภาพและท่องเที่ยวคุณภาพ เป็นครัวโลกของอาหารคุณภาพและปลอดภัย เป็นฐานอุตสาหกรรมและบริการอัจฉริยะที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรม ทุนมนุษย์ทักษะสูงและเทคโนโลยีอัจฉริยะ มาต่อยอดฐานการผลิตและบริการที่มีศักยภาพในปัจจุบันและพัฒนาฐานการผลิตและบริการใหม่ ๆ เพื่อน าประเทศไทยไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจ สังคม และประชาชนที่มีความเป็นอัจฉริยะได้ในระยะยาว”

  1. ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาสำคัญ

สำหรับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ถูกกำหนดจากยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และกำหนดเป็นแนวทางในรายละเอียดที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องและการตอบสนองต่อเป้าหมายที่ต้องบรรลุในระยะ 5 ปี ที่จะเป็นการวางพื้นฐานที่สามารถสานต่อการพัฒนาในประเด็นสำคัญของประเทศในระยะต่อไปที่สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยใช้หลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำทาง ทั้งนี้ภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาครอบคลุมรายละเอียดที่ตอบสนองต่อ จุดเน้นประเด็นหลักของการพัฒนาในระยะ 5 ปีและมุ่งต่อยอดผลสัมฤทธิ์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับต่อ ๆ ไป โดยจะต้องต่อยอดให้เกิดความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานและการแก้ปัญหาสำคัญที่เป็นรากเหง้าของปัญหาต่าง ๆ และประเด็นปฏิรูปประเทศให้ลุล่วง รวมทั้งประเด็นร่วมที่มีความเชื่อมโยงกับหลากหลายประเด็นการพัฒนาที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อเนื่องกันไปตลอด 20 ปียุทธศาสตร์ที่กำหนดในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มีจำนวน 10 ยุทธศาสตร์ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นการยากในการที่จะกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในรายละเอียดที่ชัดเจนในแผนพัฒนาระยะยาวเช่นยุทธศาสตร์ชาติได้ ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาจำเป็นต้องมีการกำหนดและปรับปรุงให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและปัจจัยแวดล้อมในช่วงเวลานั้น ๆ จึงจะสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุดังกล่าวยุทธศาสตร์ชาติจึงเป็นการกำหนดกรอบที่เป็นประเด็นหลักของการพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ซึ่งสะท้อนทั้งในเรื่องการพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การพัฒนากลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาในเรื่องกลไกและกฎระเบียบ รวมทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ ภายใต้การกำหนดและการยึดหลักการสำคัญของการพัฒนา ดังนั้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จึงประกอบด้วยยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม (3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน (4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความ  มั่งคั่งและยั่งยืน และ (6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การปูองกันการทุจริตประพฤติมิชอบและ   ธรรมาภิบาลในสังคมไทย และประกอบกับอีก 4 ยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์และกลไกสนับสนุนให้การดำเนินยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านให้สัมฤทธิ์ผล ประกอบด้วย (7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ (8) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม (9) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ และ (10) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอีกก้าวหนึ่งสำหรับการเชื่อมต่อกับการแปลงแผนสู่การปฏิบัตินั่นคือ แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในรายละเอียดที่จะเชื่อมต่อถึงการปฏิบัติโดยได้กำหนดแผนงาน/โครงการกลุ่มสำคัญๆ ที่ต้องดำเนินการในระดับแผนงานและโครงการสำคัญ(Flagship Program) ในช่วง 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติโดยใช้กลไกแผนเฉพาะด้าน ยุทธศาสตร์กระทรวง แผนการพัฒนาภาค แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนตามแนวยุทธศาสตร์นั้นๆ ให้บรรลุผล โดยจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณแบบบูรณาการประเด็นการพัฒนาและเชิงพื้นที่และมีการกำหนดตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลที่เป็นระบบที่สามารถสะท้อนถึงผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาได้อย่างแท้จริง ซึ่งในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ระบบงบประมาณและการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดิน กฎระเบียบเรื่องวินัยการเงินการคลังภาครัฐ และระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเพื่อการรองรับความท้าทายในการพัฒนา ในขณะเดียวกันแนวทางการพัฒนาซึ่งเป็นรายละเอียดภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ยุทธศาสตร์นั้นได้กำหนดให้ครอบคลุมในหลากหลายประเด็นและแนวทางการพัฒนาเฉพาะด้านซึ่งหน่วยงานรับผิดชอบได้กำหนดไว้แล้วภายใต้แผนเฉพาะด้านหรือกำลังดำเนินการ ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการบูรณาการประเด็นการพัฒนาและเพื่อสนับสนุนให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเกิดการต่อยอดให้สามารถดำเนินการได้สัมฤทธิ์ผล นอกจากนี้แผน  พัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ก็ได้กำหนดประเด็นและแนวทางที่สนับสนุนการขับเคลื่อนประเด็นการปฏิรูปประเทศที่สภาปฏิรูปแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปได้เสนอ โดยมุ่งเน้นในเรื่องที่มีความชัดเจนและต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วง 5 ปีต่อจากนี้ไป ซึ่งนับว่าเป็นทั้งช่วงเวลาสำคัญของการปฏิรูปประเทศและวางรากฐานเพื่อการพัฒนาในระยะยาวให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

กรอบวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12

จากสถานะของประเทศและบริบทการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ประเทศกำลังประสบอยู่ทีให้การกำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ยังคงมีความต่อเนื่องจากวิสัยทัศน์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 และกรอบหลักการของการวางแผนที่น้อมนำและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาที่ยึดหลักสมดุล ยังยืน

โดยวิสัยทัศน์ของการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดทิศทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ระยะยาว “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของประเทศ

การกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategic Positioning) เป็นการกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่ สศช. ได้จัดทำขึ้น

ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาคสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ (Trading and Service Nation) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์

เป็นการวางแผนในลักษณะของการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ลงสู่การปฏิบัติในช่วงเวลา 5 ปี โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ตอบสนองกับบริบทการพัฒนาที่เกิดขึ้นในช่วง 5 ปีแรกของยุทธศาสตร์ 20 ปี เป็นสำคัญ โดยมีทั้งหมด 10 ยุทธศาสตร์ ดั้งนี้

1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน  

4) ยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคั่งและยั่งยืน 

6) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ และธรรมาภิบาลในสังคมไทย 

7) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ 

8)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย  และนวัตกรรม 

9)  ยุทธศาสตร์การพัฒนาภค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ 

10) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

 

1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด

 

แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แผนพัฒนาภาค  เป็นแผนที่ยึดกระบวนการที่มีส่วนร่วมของของทุกส่วนจากทุกจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น เพื่อสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและพัฒนากลุ่มจังหวัด  แผนพัฒนาภูมิภาค จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล  ยึดแนวคิดการพัฒนาตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ  ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลวง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้  ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์นั้นตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  การจัดทำแผนพัฒนาสี่ปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ต้องมีความสัมพันธ์กับแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเกษตร  การท่องเที่ยว  การค้าการลงทุน  การพัฒนาคนให้มีความสุขภาวะดีทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา  รอบรู้  เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพสร้างความมั่นคงด้านอาหาร  แก้ไขปัญหาความยากจน  หนี้สิน  และการออกของครัวเรือน  มีสัมมาอาชีพที่มั่นคงสามารถพึ่งตนเองและดูแลครอบครัวได้อย่างอบอุ่น  ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ซึ่งแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายละเอียดสรุปย่อดังนี้

กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 และมาตรา53/2 บัญญัติให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และตอบสนองความต้องการองประชาชนในท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคที่ยึดกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น  เพื่อสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด

  1. แนวคิดและหลักการ
    • ยึดแนวคิดการพัฒนาตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล เป็นธรรมชาติและมีภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งจากภายนอกภายในประเทศ  ควบคู่กับแนวคิด “การพัฒนาแบบองค์รวม” ที่ยึด คน ผลประโยชน์ของประชาชน  ภูมิสังคม  ยุทธศาสตร์พระราชทาน  เข้าใจ  เข้าถึงและพัฒนา  ยึดหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคีการพัฒนา  และหลักธรรมาภิบาล  เพื่อให้สังคมสมานฉันท์และอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
    • หลักการมุ่งสร้างความเชื่อมโยงกับแผนระดับชาติต่างๆนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน  เพื่อสร้างโอกาสทางการพัฒนา  สอดคล้องกับภูมิสังคมของพื้นที่ โดย
  • กำหนดรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศและภาค รวมถึงชุมชน
  • กำหนดบทบาทและยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของพื้นที่
  1. ทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นผลให้จำเป็นต้องเตรียมการรับรองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เหมาะสม  การพัฒนาที่สมดุลดังนั้นจึงกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของประเทศ ดังนี้

  • พัฒนาพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศให้เชื่อมโยงกับภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นหลักฐานการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม  การเกษตรและการแปรรูปการเกษตร  และการท่องเที่ยวของภูมิภาค  โดยเฉพาะ

2.1.1 พัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตามแนวตะวันออก – ตะวันตก ( East West Economic Corridor) เช่น   พื้นที่เขตเศรษฐกิจแม่สอด-สุโขทัย-พิษณุโลก-ขอนแก่น-ขอนแก่น-มุกดาหาร  แนวสะพานเศรษฐกิจพื้นที่อรัญเทศ-สระแก้ว-ปราจีนบุรี  พื้นที่เศรษฐกิจ  ระนอง-ชุมพร-บางสะพาน แนวสะพานเศรษฐกิจพังงา-กระบี่-สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช  และแนวสะพานเศรษฐกิจสตูล-สงขลา

2.1.2  พัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือใต้( North  South Economic Corridor) แนวเศรษฐกิจเชียงของ-เชียงราย-พิษณุโลก-นครสวรรค์-จังหวัดปริมณฑล  แนวเศรษฐกิจหนองคาย-อุดรธานี- ขอนแก่น-นครราชสีมา-จังหวัดปริมณฑล   พื้นที่แหลมฉบัง-ชลบุรี-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว-บุรีรัมย์มุกดาหาร

               2.2 พัฒนาบริการพื้นฐานของชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยเน้นที่ชุมชนตามแนวเขตเศรษฐกิจเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก  โดยเฉพาะชุมชนเศรษฐกิจชายแดน

               2.3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงข่ายคมนาคม ขนส่งเพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพื้นที่ เช่น การพัฒนาระบบราง  เพิ่มประสิทธิ์ภาพการขนส่งทางน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงการคมนาคมบริเวณจุดตัดเช่น พิษณุโลก  และขอนแก่น

               2.4 สร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศให้ยั่งยืน ได้แก่  พัฒนาแหล่งน้ำให้พอเพียงต่อการเกษตร  พัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม และการจัดให้มีการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาพตะวันออกเฉียงเหนือ

3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนา

     (1) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ  โดยการยกมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตการเกษตร การพัฒนาศักยภาพการประกอบการด้านอุตสาหกรรม  อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว การตั้งองค์กรร่วมภาครัฐและเอกชนระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน  และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน

     (2) สร้างคนให้มีคุณภาพ  เพื่อพัฒนาให้คนมีสุขภาวะดีทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา  รอบรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ

     (3) สร้างสังคมและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร  แก้ไขปัญหาความยากจน  หนี้สิน  และการออมของครัวเรือน  มีสัมมาชีพที่มั่นคง  สามารถพึ่งพาตนเองและดูแลครอบครัวได้อย่างอบอุ่น

     (4) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ โดยเร่งอนุรักษ์และฟื้นฟูที่ป่าไม้ให้ได้ 15.9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 25 ของพื้นที่ภาค ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ  พัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานฟื้นฟูดิน  ยับยั้งการแพร่กระจายดินเค็ม  และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโดยส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์

3.2 ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด

     (1)กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วยอุดรธานี  หนองคาย หนองบัวลำภู (และเลย)  เน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อรักบาสมดุลธรรมชาติ  การปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน

     (2)กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย สกลนคร นครพนม และมุกดาหารเน้นให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบ้าน  เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตรส่งเสริมพื้นที่ชลประทาน  การทำปศุสัตว์โดยเฉพาะโคเนื้อ

     (3) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง  ประกอบด้วย  ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคามและร้อยเอ็ด เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองรับรองการเป็นศูนย์กลางการค้าบริการและการลงทุนของภาค  การใช้พื้นที่ชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การทำการเกษตรก้าวหน้า  การเตรียมการรับรองอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

     (4) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบด้วย  นคราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ  การเตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน(Ethanol) พัฒนาการท่องเที่ยวทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอารยธรรมขอมด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่มและการพัฒนาเส้นทาง

     (5) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ มุ้งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำ  และระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำการสร้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวให้มากขึ้น

3.3  โครงการที่สำคัญ (Flagship Project)

     (1) โครงการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ทุ่งกุลาร้องไห้เพื่อการส่งออก

     (2) โครงการพัฒนาเมืองมุกดาหารเป็นประตูสู่อินโดจีน

     (3) โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวอารยธรรมขอม

     (4) โครงการจัดการผลิตเอทานอลในภาคอีสาน

     (5) โครงการยกมาตรฐานการเรียนการสอนด้วยระบบศึกษาทางไกล

     (6) โครงการเกษตรยั่งยืนเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

     (7) โครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำชีตอนบนและลุ่มน้ำมูลตอนบนแบบบูรณาการเพื่อการผลิตยั่งยืน

 

 

แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง

(นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์)

ระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564

แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง 1

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) ระยะเวลา 4 ปี พ.ศ. 2561-2564  โดยยึดนโยบายรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทิศทางการพัฒนาภาค เป็นหลัก และมุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วน (ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม) เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัด ฯ ทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ฯ สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัด รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาร่วมกันของกลุ่มจังหวัด ให้เหมาะสมกับโอกาสและศักยภาพของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ให้กลุ่มจังหวัด จึงได้กำหนด

ตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Strategies Position)

1) เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย

2) เป็นแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ไหมระดับประเทศ

3) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทั้งการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม เชิงนิเวศน์ การกีฬาที่มีชื่อเสียง

4) เป็นประตูสู่อีสาน และเชื่อมโยงการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน

 

วิสัยทัศน์ (Vision)

ศูนย์กลางเกษตรอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ไหม ท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และการค้าชายแดน

 

พันธกิจ (Mission)

1) ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปข้าวหอมมะลิ

2) ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและพลังงานทดแทน

3) ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อกระบือ และแพะ และแปรรูปเชิงคุณภาพ

4) ส่งเสริมการเรียนรู้สู่การปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5) ส่งเสริมศักยภาพการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ไหม

6) ส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้ได้รับความนิยม และบริหารจัดการให้มีศักยภาพ

7) ส่งเสริมและพัฒนาการค้าการลงทุน และค้าชายแดน

 

 

เป้าประสงค์รวม (Obgective)

1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

2) รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

3) รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหมเพิ่มขึ้น

4) มูลค่าการส่งออกสินค้าชายแดนเพิ่มขึ้น

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategics Issues)

1) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกษตรอุตสาหกรรมและแปรรูป

2) การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและผลิต    ภัณฑ์ไหม

3) การส่งเสริมและพัฒนาการค้าการลงทุน และการค้าชายแดน

 

กลยุทธ์ (Strategy)

1) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกษตรอุตสาหกรรมและแปรรูปอาหาร

1.1 พัฒนาและบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

1.2 ส่งเสริมและพัฒนาระบบโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าในภูมิภาค

1.3 ส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมให้เหมาะสม

1.4 ยกระดับสินค้าเกษตรเข้าสู่ระบบมาตรฐาน

1.5 ส่งเสริมและพัฒนาตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.6 ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์คุณภาพสูง

1.7 ส่งเสริมกระบวนการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

1.8 สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มการผลิตและจำหน่าย

1.9 ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดสินค้าเกษตร

2) การยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ไหม

2.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก

2.2 พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว

2.3 พัฒนาสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว

2.4 พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

2.5 สร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว

2.6 พัฒนาระบบบริหารจัดการการท่องเที่ยว ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน

2.7 เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตไหมให้มีคุณภาพ

2.8 พัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน

2.9 ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ไหม

3) การส่งเสริมและพัฒนาการค้าการลงทุน และการค้าชายแดน

3.1 ส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน และการลงทุนในประเทศ

3.2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์

 

 

 

แผนพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์

(พ.ศ.2561-2564)

วิสัยทัศน์จังหวัดบุรีรัมย์ ( Vision )

“ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก เศรษฐกิจมั่นคง สังคมสันติสุข 9 ดี”

 

พันธกิจของจังหวัดบุรีรัมย์  ( Mission )  

  1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวอารยธรรมขอม และส่งเสริมกีฬาสู่มาตรฐานโลก
  2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรและอาหารปลอดภัยได้มาตรฐาน
  3. ส่งเสริมการผลิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. ส่งเสริมการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์จากไหมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
  5. อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
  6. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนบุรีรัมย์ให้มีความมั่นคง ยั่งยืน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

 

เป้าประสงค์รวม

  1. ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก
  2. ศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล
  3. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีมีสุข
  4. หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งตามหลักธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี
  5. พัฒนาแหล่งน้ำและคุณภาพของน้ำอย่างสมดุล
  6. ฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าและความหลากหลายทางชีวภาพแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืน
  7. จัดการขยะและการลดมลพิษอย่างเป็นระบบและการมีส่วนร่วมของประชาชน
  8. สังคมสงบสุขและอบอุ่น
  9. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  10. ลดอุบัติเหตุทางถนนและสาธารณภัย

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ ( Strategic  lssues )

  1. ประเด็นยุทธศาสตร์ที 1 : ด้านเศรษฐกิจ

“เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก และการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย

เป้าประสงค์    (Goals)

  1. ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก
  2. ศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของการผลิตสินค้าด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

1.รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10)

  1. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวได้รับการพัฒนา
  2. จำนวนบุคลากรด้านการท่องเที่ยวได้รับการพัฒนา (คน)
  3. จำนวนประชาชนที่รับบริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (คน)
  4. มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10)
  5. โครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวและด้านการเกษตรได้รับการพัฒนา (แห่ง)
  6. จำนวนที่เพิ่มขึ้นของพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัย (ไร่)
  7. จำนวนที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรรุ่นใหม่และเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ที่เน้นการทำการเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย (ราย)
  8. จำนวนกลุ่มของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและการพัฒนาศักยภาพในการประกอบการ (กลุ่ม)
  9. จำนวนแปลงที่ได้รับการรับรองมาตฐาน GAP (แปลง)
  10. ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไหมเพิ่มขึ้น
  11. ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้น
  12. ร้อยละของผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)
  13. ร้อยละของมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปเพิ่มขึ้น
  14. จำนวนที่เพิ่มขึ้นของร้านอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัย (ร้าน)

กลยุทธ์

  1. พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
  2. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว
  3. พัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัด

4.ส่งเสริมและพัฒนาความปลอดภัยและสุขอนามัยด้านการท่องเที่ยว

  1. พัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
  2. ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
  3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวแบบประชารัฐ
  4. พัฒนากีฬาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในทุกรูปแบบ
  5. สร้างอัตลักษณ์เมืองบุรีรัมย์ให้เป็น “เมืองแห่งความจงรักภักดี” Buriram Blue City) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
  6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน
  7. เร่งรัดการจัดหาน้ำและการเตรียมความพร้อมในการให้บริการน้ำเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมืองบุรีรัมย์
  8. ส่งเสริมการพัฒนาศูนย์กีฬา และสนามกีฬามาตรฐานโลก
  9. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวแบบครบวงจร
  10. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และกลุ่มจังหวัดอีสานใต้

15.ส่งเสริมการค้าชายแดนเพื่อการค้าและการลงทุน

  1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตร
  2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย
  3. ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่ายเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัย
  4. ส่งเสริมการน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับแผนชีวิตหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี
  5. ส่งเสริมการลงทุนและปัจจัยเอื้อให้เกิดการลงทุน เพื่อพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตรและอุตสาหกรรมบริการ
  6. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นเพื่อให้ได้การรับรองคุณภาพและมาตรฐาน
  7. ส่งเสริมและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรแปรรูปและเกษตรปลอดภัย
  8. ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการผลิตไหมและผลิตภัณฑ์จากไหมแบบครบวงจร
  9. การบริหารจัดการทางการเกษตร (Zonning)
  10. พัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารให้ได้รับการรับรองมาตรฐานและคุณภาพ
  11. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร
  12. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต

“คนบุรีรัมย์มีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นคง ยั่งยืน บนพื้นฐานความพอเพียง”

เป้าประสงค์ (Goals)

  1. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ดีมีสุข
  2. หมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งตามหลักธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

  1. จำนวนของผู้สูงอายุที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ (ราย)
  2. เด็กนักเรียนอ่านออกเขียนได้ (ร้อยละ)
  3. ระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนตามเกณฑ์ที่กำหนด
  4. ระดับความสำเร็จในการเสริมสร้างศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชน
  5. จำนวนแรงงานที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน (ราย)
  6. จำนวนของแรงงานและแรงงานนอกระบบที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิการประกันสังคมตามกฎหมายแรงงาน (ราย)
  7. จำนวนแรงงานนอกระบบได้รับการพัฒนาและการส่งเสริมอาชีพ เพื่อเป็นรายได้เสริม
  8. ร้อยละของอำเภอป้องกันควบคุมโรคเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
  9. อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นลดลง (อายุ 15-19 ปี)
  10. ระดับความสำเร็จของการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบการปฏิบัติราชการ
  11. จำนวนเครือข่ายเฝ้าระวังทางสังคมและวัฒนธรรม
  12. ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง ตามหลักธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี
  13. ระดับความสำเร็จในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อการบริหารจัดการของภาครัฐและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

กลยุทธ์

  1. ส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวให้มีความอบอุ่น
  2. ส่งเสริมการแก้ปัญหาครัวเรือนยากจน ตามหลักธรรมนูญหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี
  3. เสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาการศึกษาของเด็กและเยาวชนทุกระดับ ตามเกณฑ์คุณภาพทางการศึกษาของท้องถิ่นและระดับชาติ
  4. เสริมสร้างความมีศีลธรรมและการใช้ศีลธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงอยู่ในชุมชนและสังคมของเด็กและเยาวชนในทุกระดับ
  5. ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านแรงงานและการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการตามกฎหมายแรงงาน
  6. ส่งเสริมการสร้างอาชีพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และการจัดการแบบครบวงจรของกลุ่มอาชีพและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยกลไกประชารัฐ
  7. รณรงค์และส่งเสริมการดูแลตนเอง การรักษาสุขภาพและการป้องกันโรค ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยในครอบครัวของประชาชนตามหลักสุขภาพดีถ้วนหน้า
  8. ยกระดับการบริการสาธารณสุข การเรียน การสอน และการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์
  9. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน
  10. ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนชีวิตหมู่บ้านสันติสุข 9 ดี (เป็นคนดี มีปัญญา รายได้สมดุล สุขภาพแข็งแรง สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ สังคมอบอุ่น หลุดพ้นอาชญากรรม กองทุนพึ่งพาตนเอง และคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็ง)
  11. สร้างและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกลในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ สู่การปฏิบัติในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน
  12. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 “ทรัพยากรธรรมชาติสร้างสรรค์ชีวิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”  

เป้าประสงค์   (Goals)

  1. พัฒนาแหล่งน้ำและคุณภาพของน้ำอย่างสมดุล
  2. ฟื้นฟู อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าและความหลากหลายทางชีวภาพแบบมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างยั่งยืน
  3. จัดการขยะและการลดมลพิษอย่างเป็นระบบและการมีส่วนร่วมของประชาชน

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

๑. จำนวนแหล่งน้ำจังหวัดมีปริมาณและคุณภาพเพียงพอสำหรับการใช้ประโยชน์ (แห่ง)

๒. จำนวนพื้นที่ป่าไม้ (พื้นที่ป่าสงวน ป่าสาธารณะ ป่าชุมชน และพื้นที่ชุ่มน้ำ) เพิ่มขึ้น (ไร่)

๓. จำนวนชุมชนที่ดำเนินการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
           ๔. อัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะชุมชนลดลง

๕. จำนวนชุมชนที่ส่งเสริมการนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

๖. ปริมาณขยะมูลฝอย ขยะติดเชื้อ และการก่อให้เกิดโรคจากขยะและมลพิษลดลง

๗. จำนวนพื้นที่เผาในที่โล่งของจังหวัดลดลง

๘. จำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งอุทกภัย และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขปัญหาและประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหา

๙. จำนวนพื้นที่ป่า และพื้นที่สาธารณะที่ถูกบุกรุกลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

กลยุทธ์

  1. ส่งเสริมการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคให้เพียงพอ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำภาคการผลิต (ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม) โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายองค์กรต่าง ๆ
  2. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพแหล่งน้ำและการจัดการแหล่งน้ำโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายประชาสังคม
  3. ส่งเสริม อนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพทรัพยากรป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ โดยเน้นการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและชาญฉลาด
  4. ส่งเสริมให้เกิดชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  5. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นหน้าที่ของพลเมืองคนบุรีรัมย์
  6. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการควบคุมและลดมลพิษโดยเน้นการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
  7. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในระดับพื้นที่ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
  8. ส่งเสริมให้เกิดชุมชนหรือองค์กรต้นแบบในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร
  9. ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : ด้านรักษาความมั่นคงและความสงบ

“บุรีรัมย์สันติสุข 9 ดี

เป้าประสงค์   (Goals)

  1. สังคมสงบสุขและอบอุ่น
  2. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

๓. ลดอุบัติเหตุทางถนนและสาธารณภัย

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

  1. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรรักษาความสงบเรียบร้อย
  2. ระดับความสำเร็จในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวทางประ ชารัฐ
  3. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดฟื้นฟูและได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง

๔. ระดับความสำเร็จในการป้องกันผู้ที่อาจเข้าไปที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

๕. ระดับความสำเร็จของการเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๖.  ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์และความสามัคคีของประชาชนภายในจังหวัดบุรีรัมย์

๗. ระดับความสำเร็จของการจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๘. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการจัดตั้งชุดเฉพาะกิจตำบล

๙. ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนเอาชนะปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน

1๐. ระดับความสำเร็จในการป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรม

1๑.  ระดับความสำเร็จของการผนึกกำลังประชาชนในพื้นที่ชายแดนเพื่อสนับสนุนการป้องกันประเทศ

1๒.  ระดับความสำเร็จในการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระดับท้องถิ่นกับประเทศเพื่อนบ้าน

1๓. ระดับความสำเร็จในการจัดตั้งเครือข่ายข่าวภาคประชาชนเพื่อความมั่นคง

1๔.  ระดับความสำเร็จของการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1๕.  ระดับความสำเร็จของการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่สอดคล้องกับความมั่นคงของชาติ

 

 

กลยุทธ์

  1. พัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน/ชุมชน และการเพิ่มจำนวนบุคลากรด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เพียงพอต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน
  2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน อย่างยั่งยืน
  3. ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ได้รับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพ และได้รับการติดตามดูแลช่วยเหลือภายหลังจาการบำบัดฟื้นฟู
  4. เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการสร้างความเป็นธรรมและความสมานฉันท์ของประชาชนภายในจังหวัด
  5. ป้องกันและแก้ไขปัญหาเยาวชนทั้งในสถานศึกษาและเยาวชนนอกสถานศึกษาที่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาภัยทางสังคม และภัยยาเสพติด

6 เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและท้องถิ่นในการบริหารจัดการ การตรวจสอบ และการเฝ้าระวังการทุจริตคอร์รัปชั่นและการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดย    มิชอบ

  1. เสริมสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันด้านความมั่นคงภายในจังหวัด
  2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ ของหมู่บ้านตามแนวชายแดนให้เป็นหมู่บ้านมั่นคงและสงบสุข
  3. พัฒนาความสัมพันธ์อันดีระดับท้องถิ่นกับประเทศเพื่อนบ้าน
  4. พัฒนาระบบเครือข่ายข่าวภาคประชาชน
  5. สร้างจิตสำนึกให้กับผู้ประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรมปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
  6. รณรงค์และส่งเสริมการขึ้นทะเบียน การควบคุมดูแลแรงงานต่างด้าวในสถานประกอบการและในชุมชน เพื่อจัดระบบป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง
  7. รณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุทางถนนและสาธารณภัยโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่ายของประชาสังคม

จังหวัดบุรีรัมย์กำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัด (Positioning) 4 ด้าน คือ

  1. พัฒนาศักยภาพเป็น “ศูนย์กลางการท่องเที่ยวอารยธรรมขอมและกีฬามาตรฐานโลก”
  2. ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล
  3. ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหม
  4. ส่งเสริมการค้าชายแดนเพื่อการค้าและการลงทุน

 

 

ความสอดคล้องและตอบสนองต่อแนวทางการพัฒนาประเทศของ

แผนพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2561 -2564

 

 

 

 

 

 

 
  

 

 

 

 


 

 

Positioning

จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

 

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

          v

ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

และอาหารปลอดภัยมาตรฐานสากล 

 

 

ความมั่นคงและความสงบ

 

 

 

 

 

 

 

 

1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด

ประเทศไทย 4.0

  1. ประเทศไทย 4.0 คืออะไร

ประเทศไทย 4.0 หมายถึง การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ  ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา  โดยที่ภาคเกษตรยังคงเป็นแกนหลักแต่จะเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมไปสู่การเกษตรสมัยใหม่  โดยการสร้างเกษตรปราดเปรื่อง(Smart Farmer) และสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ประกอบการมากขึ้น

          ประเทศไทย 4.0 เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล  ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์  จันโอชา  นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า  “มั่นคง  มั่งคั่ง  ยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆเพื่อปรับแก้  จัดระบบ  ปรับทิศทาง  และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  รุนแรงในศตวรรษที่  21  ได้ (ดร.สุวิทย์  เมษินทรีย์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์)

  1. พัฒนาการประเทศไทย 4.0

หลายประเทศกำหนดโมเดลเศรษฐกิจรูปแบบใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงในศตวรรษที่ 21 อาทิ สหรัฐอเมริกา  พูดถึง  A nation of Makers อังกฤษกลังผลักดันประเทศเข้าสู่ Design of Innovation ประเทศจีนประกาศโมเดล Made in China 2025  ส่วนอินเดียกำลังขับเคลื่อน Made  in India หรือเกาหลีใต้วางโมเดลเศรษฐกิจเป็น Creative Economy  และมองหาประเทศใกล้อย่างลาวยังเป็นประกาศโมเดลเศรษฐกิจเป็น Power of ASEAN

ประเทศไทย 1.0 ยุคทองของเกษตรกรรม เช่น ผลิตและขายพืชไร่ พืชสวน หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น

ประเทศไทย 2.0  ยุคอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตขายโรงเท้าเครื่องหนัง เครื่องดื่มเครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น

และยุคปัจจุบัน คือ ประเทศไทย  3.0  เป็นอุตสาหกรรมหนัก  เช่น การผลิตและขาย  ส่งออกเหล็กกล้า  รถยนต์  กลั่นน้ำมัน  แยกก๊าซธรรมชาติ  ปูนซีเมนต์  เป็นต้น

นับตั้งแต่ประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายต่างๆ พบว่ามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดเฉลี่ยถึง 7 % แต่หลังปี 2540  อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลงมาเป็น 3 – 4 % ต่อปี

เหตุผลสำคัญเพราะ

  1. ไทยไม่เคยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจังมาก่อน
  2. ไม่เคยมีการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง
  3. แรงงานยังมีทักษะไม่ดีพอจนกลายเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของโอกาส

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลพล.อ. ประยุทธ์  จันทร์โอชา  จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการขับเคลื่อนของประเทศด้วยแนวความคิดประเทศไทย 4.0 เพื่อผลักดันประเทศให้หลุดพ้นกับดัก 3 กับดักที่กำลังเผชิญ  คือ

  1. กับดักประเทศไทยรายได้ปานกลาง( Middle Income Trap)
  2. กับดักความเหลื่อมล้ำ (Inequality Trap)
  3. กับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา (Imbalance Trap)

 

  1. ประเทศไทย 4.0 ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

ประเทศไทย 4.0 จะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากที่กล่าวมาจากข้างต้นไปสู่ ยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม หรือ Value-Based  Economy โดยมีหลักฐานคิดหลัก  คือ

  1. เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม
  2. เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีความคิด

สร้างสรรค์และนวัตกรรม

  1. เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคการบริการมากขึ้น

ดังนั้น  ประเทศไทย 4.0 ประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนผ่านระบบใน 4 องค์ประกอบสำคัญ คือ

  1. เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน (Tradition Farming) ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ(Entrepreneur)
  2. เปลี่ยนจาก Tradition SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาไปสู่การ  Smart  Enterprises และ Start  ups ที่มีศักยภาพสูง
  3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ที่มีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำไปสู่ High Value Services
  4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะ ต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ  และทักษะสูง
  5. กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ประเทศไทย 4.0

ประเทศไทย4.0 ถือเป็นการพัฒนาเครื่องยนต์เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจชุดใหม่(New Engines of Growth) ด้วยการเปลี่ยนแปลง  ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบของประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพ ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม ให้เป็นความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน  โดยการเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี  การวิจัยและพัฒนา  แล้วต่อยอดความได้เปรียบเป็น 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายประกอบด้วย

  1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-tech) อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech)
  2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีการแพทย์ (Health , Wellness & Bio-Med) อาทิ เทคโนโลยีสุขภาพ(Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Medtech)  สปา (spa) เป็นต้น
  3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์  และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม(smart Devices ,Robotics &Mechatronics) อาทิ เทคโนโลยีหุ่นยนต์(Robotech)
  4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว((Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology) อาทิ เทคโนโลยีการเงิน(Fintech)อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน(lot)เทคโนโลยีการศึกษา(Edtech) อี-มาเก็ตเพลส(E-Market place) อี-คอมเมิร์ซ (E-commerce)เป็นต้น
  5. .กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) อาทิ เทคโนโลยีการออกแบบ(Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) เป็นต้น

กลไกขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0

  1. กลไกขับเคลื่อน (Engines of Growth) ชุดใหม่ ประกอบด้วย

(1) “Productive Growth Engine”

เป้าหมายสำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนประเทศไทยสู่ High Income Country ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และ ความคิดสร้างสรรค์

กลไกดังกล่าว ประกอบไปด้วย: การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐ การบริหารจัดการสมัยใหม่ และการสร้างคลัสเตอร์ทางด้านเทคโนโลยี การพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยและการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม กิจการร่วมทุนรัฐและเอกชนในโครงการขนาดใหญ่ รวมถึงการบ่มเพาะธุรกิจด้านเทคโนโลยี เป็นต้นซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์ความพยายามในการก้าวข้าม กับดักประเทศรายได้ปานกลาง ที่ไทยกำลังเผชิญอยู่

(2) “Inclusive Growth Engine”

เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์และเป็นการกระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งที่เกิดขึ้น

โดยกลไกนี้ ประกอบไปด้วย: การสร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัด การพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหาและความท้าทายทางสังคมในมิติต่างๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก การสร้างงานใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต การยกระดับขีดความสามารถ การเสริมสร้างทักษะและการเติมเต็มศักยภาพของประชาชนให้ทันกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก และการจ่ายภาษีให้แก่ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดแบบมีเงื่อนไข (Negative Income Tax)เพื่อแก้ไข กับดักความเหลื่อมล้ำ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

(3) “Green Growth Engine”

การสร้างความมั่งคั่งของประเทศไทยในอนาคต จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์หลุดออกจาก กับดักความไม่สมดุลของการพัฒนาระหว่างคนกับสภาพแวดล้อม

กลไกดังกล่าว ประกอบไปด้วย: การมุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน การปรับแนวคิดจากเดิมที่คำนึงถึงความได้เปรียบเรื่องต้นทุน (Cost Advantage) เป็นหลัก มาสู่การคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ (Lost Advantage) หัวใจสำคัญอยู่ที่การพัฒนากระบวนการผลิตให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อันจะเกิดประโยชน์กับประเทศและประชาคมโลกด้วยในเวลาเดียวกัน

ทั้ง 3 กลไกขับเคลื่อน ประเทศไทย 4.0 ถือเป็นการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน  เพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง  ซึ่งถือเป็นเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจจากการพึ่งพาการลงทุนต่างประเทศ  มีการลงทุนการวิจัยและพัฒนาตัวเองน้อยมากโดยมุ่งเน้นการพัฒนาการศึกษาคน สร้างการวิจัยและพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจ ให้ไทยสามารถอยู่ได้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งรัฐบาลต้องกล้าพอที่จะถอดกับดักจากการดึงเงินลงทุนต่างประเทศ  เอาเทคโนโลยีของต่างชาติทา  และต้องยืนอยู่บนขาของตนเองในระดับหนึ่ง

โดยสรุป ประเทศไทย 4.0

กระบวนทัศน์การพัฒนาประเทศไทยภายไต้แนวคิด  ประเทศไทย 4.0 เป็นอีกนโยบายหนึ่งที่เป็นการวางรากฐานการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว  เป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนการนำไปสู่การเป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์รัฐบาล เป็นรูปแบบที่มีการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ  การปฏิรูปการวิจัยและการพัฒนา  ตลอดจน การปฏิรูปการศึกษาไปพร้อมๆกัน  เป็นการผนึกกำลังของทุกภาคส่วนภายใต้แนวคิด  ประชารัฐ ที่ผนึกเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ  การวิจัยพัฒนา  และบุคลากรทั้งในประเทศละระดับโลก

 

 

 

  1. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

2.1 วิสัยทัศน์

           “ทุกสิ่งต้องสร้าง ทุกอย่างต้องมี”

2.2 ยุทธศาสตร์

          ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านการป้องกันสาธารณะภัย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านบริหารจัดการและการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

2.3 เป้าประสงค์

คนตูมใหญ่ มีความมั่งคั่งมั่นคง มีคุณภาพชีวิตดี บนวิถีความพอเพียง

 

2.4 ตัวชี้วัด

          2.4.1.มีความมั่งคั่ง

          2.4.2.มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน

          2.4.3.มีความคุณภาพชีวิตดี

          2.4.4.มีสิ่งแวดล้อมดี

          2.4.5.มีธรรมาภิบาล

          2.4.6.การสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน

          2.4.7.การสร้างความสามัคคี เท่าเทียมและเป็นธรรม ตามครรลองประชาธิปไตย

          2.4.8.การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้

          2.4.9.การสร้างความเข็มเข็งให้ชุมชน

 

2.5 ค่าเป้าหมาย

          2.5.1. ร้อยละ 60 ของครัวเรือนในตำบลตูมใหญ่ มีรายได้เพิ่มขึ้น

          2.5.2. ร้อยละ 95 ของประชาชนตำบลตูมใหญ่มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน

          2.5.3. ร้อยละ 95 มีความคุณภาพชีวิตดี

          2.5.4. ร้อยละ 80 ของประชากรในเขตองค์การบริการส่วนตำบลตูมใหญ่อยู่อาศัยท่ามกลาง
          สิ่งแวดล้อมที่ดี
          2.5.5. องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใหญ่ผ่านการประเมินไม่น้อยกว่าร้อย 75 ของการตรวจประเมิน
          มาตรฐานการปฏิบัติราชการและร้อยละ 70 ของการตรวจประเมินธรรมาภิบาล

          2.5.6. ร้อยละ 10 ของงบประมาณตามในโครงการในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
          ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นทุกปี

          2.5.7. ร้อยละ 80 ประชากรมีความรักสามัคคีตามวิถีการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

    2.5.8. ร้อยละ 80 ของประชาชน,พนักงานส่วนตำบลมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน ถ่ายทอดภูมิปัญญา
อาชีพประสบการณ์ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้
    2.5.9. ร้อยละ 90 ของหมู่บ้านชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้านประชาชน มีความเข้มแข็ง
    มีความพอเพียง มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้คู่คุณธรรม

 

2.6 กลยุทธ์

ใช้กลยุทธ์ 5 มี 4 สร้าง

5 มีประกอบด้วย

  1. มีความมั่งคั่ง
  2. มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
  3. มีความคุณภาพชีวิตดี
  4. มีสิ่งแวดล้อมดี
  5. มีธรรมาภิบาล

4 สร้างประกอบด้วย

  1. สร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
  2. สร้างความสามัคคี เท่าเทียมและเป็นธรรม ตามครรลองประชาธิปไตย
  3. สร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
  4. สร้างความเข็มเข็งให้ชุมชน

 

 

2.7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.8 ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ในภาพรวม

ตัวแบบโครงสร้างการเชื่อม: ตัวแบบภาวะผู้นำ ผู้บริการกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา

รูปแบบ: รูปแบบโครงสร้างรังผึ้ง เชื่อมโยงถึงกัน มุ่งสู่เป้าหมายสูงสุดคือ วิสัยทัศน์

          แผนงาน

1        แผนงานบริหารงานทั่วไป

2        แผนงานการรักษาความสงบภายใน

3        แผนงานการศึกษา

4        แผนงานสาธารณสุข

5        แผนงานสังคมสงเคราะห์

6        แผนงานเคหะและชุมชน

7        แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

8        แผนงานการศาสนาวัฒนธรรมและนันทนาการ

9        แผนงานการเกษตร

10      แผนงานพาณิชย์

11      แผนงานงบกลาง

 

 

Facebook
Twitter
LinkedIn